ส.ก.ปชป.เสนอ กทม.ยุบโรงเรียนในสังกัดที่ไม่ได้มาตรฐาน สพฐ. ส่วน ร.ร.ที่มี นร.-ครูไม่พอให้ยุบรวมกับ ร.ร.อื่นในพื้นที่ เพื่อประหยัดงบประมาณ เพิ่มคุณภาพนักเรียน ขณะที่ด้านสุขอนามัยเด็กนักเรียน กทม.ยังเป็นเหาเพียบ
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 3 ครั้งที่ 4 ณ ห้องประชุมสภา กทม. ศาลาว่าการ กทม. โดยมีนายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภา กทม.เป็นประธานการประชุม โดยนายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคพลังประชาชน (พปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายโครงการอาหารกลางวันฯ ได้นำเสนอผลการสำรวจโครงการดังกล่าวว่า คณะกรรมการวิสามัญฯ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีความเห็นว่า กทม.ควบปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณค่าอาหารกลางวันให้นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้นและให้เด็กนักเรียนไดรับประทานอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ ครบ 5 หมู่ โดยเพิ่มจากเดิมคนละ 10 บาท เป็นคนละ 15 บาท รวมทั้งให้มีการพิจารณาเพิ่มขึ้นอีกจาก 15บาทให้เป็นบางโรงเรียนโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อย การให้ค่าอาหารเป็นรายหัวอาจจะทำให้ไม่เพียงพอในการนำไปถัวจ่ายตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้อภิปรายเสนอให้ยกเลิกโรงเรียนสังกัด กทม.ที่ไม่ผ่านการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือให้ยุบรวมโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อย หรือจำนวนครู อาจารย์ ไม่เพียงพอต่อการสอนโดยให้รวมกับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากหากปล่อยให้โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินทำการเรียนการสอนไปก็จะทำให้นักเรียนที่จบจากโรงเรียนในสังกัด กทม.ไม่มีคุณภาพ และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ซึ่งหากมีการยุบรวมโรงเรียนนั้นจะเป็นการเพิ่มคุณภาพ และมาตรฐานให้กับนักเรียนที่จบการศึกษา
ด้านนายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง 2 พรรคปชป. กล่าวว่า อยากให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบด้วยว่าในการทำอาหารกลางวันให้เด็กนั้น โรงเรียนส่วนใหญ่จะจ้างเอกชนให้เข้ามาทำ และจะมีการกินหัวคิว ซึ่งทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำอาหารไม่มีคุณภาพ ดังนั้น กทม.ต้องมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้นอกจากค่าอาหารกลางวันที่เป็นปัญหาแล้วตนยังพบว่านักเรียนในโรงเรียน กทม.จากเขตจอมทอง เป็นเหากันเป็นจำนวนมาก ซึ่งตนพบเจอกับตัวเอง โดยการพิสูจน์จากเด็กนักนักเรียนในละแวกบ้านแล้วพบ ซึ่งเด็กบอกว่าเพื่อนๆ ที่โรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นเหากันทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่านอกจากนักเรียนจากเขตจอมทองแล้ว นักเรียนของ กทม.จากเขตอื่นๆ ก็น่าจะมีปัญหาดังกล่าวด้วย จึงอยากให้ สำนักการศึกษาและสำนักงานเขต ทำการสำรวจสุขอนามัยของเด็กนักเรียนด้วย เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงน่าจะมีการพัฒนากว่าต่างจังหวัดไม่ใช่แค่พัฒนาด้านการเรียนการสอน เพราะสุขอนามัยเองก็จะส่งผลต่อการเรียนของเด็กด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบกับรายงานและจะนำส่งคณะผู้บริหารให้พิจารณาต่อไป
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 3 ครั้งที่ 4 ณ ห้องประชุมสภา กทม. ศาลาว่าการ กทม. โดยมีนายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภา กทม.เป็นประธานการประชุม โดยนายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคพลังประชาชน (พปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายโครงการอาหารกลางวันฯ ได้นำเสนอผลการสำรวจโครงการดังกล่าวว่า คณะกรรมการวิสามัญฯ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีความเห็นว่า กทม.ควบปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณค่าอาหารกลางวันให้นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้นและให้เด็กนักเรียนไดรับประทานอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ ครบ 5 หมู่ โดยเพิ่มจากเดิมคนละ 10 บาท เป็นคนละ 15 บาท รวมทั้งให้มีการพิจารณาเพิ่มขึ้นอีกจาก 15บาทให้เป็นบางโรงเรียนโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อย การให้ค่าอาหารเป็นรายหัวอาจจะทำให้ไม่เพียงพอในการนำไปถัวจ่ายตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้อภิปรายเสนอให้ยกเลิกโรงเรียนสังกัด กทม.ที่ไม่ผ่านการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือให้ยุบรวมโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อย หรือจำนวนครู อาจารย์ ไม่เพียงพอต่อการสอนโดยให้รวมกับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากหากปล่อยให้โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินทำการเรียนการสอนไปก็จะทำให้นักเรียนที่จบจากโรงเรียนในสังกัด กทม.ไม่มีคุณภาพ และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ซึ่งหากมีการยุบรวมโรงเรียนนั้นจะเป็นการเพิ่มคุณภาพ และมาตรฐานให้กับนักเรียนที่จบการศึกษา
ด้านนายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง 2 พรรคปชป. กล่าวว่า อยากให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบด้วยว่าในการทำอาหารกลางวันให้เด็กนั้น โรงเรียนส่วนใหญ่จะจ้างเอกชนให้เข้ามาทำ และจะมีการกินหัวคิว ซึ่งทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำอาหารไม่มีคุณภาพ ดังนั้น กทม.ต้องมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้นอกจากค่าอาหารกลางวันที่เป็นปัญหาแล้วตนยังพบว่านักเรียนในโรงเรียน กทม.จากเขตจอมทอง เป็นเหากันเป็นจำนวนมาก ซึ่งตนพบเจอกับตัวเอง โดยการพิสูจน์จากเด็กนักนักเรียนในละแวกบ้านแล้วพบ ซึ่งเด็กบอกว่าเพื่อนๆ ที่โรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นเหากันทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่านอกจากนักเรียนจากเขตจอมทองแล้ว นักเรียนของ กทม.จากเขตอื่นๆ ก็น่าจะมีปัญหาดังกล่าวด้วย จึงอยากให้ สำนักการศึกษาและสำนักงานเขต ทำการสำรวจสุขอนามัยของเด็กนักเรียนด้วย เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงน่าจะมีการพัฒนากว่าต่างจังหวัดไม่ใช่แค่พัฒนาด้านการเรียนการสอน เพราะสุขอนามัยเองก็จะส่งผลต่อการเรียนของเด็กด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบกับรายงานและจะนำส่งคณะผู้บริหารให้พิจารณาต่อไป