สธ.เร่งพัฒนาประสิทธิภาพหน่วยบริการสุขภาพ เพื่อประโยชน์ผู้รับบริการ นำร่องจังหวัดที่มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี 13 จังหวัด และโรงพยาบาลที่ใช้การจัดทำต้นทุนกิจกรรม สร้างความคุ้มค่างบประมาณบริการประชาชน 7 แห่ง เป็นต้นแบบขยายผลทั่วประเทศ
เช้าวันนี้ (7 ส.ค.) ที่โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพฯ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดประชุมเรื่อง นวัตกรรมการบริหารจัดการองค์กรภาคสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการผู้นำองค์กรสุขภาพ พร้อมมอบประกาศเกียรติคุณจังหวัดและโรงพยาบาลนำร่องด้านการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร 20 แห่ง โดยมีนพ.สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 350 คน
นายวิชาญ กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือประชาชนไทยมีสุขภาพดี และประเทศชาติมีความมั่นคงแข็งแรง ได้มอบนโยบายให้มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายด้านสุขภาพต่างๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานบริการสุขภาพ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง และเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพของประเทศมากขึ้น
ในส่วนของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข สถานบริการทุกระดับต้องมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการบริหารจัดการบริการสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยนำหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA : Public Sector Management Quality Award) มาเป็นแนวทางในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล
ด้าน นพ.ศุภชัย กล่าวว่า ได้จัดทำโครงการพัฒนาจังหวัดประสิทธิภาพในหน่วยบริการสุขภาพ โดยมี 2 กิจกรรม คือ 1.การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด ซึ่งหน่วยงานสุขภาพทุกระดับในจังหวัด จะมีการจัดทำแผนดำเนินงานด้านสุขภาพของจังหวัดร่วมกัน ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เกิดแผนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของพื้นที่ได้ตรงจุด นำร่องใน 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สระบุรี สุราษฎร์ธานี กาฬสินธุ์ จันทบุรี หนองคาย อุดรธานี เลย ฉะเชิงเทรา ระยอง สิงห์บุรี ราชบุรี และสมุทรปราการ
กิจกรรมที่ 2 คือ การจัดทำต้นทุนกิจกรรม ดำเนินการในโรงพยาบาล โดยมีการคิดคำนวณต้นทุนในแต่ละกิจกรรมการให้บริการ ทำให้มีการใช้งบประมาณของรัฐอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด นำร่อง 7 แห่ง ได้แก่ รพ.เชียงคำ จ.พะเยา รพ.อ่างทอง รพ.ประจวบคีรีขันธ์ รพ.ขอนแก่น รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.พังงา และรพ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ขณะนี้ทุกแห่งมีความคืบหน้าเป็นอย่างดี สามารถเป็นต้นแบบแก่โรงพยาบาลอื่นๆ ได้
สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป จะเปิดให้จังหวัด/โรงพยาบาลที่สนใจและมีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง เข้าร่วมโครงการฯตามความสมัครใจ โดยสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะพัฒนาศูนย์ประสิทธิภาพ เพื่อช่วยสนับสนุนสร้างวิทยากรด้านบริหารจัดการองค์กร รวมทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้กับหน่วยงานต่างๆ
เช้าวันนี้ (7 ส.ค.) ที่โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพฯ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดประชุมเรื่อง นวัตกรรมการบริหารจัดการองค์กรภาคสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการผู้นำองค์กรสุขภาพ พร้อมมอบประกาศเกียรติคุณจังหวัดและโรงพยาบาลนำร่องด้านการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร 20 แห่ง โดยมีนพ.สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 350 คน
นายวิชาญ กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือประชาชนไทยมีสุขภาพดี และประเทศชาติมีความมั่นคงแข็งแรง ได้มอบนโยบายให้มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายด้านสุขภาพต่างๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานบริการสุขภาพ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง และเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพของประเทศมากขึ้น
ในส่วนของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข สถานบริการทุกระดับต้องมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการบริหารจัดการบริการสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยนำหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA : Public Sector Management Quality Award) มาเป็นแนวทางในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล
ด้าน นพ.ศุภชัย กล่าวว่า ได้จัดทำโครงการพัฒนาจังหวัดประสิทธิภาพในหน่วยบริการสุขภาพ โดยมี 2 กิจกรรม คือ 1.การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด ซึ่งหน่วยงานสุขภาพทุกระดับในจังหวัด จะมีการจัดทำแผนดำเนินงานด้านสุขภาพของจังหวัดร่วมกัน ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เกิดแผนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของพื้นที่ได้ตรงจุด นำร่องใน 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สระบุรี สุราษฎร์ธานี กาฬสินธุ์ จันทบุรี หนองคาย อุดรธานี เลย ฉะเชิงเทรา ระยอง สิงห์บุรี ราชบุรี และสมุทรปราการ
กิจกรรมที่ 2 คือ การจัดทำต้นทุนกิจกรรม ดำเนินการในโรงพยาบาล โดยมีการคิดคำนวณต้นทุนในแต่ละกิจกรรมการให้บริการ ทำให้มีการใช้งบประมาณของรัฐอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด นำร่อง 7 แห่ง ได้แก่ รพ.เชียงคำ จ.พะเยา รพ.อ่างทอง รพ.ประจวบคีรีขันธ์ รพ.ขอนแก่น รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.พังงา และรพ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ขณะนี้ทุกแห่งมีความคืบหน้าเป็นอย่างดี สามารถเป็นต้นแบบแก่โรงพยาบาลอื่นๆ ได้
สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป จะเปิดให้จังหวัด/โรงพยาบาลที่สนใจและมีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง เข้าร่วมโครงการฯตามความสมัครใจ โดยสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะพัฒนาศูนย์ประสิทธิภาพ เพื่อช่วยสนับสนุนสร้างวิทยากรด้านบริหารจัดการองค์กร รวมทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้กับหน่วยงานต่างๆ