ส.ก.พปช.ค้าน “อภิรักษ์” แก้ไข พ.ร.บ.บริหารงานกทม.ชี้ อำนาจผู้ว่าฯ กทม.มีอยู่ล้นมือควรใช้ให้เต็มที่ ระบุ ไม่มีมารยาทจะแก้ก็ควรถามสภา กทม.เผยเตรียมตั้งกรรมการสามัญตรวจสอบร่างประกบ
วันนี้ (15 ต.ค.) ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.และคณะผู้บริหารชุดใหม่ เข้าร่วมประชุมสภา กทม.สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 4 เป็นครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ นายอภิรักษ์ ได้ชี้แจงกับที่ประชุมถึงแนวนโยบายที่จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 โดยย้ำว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารของ กทม.แต่ต้องการปรับแก้เพื่อให้สอดรับการพัฒนาของ กทม.ในปัจจุบัน โดยจะยึดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ข้าราชการ ลูกจ้าง และสมาชิกสภา กทม.(ส.ก.) เป็นหลัก ทั้งนี้พร้อมจะรับฟังแนวทาง ข้อเสนอแนะจาก ส.ก.ทุกคนด้วย
ด้านนายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อภิปรายว่า จะต้องเร่งแก้ไขเป็นการด่วน เพราะการบริหารงาน กทม.บางส่วนก็ติดปัญหา เกิดการร้องเรียน เช่น กทม.ปรับปรุงถนนให้เป็นอย่างดี แต่ทางการประปากลับมาขุดวางท่อประปา ซึ่งทำให้ประชาชนเดือดร้อนอีก ดังนั้นไม่ว่าเป็น ส.ก. ส.ข.ที่มาจากพรรคการเมืองใดควรให้การสนับสนุน ผลักดันแก้ไข พ.ร.บ. รวมไปถึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างใหม่
ขณะที่นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ในการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว ตนเกรงว่า ประชาชน ส.ก. ส.ข.จะไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เนื่องจากทราบมาว่าทางผู้บริหาร กทม.ได้กำหนดตัวบุคคลที่เป็นคณะกรรมการยกร่างไว้เป็นที่เรียบร้อย และนายอภิรักษ์ ยังระบุด้วยว่า จะนำร่างแก้ไขฉบับของคณะกรรมการปฏิรูปการปฏิบัติราชการของ กทม.มาเป็นตุ๊กตา อีกด้วย ซึ่งตามหลักของการแก้ไขกฎหมาย ถือว่า นายอภิรักษ์ ไม่มีมารยาท เพราะการเสนอแก้กฎหมายนั้นต้องเป็นอำนาจของสภา กทม.หรือ ประชาชน อย่างไรก็ตาม หาก นายอภิรักษ์ เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.เข้าสภา จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกบด้วย ทั้งนี้ตามที่ นายอภิรักษ์ กำหนดให้มีการแก้ไขร่างให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนั้น ถือว่าเป็นความรีบเร่งและเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์
“ที่จริงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.มีอยู่เต็มที่ แต่บางอย่างก็เป็นอำนาจแฝง ที่ต้องใช้ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักทั้ง 16 สำนัก สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ซึ่งวันนี้ผมว่าผู้ว่าฯ ยังไม่ได้ใช้อำนาจที่มีอยู่ในมืออย่างเต็มที่ ก่อนที่จะเสียเวลาแก้กฎหมาย กทม.ควรจะเอาเวลามาพิจารณาตัวเอง ปรับปรุงการใช้อำนาจที่มีจะดีกว่า” นายวิสูตร กล่าว
ด้าน นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ กทม.เปิดเผยว่า ร่างแก้ไข พ.ร.บ.บริหารราชการ กทม.ฉบับแก้ไขนั้น ขณะนี้ได้ส่งให้ นายอภิรักษ์ ไปพิจารณาแล้ว ซึ่งในรายละเอียดนั้นมีผู้บริหารระดับสูงสั่งการมาว่ายังไม่ให้เปิดเผยใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเกรงว่าจะมีปัญหา และกระทบกับกระบวนการแก้ไขได้
วันนี้ (15 ต.ค.) ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.และคณะผู้บริหารชุดใหม่ เข้าร่วมประชุมสภา กทม.สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 4 เป็นครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ นายอภิรักษ์ ได้ชี้แจงกับที่ประชุมถึงแนวนโยบายที่จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 โดยย้ำว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารของ กทม.แต่ต้องการปรับแก้เพื่อให้สอดรับการพัฒนาของ กทม.ในปัจจุบัน โดยจะยึดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ข้าราชการ ลูกจ้าง และสมาชิกสภา กทม.(ส.ก.) เป็นหลัก ทั้งนี้พร้อมจะรับฟังแนวทาง ข้อเสนอแนะจาก ส.ก.ทุกคนด้วย
ด้านนายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ส.ก.เขตบางรัก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อภิปรายว่า จะต้องเร่งแก้ไขเป็นการด่วน เพราะการบริหารงาน กทม.บางส่วนก็ติดปัญหา เกิดการร้องเรียน เช่น กทม.ปรับปรุงถนนให้เป็นอย่างดี แต่ทางการประปากลับมาขุดวางท่อประปา ซึ่งทำให้ประชาชนเดือดร้อนอีก ดังนั้นไม่ว่าเป็น ส.ก. ส.ข.ที่มาจากพรรคการเมืองใดควรให้การสนับสนุน ผลักดันแก้ไข พ.ร.บ. รวมไปถึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างใหม่
ขณะที่นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ในการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว ตนเกรงว่า ประชาชน ส.ก. ส.ข.จะไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เนื่องจากทราบมาว่าทางผู้บริหาร กทม.ได้กำหนดตัวบุคคลที่เป็นคณะกรรมการยกร่างไว้เป็นที่เรียบร้อย และนายอภิรักษ์ ยังระบุด้วยว่า จะนำร่างแก้ไขฉบับของคณะกรรมการปฏิรูปการปฏิบัติราชการของ กทม.มาเป็นตุ๊กตา อีกด้วย ซึ่งตามหลักของการแก้ไขกฎหมาย ถือว่า นายอภิรักษ์ ไม่มีมารยาท เพราะการเสนอแก้กฎหมายนั้นต้องเป็นอำนาจของสภา กทม.หรือ ประชาชน อย่างไรก็ตาม หาก นายอภิรักษ์ เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.เข้าสภา จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกบด้วย ทั้งนี้ตามที่ นายอภิรักษ์ กำหนดให้มีการแก้ไขร่างให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนั้น ถือว่าเป็นความรีบเร่งและเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์
“ที่จริงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.มีอยู่เต็มที่ แต่บางอย่างก็เป็นอำนาจแฝง ที่ต้องใช้ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักทั้ง 16 สำนัก สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ซึ่งวันนี้ผมว่าผู้ว่าฯ ยังไม่ได้ใช้อำนาจที่มีอยู่ในมืออย่างเต็มที่ ก่อนที่จะเสียเวลาแก้กฎหมาย กทม.ควรจะเอาเวลามาพิจารณาตัวเอง ปรับปรุงการใช้อำนาจที่มีจะดีกว่า” นายวิสูตร กล่าว
ด้าน นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ กทม.เปิดเผยว่า ร่างแก้ไข พ.ร.บ.บริหารราชการ กทม.ฉบับแก้ไขนั้น ขณะนี้ได้ส่งให้ นายอภิรักษ์ ไปพิจารณาแล้ว ซึ่งในรายละเอียดนั้นมีผู้บริหารระดับสูงสั่งการมาว่ายังไม่ให้เปิดเผยใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเกรงว่าจะมีปัญหา และกระทบกับกระบวนการแก้ไขได้