สภา กทม.ตั้ง กก.วิสามัญศึกษาผลกระทบเวนคืนที่ดินขาวบ้านย่านอินทามระ ด้าน ส.ก.เสนอทำประชาพิจารณ์ และตั้งคณะกรรมการกำหนดค่าเวนคืน เผยมีเรียกใต้โต๊ะ 10% ขณะที่ กทม.แจงยังไม่สรุปเรื่องเรื่องคืนแต่ยันตั้งที่ปรึกษาศึกษาโครงการและทำประชาพิจารณ์แล้ว
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยมี นายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภา กทม.เป็นประธานการประชุมสมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 2 (ครั้งที่ 4) ประจำปี 2551 โดยมีคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมสภา กทม.ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาญัตติของ นายพีรพล กนกวลัย ส.ก.เขตพญาไท พรรคประชาธิปัตย์ และนายประสิทธิ์ รักสลาม ส.ก.เขตวัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ เรื่อง ขอให้ กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบต่อประชาชนในโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
นายพีรพล กล่าวว่า เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ธ.ค.2550 ถึงวันที่ 26 ธ.ค.2553 มีกำหนด 3 ปี ทำให้ประชาชนผู้อาศัยในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต ดังนั้น กทม.ควรเร่งดำเนินการศึกษาผลกระทบและความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณในการเวนคืนว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวมหรือไม่
ด้าน นายประสิทธิ์ กล่าวว่า การเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีการเวนคืนที่ดินจะต้องมีการนำเสนอแนวทางที่เหมาะสม พร้อมสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน เพื่อหาข้อสรุปและจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนและโครงการนี้ไม่น่าจะเป็นการเวนคืนเพื่อประโยชน์ของประชาชนและราษฎรอย่างแท้จริง แต่น่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เจ้าของที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออก อย่างคอนโดมิเนียม หรืออาคารในซอยดังกล่าวเพราะโครงการนี้ทำการเวนคืนแบบตัดซิกแซกทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 500 ราย ทั้งที่จริงแล้วการเวนคืนจะต้องเกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด รวมถึง เมื่อได้แนวทางเวนคืนที่ชัดเจนแล้วก็จะตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาค่าทดแทนให้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การเวนคืนควรทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ไม่ว่าด้านความเป็นอยู่ หรือสภาพแวดล้อม โดยทางหน่วยงานราชการเองก็ต้องได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นความจำเป็นที่ กทม.จะต้องเวนคืนเพื่อตัดถนนเพียงครึ่งซอยเท่านั้น เหตุใดจึงไม่ทำทั้งซอย หากไม่ดำเนินการทั้งซอยสภา กทม.ก็จะไม่พิจารณาอนุมัติงบประมาณให้ และโครงการดังกล่าวนี้ตนยังได้ยินว่ามีการเรียกรับเงินกัน 10% ด้วย
ส่วน นายบัญญัติ อุยยามวงศ์ ผู้อำนวยการกองจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา ชี้แจงว่า โครงการนี้เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ธ.ค.2550 ถึงวันนี้ 26 ธ.ค.2553 มีกำหนด 3 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการประชุมสรุปเรื่องการเวนคืน รวมทั้งกำหนดราคาเพื่อเวนคืนแต่อย่างใด ทั้งนี้ขอยืนยันว่าบริษัทที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่ทำการศึกษาโครงการและเคยทำเรื่องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แล้ว มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สนย.ไม่ได้ดำเนินการไปโดยพลการ
รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการดังกล่าวมีการศึกษาตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนวิภาวดีรังสิต นอกจากถนนสุทธิสาร และอนุสาวรีย์ชัยฯ โดยระหว่างที่ กทม.ศึกษาแนวเวนคืนยังไม่มีหมู่บ้านผุดขึ้นจำนวนมากอย่างในเวลานี้ แต่มาถึงตอนนี้พระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพิ่งออกมา ซึ่งแนวเวนคืนระยะทางยาว 700 เมตร กว้าง 9.50 เมตร ทั้งนี้ หากโครงการแล้วเสร็จจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในการช่วยระบายรถในถนนสุทธิสารฯ และเป็นอีกเส้นทางที่สามารถวิ่งทะลุระหว่างพหลโยธิน-วิภาวดีฯ ได้อีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการมีผลกระทบ กทม.ก็พร้อมจะทบทวนและหาแนวใหม่ให้เกิดการต่อต้านน้อยที่สุด
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบต่อประชาชนในโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท จำนวนทั้งสิ้น 17 คน
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยมี นายธวัชชัย ปิยนนทยา ประธานสภา กทม.เป็นประธานการประชุมสมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 2 (ครั้งที่ 4) ประจำปี 2551 โดยมีคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมสภา กทม.ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาญัตติของ นายพีรพล กนกวลัย ส.ก.เขตพญาไท พรรคประชาธิปัตย์ และนายประสิทธิ์ รักสลาม ส.ก.เขตวัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ เรื่อง ขอให้ กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบต่อประชาชนในโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
นายพีรพล กล่าวว่า เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ธ.ค.2550 ถึงวันที่ 26 ธ.ค.2553 มีกำหนด 3 ปี ทำให้ประชาชนผู้อาศัยในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต ดังนั้น กทม.ควรเร่งดำเนินการศึกษาผลกระทบและความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณในการเวนคืนว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวมหรือไม่
ด้าน นายประสิทธิ์ กล่าวว่า การเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีการเวนคืนที่ดินจะต้องมีการนำเสนอแนวทางที่เหมาะสม พร้อมสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน เพื่อหาข้อสรุปและจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนและโครงการนี้ไม่น่าจะเป็นการเวนคืนเพื่อประโยชน์ของประชาชนและราษฎรอย่างแท้จริง แต่น่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เจ้าของที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออก อย่างคอนโดมิเนียม หรืออาคารในซอยดังกล่าวเพราะโครงการนี้ทำการเวนคืนแบบตัดซิกแซกทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 500 ราย ทั้งที่จริงแล้วการเวนคืนจะต้องเกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด รวมถึง เมื่อได้แนวทางเวนคืนที่ชัดเจนแล้วก็จะตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาค่าทดแทนให้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การเวนคืนควรทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ไม่ว่าด้านความเป็นอยู่ หรือสภาพแวดล้อม โดยทางหน่วยงานราชการเองก็ต้องได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นความจำเป็นที่ กทม.จะต้องเวนคืนเพื่อตัดถนนเพียงครึ่งซอยเท่านั้น เหตุใดจึงไม่ทำทั้งซอย หากไม่ดำเนินการทั้งซอยสภา กทม.ก็จะไม่พิจารณาอนุมัติงบประมาณให้ และโครงการดังกล่าวนี้ตนยังได้ยินว่ามีการเรียกรับเงินกัน 10% ด้วย
ส่วน นายบัญญัติ อุยยามวงศ์ ผู้อำนวยการกองจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา ชี้แจงว่า โครงการนี้เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ธ.ค.2550 ถึงวันนี้ 26 ธ.ค.2553 มีกำหนด 3 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการประชุมสรุปเรื่องการเวนคืน รวมทั้งกำหนดราคาเพื่อเวนคืนแต่อย่างใด ทั้งนี้ขอยืนยันว่าบริษัทที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่ทำการศึกษาโครงการและเคยทำเรื่องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แล้ว มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สนย.ไม่ได้ดำเนินการไปโดยพลการ
รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการดังกล่าวมีการศึกษาตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนวิภาวดีรังสิต นอกจากถนนสุทธิสาร และอนุสาวรีย์ชัยฯ โดยระหว่างที่ กทม.ศึกษาแนวเวนคืนยังไม่มีหมู่บ้านผุดขึ้นจำนวนมากอย่างในเวลานี้ แต่มาถึงตอนนี้พระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพิ่งออกมา ซึ่งแนวเวนคืนระยะทางยาว 700 เมตร กว้าง 9.50 เมตร ทั้งนี้ หากโครงการแล้วเสร็จจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในการช่วยระบายรถในถนนสุทธิสารฯ และเป็นอีกเส้นทางที่สามารถวิ่งทะลุระหว่างพหลโยธิน-วิภาวดีฯ ได้อีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการมีผลกระทบ กทม.ก็พร้อมจะทบทวนและหาแนวใหม่ให้เกิดการต่อต้านน้อยที่สุด
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบต่อประชาชนในโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อซอยอินทามระ 14 กับซอยอินทามระ 4 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท จำนวนทั้งสิ้น 17 คน