ม.มหิดล-ม.ขอนแก่น-ม.นเรศวร จับมือ มูลนิธิแพทย์ชนบท และสปสช. พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท-เอกแนวใหม่ เน้นการเรียนรู้ทฤษฎีสมัยใหม่ควบคู่กับการสร้างนวัตกรรมจากประสบการณ์ทำงานจริง ตั้งเป้าสร้างผู้นำการทำงานสุขภาพระดับปฐมภูมิในพื้นที่ให้มีความรอบรู้ มีศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจในการทำงานสุขภาพชุมชน
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อการพัฒนาผู้นำด้านการจัดการระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มูลนิธิแพทย์ชนบท และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เพื่อร่วมกันจัดหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมระดับปริญญาโท และอาจต่อยอดถึงปริญญาเอกให้ผู้บริหาร แพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน และหน่วยบริการปฐมภูมิอื่น ๆ เพื่อเป็นผู้นำการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของประเทศ
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ระบบบริการปฐมภูมิมีรพ.ชุมชนเป็นฐานสำคัญ ซึ่งการพัฒนาที่สำคัญ คือการพัฒนาศักยภาพของคนที่ทำงานในรพ.ชุมชน ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้ผู้ที่ทำงานบริการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มีความสุข และมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง บทบาทของสปสช.จะสนับสนุนสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้ามาร่วม ในการเตรียมความพร้อม เตรียมการสอนแบบใหม่ และสนับสนุนโรงพยาบาลชุมชน / หน่วยบริการปฐมภูมิอื่น ๆ ในการส่งบุคลากรเข้าศึกษาต่อ เพื่อสร้างระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็ง
ด้าน รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และพื้นที่ที่หลากหลายมากขึ้น หลักสูตรที่ได้ลงนามร่วมกับสปสช. ในวันนี้เป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญและจะตอบสนองให้ผู้เรียนที่เป็นผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน ในเรื่องของบริการสุขภาพได้ดีมากขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน(ผู้นำการจัดการบริการปฐมภูมิ) คณะแพทยศาสตร์ เป็นหลักสูตรการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทั้งเรื่องของแนวคิด ทฤษฎี ยุทธศาสตร์ และการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยสามารถใช้ประสบการณ์มาเทียบโอนหน่วยกิตได้
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข และมุ่งเน้นบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยมหาวิทยาลัยได้เตรียมการเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพเพื่อประชาชน ได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีความเป็นธรรม มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้รอบรู้มีทักษะด้านการจัดการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นผู้บริหารที่ยึดหลักการบริหารด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
รศ.นพ.พิทยา จารุพูนผล คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยินดีอย่างมากที่มีหลักสูตรในลักษณะเช่นนี้ ในบทบาทของสถาบันการศึกษาแล้ว จุดนี้ถือเป็นภารกิจหลักและเป็นต้นแบบ ในการร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กระบวนการของหลักสูตร คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ การทำงาน และวิชาการควบคู่กัน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาตนเองไปด้วย เกิดเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และประเทศชาติ
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ในฐานะผู้แทนจากมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า มูลนิธิแพทย์ชนบทได้ผลักดันให้มีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิมาโดยตลอด เพราะมูลนิธิฯมียุทธศาสตร์ในการทำงานสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพ ซึ่งหลักการที่สำคัญคือการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นบริการสุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ หน่วยบริการสาธารณสุขและประชาชนมีการจัดรูปแบบการดูแลสุขภาพขั้นต้นได้
ที่ผ่านมาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของไทยถูกทำให้เป็นเป็นบริการชั้นสอง ในขณะที่หลายประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นต้นแบบระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ การทำงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเป็นกลไกที่สำคัญ การลงนามครั้งนี้จะทำให้เกิดหลักสูตรการศึกษาที่ชัดเจน มีการเทียบเคียงคุณวุฒิอย่างมีศักดิ์ศรี และเอื้อต่อการทำงานในประสบการณ์จริงด้วย
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อการพัฒนาผู้นำด้านการจัดการระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มูลนิธิแพทย์ชนบท และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เพื่อร่วมกันจัดหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมระดับปริญญาโท และอาจต่อยอดถึงปริญญาเอกให้ผู้บริหาร แพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน และหน่วยบริการปฐมภูมิอื่น ๆ เพื่อเป็นผู้นำการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของประเทศ
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ระบบบริการปฐมภูมิมีรพ.ชุมชนเป็นฐานสำคัญ ซึ่งการพัฒนาที่สำคัญ คือการพัฒนาศักยภาพของคนที่ทำงานในรพ.ชุมชน ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้ผู้ที่ทำงานบริการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มีความสุข และมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง บทบาทของสปสช.จะสนับสนุนสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้ามาร่วม ในการเตรียมความพร้อม เตรียมการสอนแบบใหม่ และสนับสนุนโรงพยาบาลชุมชน / หน่วยบริการปฐมภูมิอื่น ๆ ในการส่งบุคลากรเข้าศึกษาต่อ เพื่อสร้างระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็ง
ด้าน รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และพื้นที่ที่หลากหลายมากขึ้น หลักสูตรที่ได้ลงนามร่วมกับสปสช. ในวันนี้เป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญและจะตอบสนองให้ผู้เรียนที่เป็นผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน ในเรื่องของบริการสุขภาพได้ดีมากขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน(ผู้นำการจัดการบริการปฐมภูมิ) คณะแพทยศาสตร์ เป็นหลักสูตรการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทั้งเรื่องของแนวคิด ทฤษฎี ยุทธศาสตร์ และการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยสามารถใช้ประสบการณ์มาเทียบโอนหน่วยกิตได้
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข และมุ่งเน้นบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยมหาวิทยาลัยได้เตรียมการเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพเพื่อประชาชน ได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีความเป็นธรรม มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้รอบรู้มีทักษะด้านการจัดการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นผู้บริหารที่ยึดหลักการบริหารด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
รศ.นพ.พิทยา จารุพูนผล คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยินดีอย่างมากที่มีหลักสูตรในลักษณะเช่นนี้ ในบทบาทของสถาบันการศึกษาแล้ว จุดนี้ถือเป็นภารกิจหลักและเป็นต้นแบบ ในการร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กระบวนการของหลักสูตร คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ การทำงาน และวิชาการควบคู่กัน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาตนเองไปด้วย เกิดเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และประเทศชาติ
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ในฐานะผู้แทนจากมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า มูลนิธิแพทย์ชนบทได้ผลักดันให้มีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิมาโดยตลอด เพราะมูลนิธิฯมียุทธศาสตร์ในการทำงานสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพ ซึ่งหลักการที่สำคัญคือการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นบริการสุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ หน่วยบริการสาธารณสุขและประชาชนมีการจัดรูปแบบการดูแลสุขภาพขั้นต้นได้
ที่ผ่านมาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของไทยถูกทำให้เป็นเป็นบริการชั้นสอง ในขณะที่หลายประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นต้นแบบระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ การทำงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเป็นกลไกที่สำคัญ การลงนามครั้งนี้จะทำให้เกิดหลักสูตรการศึกษาที่ชัดเจน มีการเทียบเคียงคุณวุฒิอย่างมีศักดิ์ศรี และเอื้อต่อการทำงานในประสบการณ์จริงด้วย