“ชินภัทร ภูมิรัตน” ผงาดนั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงศึกษาฯ ขณะที่ “ธงทอง จันทรางศุ” ย้ายข้ามห้วยยึดเก้าอี้เลขาธิการสภาการศึกษา “เฉลียว อยู่สีมารักษ์” เข้าวินดูแลเด็กอาชีวะ
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ได้มีมติแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการระดับสูงประจำกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีตำแหน่งสำคัญ ดังนี้ ให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทน ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน ซึ่งครบกำหนดเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้
นอกจากนี้ นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งย้ายข้ามห้วยจากกระทรวงยุติธรรม มาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) แทน ดร.อำรุง จันทวานิช ซึ่งเกษียณอายุราชการเช่นกัน ส่วนตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่ง นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เกษียณอายุราชการด้วยนั้น นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ผู้ตรวจราชการเขต 15 และ 16 ศธ.ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สอศ.แทน
นายวิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ระบบการแต่งตั้งข้าราชการไม่ใช่กฎตายตัวต้องเป็นคนในกระทรวง เพียงแต่ระบบการคัดสรรนั้นจะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมโปร่งใส ไม่เล่นพรรคเล่นพวก คำนึงถึงประโยชน์ที่กระทรวงจะได้รับ ขณะเดียวกัน ต้องตอบคำถามได้ว่าทำไมต้องเป็นคนนี้
ก่อนตนมานั่งปลัดทบวงมหาวิทยาลัยก็เป็นคนนอกมาก่อน ส่วนช่วงที่ผมนั่ง รมว.ศธ.ก็เลือก นายกฤษณพงษ์ กีรติกร นั่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ก็เป็นคนนอกเช่นกัน พอ นายกฤษณพงษ์ พ้นจากตำแหน่งจึงเลือก นายสุเมธ แย้มนุ่ม คนในซึ่งมีความสามารถมาดำรงตำแหน่งแทน
“ผมไม่ยึดมั่นว่าเป็นคนใน หรือคนนอก มองสถานการณ์ หากต้องการการเปลี่ยนแปลง คนนอกมีอิสระในการทำงานมากกว่า หากเลือกคนในกระทรวงเพราะต้องการความต่อเนื่อง ดังนั้น เวลาพิจารณาอะไรต้องพิจารณาคนในกระทรวง ถ้ามองแล้วว่าไม่เหมาะต้องเอาคนนอกมาบริหาร แต่คนนอกต้องมีความรู้ความสามารถเหนือคนในกระทรวง”
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การแต่งตั้งเลขาธิการ สอศ. คนใหม่นั้น หารือร่วมกับนายสมชายมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจากรายชื่อที่เลขาธิการ สอศ.เสนอมา 3 ชื่อ คือ 1.นายเฉลียว 2.นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองเลขาธิการ กอศ. และนางศิริพรรณ ชุมนุม รองเลขาธการ กอศ.
ทั้ง 3 คนมีความเหมาะสมที่จะขึ้นมานั่งตำแหน่งนี้ แต่ต้องเลือกเพียงคนเดียว จึงเลือกนายเฉลียวซึ่งมีความเหมาะสมที่สุดมาเป็นเลขาธิการ สอศ. และ สอศ.เพิ่งประกาศใช้พ.ร.บ.อาชีวศึกษาใหม่ จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานตาม ๆ ขึ้นมาตามที่กฎหมายกำหนด อีกอย่างนายเฉลียวเก่งทางด้านกฎหมายและเคยทำงานด้านกฎหมายช่วงที่มีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งยังเคยเป็นรองเลขาธิการ กอศ.มีความเชี่ยวชาญงานอาชีวศึกษาเป็นอย่างดี ถือว่า มีคุณสมบัติดีที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้
ด้าน รศ.ธงทอง ว่าที่เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ตนได้รับการทาบทามมาระยะหนึ่งแล้ว จากทั้ง รมว.ศธ. เพื่อนข้าราชการ ผู้ใหญ่ใน ศธ. อยากให้ช่วยงานปฏิรูปการศึกษาซึ่งเดินหน้ามาได้ระดับหนึ่งแล้ว มีการวางรากฐานไว้พอสมควร แต่บางอย่างก็ยังไม่ได้ทำจึงอยากให้มาสานต่อ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่ใช้มาแล้วและมีความไม่เหมาะสมให้เหมาะสมขึ้น และทำแผนการศึกษาโดยบูรณาการการจัดศึกษาทั้งหลาย
ถามว่ารู้สึกหนักใจมั้ยที่ข้ามสายงาน รศ.ธงทอง กล่าวว่า ไมได้รู้สึกหนักใจกับการข้ามสายงานจากยุติธรรม มาทำงานการศึกษา มั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากผู้บริหารและข้าราชการทุกหน่วยงานใน ศธ. ต่างก็เป็นเพื่อนกัน และตนก็ไม่ใช่คนที่ห่างไกลแวดวงการศึกษา คนทั่วไปรู้จักตนในฐานะอาจารย์ธงทอง มากกว่ารองปลัดธงทอง เสียอีก ทั้งชีวิตตนเป็นอ.ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬงลงกรณมหาวิทยาลัย เพียง 7 ปีมารับตำแหน่งรองปลัดยุติธรรม ส่วนตัวก็มีความสนใจในงานการศึกษาอยู่แล้ว รวมทั้งคุ้นเคยกับประเด็นต่าง ๆทางการศึกษา และเพื่อน ๆ ในวงการการศึกษา เพราะตนอยู่ในคณะกฤษฎีกา คณะที่ 8 โดยดูแลกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา อย่างไรก็ตาม การมานั่งเก้าอี้นี้ตนคงขอเวลาสักระยะถึงจะบอกได้ว่าจะทำอะไรบ้าง
“ผมสนใจงานการศึกษาอยู่แล้ว เพราะเป็นงานที่มีความหมาย ไม่ว่าเราจะพูดถึงเรื่องอะไร ปัญหาอะไร หลายครั้งก็ต้องมาจบกันที่การศึกษา การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และแม้ว่าการจัดการเรียนการสอนจะอยู่ในความดูแลของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สพฐ. กศน. สอศ.แต่สภาการศึกษา จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางจัดการศึกษา ปัญหาหลายอย่าง หากวางรากฐานการศึกษาให้มั่นคงก็จะแก้ไขได้ ผมจึงรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้รับตำแหน่งนี้ ”
นายชินภัทร กล่าวว่า ปลัดศธ. สนับสนุนให้ตนมานั่งตำแหน่งปลัด ศธ. โดยพิจารณาจากผลงานเป็นหลัก และสำนักงานปลัดฯเป็นงานที่สำคัญต้องประสานงานกับ 5 องค์กรหลักที่ต่างเป็นอิสระและขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการศธ. หากประสานไม่ดี จะทำให้เกิด 5 กระทรวงต่างคนต่างทำงานได้ และก่อนหน้านี้ตนได้รับมอบหมายให้ประสาน 5 องค์กรหลักในงานต่างๆ อยู่แล้ว เช่น การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา การดูแลงานต่างประเทศ เป็นต้น
นายชินภัทร ระบุว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่ง จะเร่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีให้ทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยใช้ E-Learning ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลยกเป็นวาระสำคัญและมอบหมายให้สป.เป็นแม่งานดำเนินการร่วมกับสพฐ. จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและจัดหาคอมพิวเตอร์ รวมทั้งจะ ทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่ผ่านมาว่าหลังจากปฏิรูปการศึกษาไปเกือบ 10 ปีแล้วมีปัญหาอะไรบ้างและถ้าพบว่ากฎหมายฉบับใดเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ก็จะทำแผนชำระกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นโดยจะดำเนินการร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)
นายปรัชญา เวสารัชช์ อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร สำนักงานปฏิรูปการศึกษา(สปศ.) กล่าวภายหลังทราบข่าวว่านายธงทอง มาเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา ตนเห็นว่า นายธงทองไม่มีประวัติเสียหาย และเป็นผู้ที่มีทักษะในด้านการคิด มีความรู้ด้านกฎหมาย
“รมว.ศธ. เลือกคุณธงทองมาเป็นนั่ง สกศ. อาจจะเป็นเพราะคุณสมชายเคยเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และคุณธงทองก็เป็นรองปลัดฯ อาจจะเคยเห็นผลงาน หรือเคยทำงานใกล้ชิดกันมาก่อน ประกอบกับขณะนี้คนในสกศ.เองก็มีไม่กี่คน และคนที่จะขึ้นมาเป็นเลขาฯได้ มีหรือไม่ผมไม่รู้ แต่งานของสกศ.เป็นงานเฉพาะ ต้องการคนที่เป็นนักคิด เข้าใจการศึกษา นายธงทองก็อยู่ในวงการมหาวิทยาลัยมาก่อน ส่วนนายชินภัทร ภูมิรัตน ที่ได้ขึ้นมาเป็นปลัดศธ. ก็ถือว่าเป็นคนหนุ่มและทำงานในกระทรวงมานานมีความคิดกว้างไกล อย่างไรก็ตาม คงต้องให้เวลาพิสูจน์ตัวเอง” นายปรัชญา กล่าว
ด้านนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการแต่งตั้งนายธงทอง ดำรงตำแหน่ง เลขา สกศ. ว่า การเอาคนนอกวงการศึกษามาดูแล สกศ. เป็นมุมมองใหม่ แต่ถามว่าคนนอกวงการศึกษาเคยมีวิสัยทัศน์ มีความสนใจด้านการศึกษาหรือเปล่า เพราะผู้ที่จะมาดู สกศ.ต้องชัดเรื่องนโยบาย ทิศทางการศึกษา ไม่ใช่รู้แค่กฎหมายแล้วมาทำงานนี้ และหากได้ตำแหน่งเพราะการเมือง คงต้องตอบคำถามสังคมให้ชัด
ถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการแต่งตั้ง นายธงทอง นั่งเก้าอี้ เลขา สกศ. นายสมพงษ์ กล่าวว่า การแต่งตั้งขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ชงชื่อ กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกันว่า ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งนั้นเหมาะสม อย่างไรก็ดี นายธงทอง คงต้องทำงาน ทำการบ้านอย่างหนัก เพราะโครงสร้างการศึกษา ต่างจากกฎหมาย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมคางแคลงใจ คนใน สกศ.ที่รู้เรื่อง สกศ.ดีหายไปไหนหมด
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ได้มีมติแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการระดับสูงประจำกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีตำแหน่งสำคัญ ดังนี้ ให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทน ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน ซึ่งครบกำหนดเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้
นอกจากนี้ นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งย้ายข้ามห้วยจากกระทรวงยุติธรรม มาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) แทน ดร.อำรุง จันทวานิช ซึ่งเกษียณอายุราชการเช่นกัน ส่วนตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่ง นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เกษียณอายุราชการด้วยนั้น นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ผู้ตรวจราชการเขต 15 และ 16 ศธ.ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สอศ.แทน
นายวิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ระบบการแต่งตั้งข้าราชการไม่ใช่กฎตายตัวต้องเป็นคนในกระทรวง เพียงแต่ระบบการคัดสรรนั้นจะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมโปร่งใส ไม่เล่นพรรคเล่นพวก คำนึงถึงประโยชน์ที่กระทรวงจะได้รับ ขณะเดียวกัน ต้องตอบคำถามได้ว่าทำไมต้องเป็นคนนี้
ก่อนตนมานั่งปลัดทบวงมหาวิทยาลัยก็เป็นคนนอกมาก่อน ส่วนช่วงที่ผมนั่ง รมว.ศธ.ก็เลือก นายกฤษณพงษ์ กีรติกร นั่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ก็เป็นคนนอกเช่นกัน พอ นายกฤษณพงษ์ พ้นจากตำแหน่งจึงเลือก นายสุเมธ แย้มนุ่ม คนในซึ่งมีความสามารถมาดำรงตำแหน่งแทน
“ผมไม่ยึดมั่นว่าเป็นคนใน หรือคนนอก มองสถานการณ์ หากต้องการการเปลี่ยนแปลง คนนอกมีอิสระในการทำงานมากกว่า หากเลือกคนในกระทรวงเพราะต้องการความต่อเนื่อง ดังนั้น เวลาพิจารณาอะไรต้องพิจารณาคนในกระทรวง ถ้ามองแล้วว่าไม่เหมาะต้องเอาคนนอกมาบริหาร แต่คนนอกต้องมีความรู้ความสามารถเหนือคนในกระทรวง”
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การแต่งตั้งเลขาธิการ สอศ. คนใหม่นั้น หารือร่วมกับนายสมชายมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจากรายชื่อที่เลขาธิการ สอศ.เสนอมา 3 ชื่อ คือ 1.นายเฉลียว 2.นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองเลขาธิการ กอศ. และนางศิริพรรณ ชุมนุม รองเลขาธการ กอศ.
ทั้ง 3 คนมีความเหมาะสมที่จะขึ้นมานั่งตำแหน่งนี้ แต่ต้องเลือกเพียงคนเดียว จึงเลือกนายเฉลียวซึ่งมีความเหมาะสมที่สุดมาเป็นเลขาธิการ สอศ. และ สอศ.เพิ่งประกาศใช้พ.ร.บ.อาชีวศึกษาใหม่ จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานตาม ๆ ขึ้นมาตามที่กฎหมายกำหนด อีกอย่างนายเฉลียวเก่งทางด้านกฎหมายและเคยทำงานด้านกฎหมายช่วงที่มีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งยังเคยเป็นรองเลขาธิการ กอศ.มีความเชี่ยวชาญงานอาชีวศึกษาเป็นอย่างดี ถือว่า มีคุณสมบัติดีที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้
ด้าน รศ.ธงทอง ว่าที่เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ตนได้รับการทาบทามมาระยะหนึ่งแล้ว จากทั้ง รมว.ศธ. เพื่อนข้าราชการ ผู้ใหญ่ใน ศธ. อยากให้ช่วยงานปฏิรูปการศึกษาซึ่งเดินหน้ามาได้ระดับหนึ่งแล้ว มีการวางรากฐานไว้พอสมควร แต่บางอย่างก็ยังไม่ได้ทำจึงอยากให้มาสานต่อ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่ใช้มาแล้วและมีความไม่เหมาะสมให้เหมาะสมขึ้น และทำแผนการศึกษาโดยบูรณาการการจัดศึกษาทั้งหลาย
ถามว่ารู้สึกหนักใจมั้ยที่ข้ามสายงาน รศ.ธงทอง กล่าวว่า ไมได้รู้สึกหนักใจกับการข้ามสายงานจากยุติธรรม มาทำงานการศึกษา มั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากผู้บริหารและข้าราชการทุกหน่วยงานใน ศธ. ต่างก็เป็นเพื่อนกัน และตนก็ไม่ใช่คนที่ห่างไกลแวดวงการศึกษา คนทั่วไปรู้จักตนในฐานะอาจารย์ธงทอง มากกว่ารองปลัดธงทอง เสียอีก ทั้งชีวิตตนเป็นอ.ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬงลงกรณมหาวิทยาลัย เพียง 7 ปีมารับตำแหน่งรองปลัดยุติธรรม ส่วนตัวก็มีความสนใจในงานการศึกษาอยู่แล้ว รวมทั้งคุ้นเคยกับประเด็นต่าง ๆทางการศึกษา และเพื่อน ๆ ในวงการการศึกษา เพราะตนอยู่ในคณะกฤษฎีกา คณะที่ 8 โดยดูแลกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา อย่างไรก็ตาม การมานั่งเก้าอี้นี้ตนคงขอเวลาสักระยะถึงจะบอกได้ว่าจะทำอะไรบ้าง
“ผมสนใจงานการศึกษาอยู่แล้ว เพราะเป็นงานที่มีความหมาย ไม่ว่าเราจะพูดถึงเรื่องอะไร ปัญหาอะไร หลายครั้งก็ต้องมาจบกันที่การศึกษา การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และแม้ว่าการจัดการเรียนการสอนจะอยู่ในความดูแลของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สพฐ. กศน. สอศ.แต่สภาการศึกษา จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางจัดการศึกษา ปัญหาหลายอย่าง หากวางรากฐานการศึกษาให้มั่นคงก็จะแก้ไขได้ ผมจึงรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้รับตำแหน่งนี้ ”
นายชินภัทร กล่าวว่า ปลัดศธ. สนับสนุนให้ตนมานั่งตำแหน่งปลัด ศธ. โดยพิจารณาจากผลงานเป็นหลัก และสำนักงานปลัดฯเป็นงานที่สำคัญต้องประสานงานกับ 5 องค์กรหลักที่ต่างเป็นอิสระและขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการศธ. หากประสานไม่ดี จะทำให้เกิด 5 กระทรวงต่างคนต่างทำงานได้ และก่อนหน้านี้ตนได้รับมอบหมายให้ประสาน 5 องค์กรหลักในงานต่างๆ อยู่แล้ว เช่น การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา การดูแลงานต่างประเทศ เป็นต้น
นายชินภัทร ระบุว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่ง จะเร่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีให้ทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยใช้ E-Learning ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลยกเป็นวาระสำคัญและมอบหมายให้สป.เป็นแม่งานดำเนินการร่วมกับสพฐ. จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและจัดหาคอมพิวเตอร์ รวมทั้งจะ ทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่ผ่านมาว่าหลังจากปฏิรูปการศึกษาไปเกือบ 10 ปีแล้วมีปัญหาอะไรบ้างและถ้าพบว่ากฎหมายฉบับใดเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ก็จะทำแผนชำระกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นโดยจะดำเนินการร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)
นายปรัชญา เวสารัชช์ อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร สำนักงานปฏิรูปการศึกษา(สปศ.) กล่าวภายหลังทราบข่าวว่านายธงทอง มาเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา ตนเห็นว่า นายธงทองไม่มีประวัติเสียหาย และเป็นผู้ที่มีทักษะในด้านการคิด มีความรู้ด้านกฎหมาย
“รมว.ศธ. เลือกคุณธงทองมาเป็นนั่ง สกศ. อาจจะเป็นเพราะคุณสมชายเคยเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และคุณธงทองก็เป็นรองปลัดฯ อาจจะเคยเห็นผลงาน หรือเคยทำงานใกล้ชิดกันมาก่อน ประกอบกับขณะนี้คนในสกศ.เองก็มีไม่กี่คน และคนที่จะขึ้นมาเป็นเลขาฯได้ มีหรือไม่ผมไม่รู้ แต่งานของสกศ.เป็นงานเฉพาะ ต้องการคนที่เป็นนักคิด เข้าใจการศึกษา นายธงทองก็อยู่ในวงการมหาวิทยาลัยมาก่อน ส่วนนายชินภัทร ภูมิรัตน ที่ได้ขึ้นมาเป็นปลัดศธ. ก็ถือว่าเป็นคนหนุ่มและทำงานในกระทรวงมานานมีความคิดกว้างไกล อย่างไรก็ตาม คงต้องให้เวลาพิสูจน์ตัวเอง” นายปรัชญา กล่าว
ด้านนายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการแต่งตั้งนายธงทอง ดำรงตำแหน่ง เลขา สกศ. ว่า การเอาคนนอกวงการศึกษามาดูแล สกศ. เป็นมุมมองใหม่ แต่ถามว่าคนนอกวงการศึกษาเคยมีวิสัยทัศน์ มีความสนใจด้านการศึกษาหรือเปล่า เพราะผู้ที่จะมาดู สกศ.ต้องชัดเรื่องนโยบาย ทิศทางการศึกษา ไม่ใช่รู้แค่กฎหมายแล้วมาทำงานนี้ และหากได้ตำแหน่งเพราะการเมือง คงต้องตอบคำถามสังคมให้ชัด
ถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการแต่งตั้ง นายธงทอง นั่งเก้าอี้ เลขา สกศ. นายสมพงษ์ กล่าวว่า การแต่งตั้งขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ชงชื่อ กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกันว่า ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งนั้นเหมาะสม อย่างไรก็ดี นายธงทอง คงต้องทำงาน ทำการบ้านอย่างหนัก เพราะโครงสร้างการศึกษา ต่างจากกฎหมาย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมคางแคลงใจ คนใน สกศ.ที่รู้เรื่อง สกศ.ดีหายไปไหนหมด