เป็นที่ทราบกันดีว่า สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีผลทำให้สินค้าทั้งอุปโภคและบริโภค มีราคาสูงขึ้น เช่นเดียวอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตก็หนีไม่พ้นได้รับผลกระทบด้วย เพราะเมื่ออาหารมีราคาแพงประชาชนที่มีรายได้ไม่มากนักหรือมีรายได้น้อยก็จำต้องเลือกบริโภคอาหารที่มีราคาถูกลง เพื่อให้เพียงพอต่อค่าครองชีพในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ละเลยคุณค่าทางอาหารที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละวัน อันจะส่งผลต่อสุขภาพในอนาคตได้
ด้วยเหตุนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงมีแนวคิดในการ สร้างช่องทางเพื่อแนะนำ ประชาชนให้สามารถเลือกบริโภคอาหารที่มีราคาถูก แต่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และนั่นเป็นที่มาของการจัดทำคู่มือ “กินให้มีสุข ยุคอาหารแพง” ขึ้นเพื่อหวังใช้คู่มือดังกล่าวเป็นคัมภีร์ในการดูแลสุขภาวะด้านโภชนาการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กระทรงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน คนไทยลำบากเพราะต้องประสบกับภาวะอาหารแพง ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ดังนั้นทางกรมอนามัยจึงมีแนวคิดให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหาร ด้วยปัจจัย 3 อย่างคือ 1.ความปลอดภัย 2.ปริมาณ 3.คุณค่าและประโยชน์จากอาหาร
ทั้งนี้ ในหนังสือคู่มือ กินให้มีสุข ยุคอาหารแพง จะมีการรวบรวมการเลือกสรรและวิธีการปรุงอาหาร จากส่วนผสมที่มีราคาถูกแต่ผู้บริโภคจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริโภคอาหาร เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือภาวะโภชนาการเกิน
สำหรับเทคนิคในการฉลาดกินให้มีสุขภาพ ในยุคราคาสินค้าแพงมี11 ข้อด้วยกันคือ 1.กินพออิ่มด้วยการตักอาหารในปริมาณที่พอดี เช่น ข้าวสวย 2 ทัพพี ผัก 4-6 ช้อนกินข้าว เนื้อสัตว์ 2-3 ช้อนชา ผลไม้ 1-2 ส่วน หรือประมาณ 8-16 ชิ้นคำ และน้ำสะอาด 1-2 แก้ว 2.ไม่กินทิ้งกินขว้าง 3.เลือกอาหารที่ดี มีคุณค่า ราคาถูก อาหารประเภทโปรตีนอาจใช้เต้าหู้หรือถั่วเมล็ดแห้งผสมรวมกับเนื้อสัตว์ เลือกกินอาหารที่มีในท้องถิ่น ผักพื้นบ้านที่หาได้ง่าย 4.กินผลไม้แทนของหวาน โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล จะมีราคาถูก และไม่มีน้ำตาลหรือกะทิที่ทำให้อ้วน 5.ลดการกินจุบจิบ 6.ดื่มน้ำเปล่าและลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน 7.รับประทานอาหารไทย จะมีราคาถูกและได้รับคุณค่าทางอาหารครบถ้วน 8.ลดการสั่งอาหารราคาพิเศษ เช่น การเพิ่มลูกชิ้น ข้าวหรือกับข้าวจะสิ้นเปลืองและทำให้อ้วน 9.งดการรับประทานอาหารมื้อดึก 10.เคี้ยวอาหารช้าๆ อย่ารีบร้อน จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วกว่า เพราะร่างกายของคนเราจะอิ่มเมื่อกินอาหารไปประมาณ 20 นาที และ 11.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แทนนมกระป๋องจะช่วยประหยัดและสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจให้แก่เด็ก
นอกจากนี้ คู่มือดังกล่าวยังมีการแนะนำวิธีการคิด คำนวณ สารอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในการเลือกสรรอาหารเพื่อการบริโภคของประชาชน
“การกินอาหารให้คุณค่าทางโภชนาการ และเพียงพอในยุคอาหารแพง ต้องยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง คิดก่อนซื้อ คิดก่อนกิน คิดก่อนปรุงและต้องวิเคราะห์พฤติกรรมการกินของตนเองว่าเป็นอย่างไรแล้วปรับให้เป็นไปในแนวทางปฏิบัติที่กรมอนามัยแนะนำ แม้จะทำได้ยาก แต่หากค่อยเป็นค่อยไปจะสามารถปรับตัวได้และจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยฝ่าวิกฤตอาหารแพงไปได้”นพ.ณรงค์ศักดิ์แนะนำ
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย อธิบายเพิ่มเติมว่า ขณะนี้คู่มือ กินให้มีสุข ยุคอาหารแพง ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วและจะมีการจัดงานรณรงค์และแจกคู่มือดังกล่าวให้ประชาชนเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 ส.ค.นี้ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานและรับคู่มือดังกล่าวได้ โดยภายในงานยังจะมีการจัดสินค้าราคาถูก มาบริการประชาชนอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงมีแนวคิดในการ สร้างช่องทางเพื่อแนะนำ ประชาชนให้สามารถเลือกบริโภคอาหารที่มีราคาถูก แต่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และนั่นเป็นที่มาของการจัดทำคู่มือ “กินให้มีสุข ยุคอาหารแพง” ขึ้นเพื่อหวังใช้คู่มือดังกล่าวเป็นคัมภีร์ในการดูแลสุขภาวะด้านโภชนาการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กระทรงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน คนไทยลำบากเพราะต้องประสบกับภาวะอาหารแพง ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ดังนั้นทางกรมอนามัยจึงมีแนวคิดให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหาร ด้วยปัจจัย 3 อย่างคือ 1.ความปลอดภัย 2.ปริมาณ 3.คุณค่าและประโยชน์จากอาหาร
ทั้งนี้ ในหนังสือคู่มือ กินให้มีสุข ยุคอาหารแพง จะมีการรวบรวมการเลือกสรรและวิธีการปรุงอาหาร จากส่วนผสมที่มีราคาถูกแต่ผู้บริโภคจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริโภคอาหาร เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือภาวะโภชนาการเกิน
สำหรับเทคนิคในการฉลาดกินให้มีสุขภาพ ในยุคราคาสินค้าแพงมี11 ข้อด้วยกันคือ 1.กินพออิ่มด้วยการตักอาหารในปริมาณที่พอดี เช่น ข้าวสวย 2 ทัพพี ผัก 4-6 ช้อนกินข้าว เนื้อสัตว์ 2-3 ช้อนชา ผลไม้ 1-2 ส่วน หรือประมาณ 8-16 ชิ้นคำ และน้ำสะอาด 1-2 แก้ว 2.ไม่กินทิ้งกินขว้าง 3.เลือกอาหารที่ดี มีคุณค่า ราคาถูก อาหารประเภทโปรตีนอาจใช้เต้าหู้หรือถั่วเมล็ดแห้งผสมรวมกับเนื้อสัตว์ เลือกกินอาหารที่มีในท้องถิ่น ผักพื้นบ้านที่หาได้ง่าย 4.กินผลไม้แทนของหวาน โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล จะมีราคาถูก และไม่มีน้ำตาลหรือกะทิที่ทำให้อ้วน 5.ลดการกินจุบจิบ 6.ดื่มน้ำเปล่าและลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน 7.รับประทานอาหารไทย จะมีราคาถูกและได้รับคุณค่าทางอาหารครบถ้วน 8.ลดการสั่งอาหารราคาพิเศษ เช่น การเพิ่มลูกชิ้น ข้าวหรือกับข้าวจะสิ้นเปลืองและทำให้อ้วน 9.งดการรับประทานอาหารมื้อดึก 10.เคี้ยวอาหารช้าๆ อย่ารีบร้อน จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วกว่า เพราะร่างกายของคนเราจะอิ่มเมื่อกินอาหารไปประมาณ 20 นาที และ 11.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แทนนมกระป๋องจะช่วยประหยัดและสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจให้แก่เด็ก
นอกจากนี้ คู่มือดังกล่าวยังมีการแนะนำวิธีการคิด คำนวณ สารอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในการเลือกสรรอาหารเพื่อการบริโภคของประชาชน
“การกินอาหารให้คุณค่าทางโภชนาการ และเพียงพอในยุคอาหารแพง ต้องยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง คิดก่อนซื้อ คิดก่อนกิน คิดก่อนปรุงและต้องวิเคราะห์พฤติกรรมการกินของตนเองว่าเป็นอย่างไรแล้วปรับให้เป็นไปในแนวทางปฏิบัติที่กรมอนามัยแนะนำ แม้จะทำได้ยาก แต่หากค่อยเป็นค่อยไปจะสามารถปรับตัวได้และจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยฝ่าวิกฤตอาหารแพงไปได้”นพ.ณรงค์ศักดิ์แนะนำ
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย อธิบายเพิ่มเติมว่า ขณะนี้คู่มือ กินให้มีสุข ยุคอาหารแพง ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วและจะมีการจัดงานรณรงค์และแจกคู่มือดังกล่าวให้ประชาชนเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 ส.ค.นี้ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานและรับคู่มือดังกล่าวได้ โดยภายในงานยังจะมีการจัดสินค้าราคาถูก มาบริการประชาชนอีกด้วย