รัฐมนตรีช่วย(เงา) สธ. หอบแผนแม่บทแก้ปัญหาโครงสร้างราคายา เสนอ “ชวรัตน์” อุดช่องโหว่ แก้ปัญหายานำเข้าจากต่างประเทศราคาแพง หนุนซื้อยาร่วมในระดับภูมิภาค ด้านแพทย์ชนบทเข้ายื่นหนังสือเสนอปฏิรูประบบสุขภาพ พร้อมหนุนเดินหน้าทำซีแอลทุกรูปแบบ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาโดยเร็วที่สุด
วันนี้(8 ส.ค.) นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข (เงา) พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาโครงสร้างราคายา เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินอำนาจของ สธ. เพียงอย่างเดียว เพราะมีความเชื่อมโยงหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงอุตสาหกรรมยาของประเทศไทย จะต้องมีบทบาทรวมกัน ซึ่งภาครัฐต้องให้ความสำคัญแก้ปัญหาทั้งระบบแบบบูรณาการ ทั้งมาตรการควบคุมราคา มาตรการภาษี ขณะเดียวกันต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยาของประเทศไทยทั้งขององค์การเภสัชกรรม(อภ.) และภาคเอกชนต่างๆ ให้มีศักยภาพสูงขึ้นทัดเทียมนานาชาติ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดวิสาหกิจร่วมซื้อหรือการจัดซื้อยาร่วมในระดับภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันมูลนิธิคลินตันได้ดำเนินการอยู่แล้วและได้ผลสำเร็จอย่างมาก
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า เครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้ราคายาถูกลงคือ การสงวนสิทธิ์ในการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งประเทศสมาชิกองค์กรการค้าโลก(WTO) ทุกประเทศจะต้องหยิบมาใช้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองราคายา และเป็นมาตรการที่ถูกกฎกติกาสากล และเป็นไปตามกฎหมายสิทธิบัตร ของประเทศไทยด้วย
“ไทยจะต้องยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมายทริปโดยไม่ประกาศสละสิทธิ์ที่จะไม่ใช้ซีแอล ซึ่งสิ่งที่รมว.สาธารณสุข พูดว่า จะไม่ทำซีแอลตัวต่อไป แม้เพียงชั่วคราวก็ทำให้ไทยเสียเปรียบได้ ที่สำคัญขณะนี้รัฐบาลไทยยังไม่มีจุดยืนเรื่องซีแอลที่ชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่รัฐมนตรีจะต้องทำต่อไป คือเจรจากับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เห็นด้วยสนับสนุนการแก้ปัญหาโครงสร้างราคายา ซึ่งรัฐมนตรีเองก็รับปากว่าจะดำเนินการให้”นพ.บุรณัชย์กล่าว
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และคณะประมาณ 10 คน ได้เข้าพบนายชวรัตน์ พร้อมยื่นหนังสือ เรื่อง เสนอแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งเน้นปัญหา 3 ด้าน คือ การเข้าถึงยาของผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปัญหาแพทย์ลาออกและการขาดแคลนบุคลาการทางการแพทย์ และ3ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์
“แพทยชนบทขอสนับสนุนให้รมว.สาธารณสุขเดินหน้าซีแอลในทุกรูปแบบ ยาทั้ง 7 รายการที่ได้ประกาศซีแอลไปแล้ว เร่งรัดกระบวนการ ขณะเดียวกันขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณายาที่มีความจำเป็นต้องทำซีแอลเพิ่มตามความจำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วที่สุด โดยไม่มีปัญหาด้านการเงินเข้ามาขวางกั้น” นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
วันนี้(8 ส.ค.) นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข (เงา) พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาโครงสร้างราคายา เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินอำนาจของ สธ. เพียงอย่างเดียว เพราะมีความเชื่อมโยงหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงอุตสาหกรรมยาของประเทศไทย จะต้องมีบทบาทรวมกัน ซึ่งภาครัฐต้องให้ความสำคัญแก้ปัญหาทั้งระบบแบบบูรณาการ ทั้งมาตรการควบคุมราคา มาตรการภาษี ขณะเดียวกันต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยาของประเทศไทยทั้งขององค์การเภสัชกรรม(อภ.) และภาคเอกชนต่างๆ ให้มีศักยภาพสูงขึ้นทัดเทียมนานาชาติ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดวิสาหกิจร่วมซื้อหรือการจัดซื้อยาร่วมในระดับภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันมูลนิธิคลินตันได้ดำเนินการอยู่แล้วและได้ผลสำเร็จอย่างมาก
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า เครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้ราคายาถูกลงคือ การสงวนสิทธิ์ในการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งประเทศสมาชิกองค์กรการค้าโลก(WTO) ทุกประเทศจะต้องหยิบมาใช้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองราคายา และเป็นมาตรการที่ถูกกฎกติกาสากล และเป็นไปตามกฎหมายสิทธิบัตร ของประเทศไทยด้วย
“ไทยจะต้องยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมายทริปโดยไม่ประกาศสละสิทธิ์ที่จะไม่ใช้ซีแอล ซึ่งสิ่งที่รมว.สาธารณสุข พูดว่า จะไม่ทำซีแอลตัวต่อไป แม้เพียงชั่วคราวก็ทำให้ไทยเสียเปรียบได้ ที่สำคัญขณะนี้รัฐบาลไทยยังไม่มีจุดยืนเรื่องซีแอลที่ชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่รัฐมนตรีจะต้องทำต่อไป คือเจรจากับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เห็นด้วยสนับสนุนการแก้ปัญหาโครงสร้างราคายา ซึ่งรัฐมนตรีเองก็รับปากว่าจะดำเนินการให้”นพ.บุรณัชย์กล่าว
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และคณะประมาณ 10 คน ได้เข้าพบนายชวรัตน์ พร้อมยื่นหนังสือ เรื่อง เสนอแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งเน้นปัญหา 3 ด้าน คือ การเข้าถึงยาของผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปัญหาแพทย์ลาออกและการขาดแคลนบุคลาการทางการแพทย์ และ3ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์
“แพทยชนบทขอสนับสนุนให้รมว.สาธารณสุขเดินหน้าซีแอลในทุกรูปแบบ ยาทั้ง 7 รายการที่ได้ประกาศซีแอลไปแล้ว เร่งรัดกระบวนการ ขณะเดียวกันขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณายาที่มีความจำเป็นต้องทำซีแอลเพิ่มตามความจำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วที่สุด โดยไม่มีปัญหาด้านการเงินเข้ามาขวางกั้น” นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว