“สมเด็จพระเทพฯ” ทรงเปิดงานสัมมนาภาษาไทย เนื่องในวาระฉลองยูเนสโกยกย่อง “กรมหลวงวงษาธิราชสนิท” เป็นบุคคลสำคัญของโลก ทรงแนะให้ระวังการใช้คำภาษาไทยมีความหมายเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ด้านนักวิชาการคลอดงานวิจัย ระบุหลักสูตรภาษาไทย ไม่สอดคล้องกับการสอบ โอเน็ต-เอเน็ต เด็กแห่เรียนกวดวิชา
วันนี้ (9 ก.ค.) เวลา 15.30 น. ที่หอประชุมกองทัพเรือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติงานฉลอง 200 ปี วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท และทรงเป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมทั้งทรงเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสเปิดการสัมมนาทางวิชาการตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในจำนวนไม่มากนักที่มีภาษาของตนเองใช้ และเรียกภาษาของตนเองได้อย่างภาคภูมิว่า ภาษาไทย ตามธรรมชาติภาษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามสถานการณ์ในสังคม อีกส่วนหนึ่งภาษามีความสำคัญถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรมของคนในชาติ การเรียนการสอนภาษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการสอนภาษามีหลายอย่างหลายทฤษฎี การจะตัดสินว่าแบบไหนดีกว่าต้องพิจารณา สถานการณ์เป็นสำคัญ ซึ่งการมาร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งการเทิดพระเกียรติ ผู้ทรงพระนิพนธ์ วรรณคดีและตำราแบบเรียนภาษาไทยไว้เป็นตัวอย่างในการจรรโลงภาษาไทย จึงควรได้ศึกษาแนวทางของครูภาษาไทยแต่โบราณด้วย
ภายหลังจากรับฟังการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสตอบในตอนหนึ่ง ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงเป็นบรรพบุรุษของข้าพเจ้าด้วย ซึ่งพระองค์ทรงพระนิพนธ์แบบเรียนภาษาไทยจินดามณีที่มีความไพเราะทางภาษาและวรรณศิลป์ โดยภาษาเป็นเครื่องมือสืบทอดทางวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยที่ครูได้ตอบแบบสอบถาม พบว่า คนสมัยนี้นิยมมองต่างมุม เช่น ครูภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลงบ่อย ควรนำของเดิมมาใช้ และควรทำให้ทันสมัย ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องของทั้ง 2 ฝ่าย ข้อเสนอบางอย่าง เช่น ควรจะให้ชั้นเรียนมีนักเรียนน้อยๆไม่เกิน 50 คน นั้นลองถามคุณหญิงกษมาว่าทำได้หรือไม่ เพราะทุกวันนี้คนต้องการการศึกษามาก อย่างไรก็ตาม เรื่องการศึกษามักมีอุปสรรคต่างๆนานา ขอให้อย่าท้อใจ เท่าที่เห็นในถิ่นทุรกันดาร บนยอดเขา ครูก็อุตส่าห์มีใบงาน พิมพ์คอมพิวเตอร์ ต้องนำไปถ่ายเอกสารในเมือง อยากให้นักเรียนมีขอดีเรียน ดูความตั้งใจแล้วน่าสงสาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสอีกว่า ข้าพเจ้าขอเล่าประสบการณ์ส่วนตัวว่า บางครั้งก็อย่าไปรังแกเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางภาษา อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหนึ่งคือ เราคนแก่ๆ เคยใช้คำนี้ว่าเป็นคำดีใช้ได้ มีความสุภาพ แต่อีกสมัยหนึ่งก็เปลี่ยนไปคำไม่สุภาพ ความหมายเปลี่ยนไป บางคำที่เป็นคำไม่สุภาก็กลับเป็นคำสุภาพในสมัยนี้ บางครั้งก็ทำให้ข้าพเจ้าไม่กล้าใช้คำนั้น ไม่รู้ว่าสุภาพหรือไม่สุภาพ เพราะคนเขาจะหัวเราะเยาะ ส่วนที่หลายฝ่ายอยากให้ลดงานครูลง เพราะครูมีงานเยอะอยู่แล้ว ข้าพเจ้ายังเคยคิดอยากให้ภาคเอกชนมาช่วยจ้างครูให้กับกระทรวงศึกษาธิการโดยครูคนหนึ่งเคยแอบมากระซิบว่าอยากให้ซื้อคู่มือการออกข้อสอบสำเร็จให้ เพราะครูไม่มีสมองจะคิดแล้ว ต้องเอาเวลาไปหุงข้าวและดูแลนักเรียน เป็นต้น
รศ.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ คณบดีคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวทูลรายงานถึงผลการวิจัย เกี่ยวกับ นโยบายเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันว่า การวิจัยในครั้งนี้ ได้สำรวจจำกลุ่มตัวอย่างระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และบุคคลอาชีพอื่นๆ จำนวน 1,583 คน พบว่า อุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทย น้อยที่สุด โดยปัญหาการใช้ภาษาไทยที่พบว่า การพูดมีปัญหามากที่สุด คือ พูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพดวกวน ส่วนการเขียน ได้แก่ ใช้คำผิดความหมาย การอ่าน ได้แก่ ออกเสียงไม่ถูก จับใจความไม่ได้
นางรื่นฤทัย สัจจพันธุ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงปัญหาการใช้ภาษาไทที่มีปัจจัยจากภายนอกว่า ปัญหามาจาก 3 ส่วน ได้แก่ สื่ออินเทอร์เน็ต บุคคลที่มีชื่อเสียง และสื่อมวลชน โดยเฉพาะปัญหาที่มาจากสื่ออินเทร์อเน็ตทำให้การเขียนภาษาไทยบกพร่อง เช่น 555 แทนเสียงหัวเราะ เดวไปเดก่า 4U แทนคำว่า for you ซึ่งคำเหล่านี้เด็กมาใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ นำมาเขียนในการบ้านและรายงาน ส่วนดารา พิธีกร มักอ่านคำผิด เช่น คำว่า พระเมรุ กลับอ่านว่า พระ-เม-รุ และอ่าน ฉ ออกเสียงเป็นตัว CH ในภาษาอังกฤษ ส่วนผู้นำประเทศมักใช้คำไทยคำอังกฤษคำ แลใช้คำไม่สุภาพ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหา
ผศ.ธัญญา สังขพันธนนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ปัญหาหลักสูตรภาษาไทยระดับมัธยมศึกษานั้นพบว่าไม่สอดคล้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือ โอเน็ต เอเน็ต ส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากไปพึ่งโรงเรียนกวดวิชา
ดังนั้นจำเป็นต้องปรับหลักสูตรภาษาไทยให้สอดคล้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย นอกจากนี้ยังพบว่านโยบาย การเปิดสื่อการเรียนการสอนเสรีทำให้โรงเรียน สามารถเลือกแบบเรียน ได้อย่างอิสระ ซึ่งแบบเรียนภาษาไทยที่ภาคเอกชนผลิตขึ้นมาพบว่า ไม่ได้คุณภาพตามหลักวิชาการ แต่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการของกระทรวงศึกษาธิการและนำออกไปขายในโรงเรียนชนบทจำนวนมาก และมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างสำนักพิมพ์เอกชนกับโรงเรียนที่มีอำนาจในการคัดเลือกสื่อและแบบเรียนเหล่านี้ด้วย
วันนี้ (9 ก.ค.) เวลา 15.30 น. ที่หอประชุมกองทัพเรือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติงานฉลอง 200 ปี วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท และทรงเป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมทั้งทรงเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำรัสเปิดการสัมมนาทางวิชาการตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในจำนวนไม่มากนักที่มีภาษาของตนเองใช้ และเรียกภาษาของตนเองได้อย่างภาคภูมิว่า ภาษาไทย ตามธรรมชาติภาษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามสถานการณ์ในสังคม อีกส่วนหนึ่งภาษามีความสำคัญถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรมของคนในชาติ การเรียนการสอนภาษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการสอนภาษามีหลายอย่างหลายทฤษฎี การจะตัดสินว่าแบบไหนดีกว่าต้องพิจารณา สถานการณ์เป็นสำคัญ ซึ่งการมาร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งการเทิดพระเกียรติ ผู้ทรงพระนิพนธ์ วรรณคดีและตำราแบบเรียนภาษาไทยไว้เป็นตัวอย่างในการจรรโลงภาษาไทย จึงควรได้ศึกษาแนวทางของครูภาษาไทยแต่โบราณด้วย
ภายหลังจากรับฟังการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสตอบในตอนหนึ่ง ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงเป็นบรรพบุรุษของข้าพเจ้าด้วย ซึ่งพระองค์ทรงพระนิพนธ์แบบเรียนภาษาไทยจินดามณีที่มีความไพเราะทางภาษาและวรรณศิลป์ โดยภาษาเป็นเครื่องมือสืบทอดทางวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยที่ครูได้ตอบแบบสอบถาม พบว่า คนสมัยนี้นิยมมองต่างมุม เช่น ครูภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลงบ่อย ควรนำของเดิมมาใช้ และควรทำให้ทันสมัย ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องของทั้ง 2 ฝ่าย ข้อเสนอบางอย่าง เช่น ควรจะให้ชั้นเรียนมีนักเรียนน้อยๆไม่เกิน 50 คน นั้นลองถามคุณหญิงกษมาว่าทำได้หรือไม่ เพราะทุกวันนี้คนต้องการการศึกษามาก อย่างไรก็ตาม เรื่องการศึกษามักมีอุปสรรคต่างๆนานา ขอให้อย่าท้อใจ เท่าที่เห็นในถิ่นทุรกันดาร บนยอดเขา ครูก็อุตส่าห์มีใบงาน พิมพ์คอมพิวเตอร์ ต้องนำไปถ่ายเอกสารในเมือง อยากให้นักเรียนมีขอดีเรียน ดูความตั้งใจแล้วน่าสงสาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสอีกว่า ข้าพเจ้าขอเล่าประสบการณ์ส่วนตัวว่า บางครั้งก็อย่าไปรังแกเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางภาษา อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหนึ่งคือ เราคนแก่ๆ เคยใช้คำนี้ว่าเป็นคำดีใช้ได้ มีความสุภาพ แต่อีกสมัยหนึ่งก็เปลี่ยนไปคำไม่สุภาพ ความหมายเปลี่ยนไป บางคำที่เป็นคำไม่สุภาก็กลับเป็นคำสุภาพในสมัยนี้ บางครั้งก็ทำให้ข้าพเจ้าไม่กล้าใช้คำนั้น ไม่รู้ว่าสุภาพหรือไม่สุภาพ เพราะคนเขาจะหัวเราะเยาะ ส่วนที่หลายฝ่ายอยากให้ลดงานครูลง เพราะครูมีงานเยอะอยู่แล้ว ข้าพเจ้ายังเคยคิดอยากให้ภาคเอกชนมาช่วยจ้างครูให้กับกระทรวงศึกษาธิการโดยครูคนหนึ่งเคยแอบมากระซิบว่าอยากให้ซื้อคู่มือการออกข้อสอบสำเร็จให้ เพราะครูไม่มีสมองจะคิดแล้ว ต้องเอาเวลาไปหุงข้าวและดูแลนักเรียน เป็นต้น
รศ.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ คณบดีคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวทูลรายงานถึงผลการวิจัย เกี่ยวกับ นโยบายเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันว่า การวิจัยในครั้งนี้ ได้สำรวจจำกลุ่มตัวอย่างระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และบุคคลอาชีพอื่นๆ จำนวน 1,583 คน พบว่า อุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทย น้อยที่สุด โดยปัญหาการใช้ภาษาไทยที่พบว่า การพูดมีปัญหามากที่สุด คือ พูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพดวกวน ส่วนการเขียน ได้แก่ ใช้คำผิดความหมาย การอ่าน ได้แก่ ออกเสียงไม่ถูก จับใจความไม่ได้
นางรื่นฤทัย สัจจพันธุ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวถึงปัญหาการใช้ภาษาไทที่มีปัจจัยจากภายนอกว่า ปัญหามาจาก 3 ส่วน ได้แก่ สื่ออินเทอร์เน็ต บุคคลที่มีชื่อเสียง และสื่อมวลชน โดยเฉพาะปัญหาที่มาจากสื่ออินเทร์อเน็ตทำให้การเขียนภาษาไทยบกพร่อง เช่น 555 แทนเสียงหัวเราะ เดวไปเดก่า 4U แทนคำว่า for you ซึ่งคำเหล่านี้เด็กมาใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ นำมาเขียนในการบ้านและรายงาน ส่วนดารา พิธีกร มักอ่านคำผิด เช่น คำว่า พระเมรุ กลับอ่านว่า พระ-เม-รุ และอ่าน ฉ ออกเสียงเป็นตัว CH ในภาษาอังกฤษ ส่วนผู้นำประเทศมักใช้คำไทยคำอังกฤษคำ แลใช้คำไม่สุภาพ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหา
ผศ.ธัญญา สังขพันธนนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ปัญหาหลักสูตรภาษาไทยระดับมัธยมศึกษานั้นพบว่าไม่สอดคล้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือ โอเน็ต เอเน็ต ส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากไปพึ่งโรงเรียนกวดวิชา
ดังนั้นจำเป็นต้องปรับหลักสูตรภาษาไทยให้สอดคล้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย นอกจากนี้ยังพบว่านโยบาย การเปิดสื่อการเรียนการสอนเสรีทำให้โรงเรียน สามารถเลือกแบบเรียน ได้อย่างอิสระ ซึ่งแบบเรียนภาษาไทยที่ภาคเอกชนผลิตขึ้นมาพบว่า ไม่ได้คุณภาพตามหลักวิชาการ แต่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการของกระทรวงศึกษาธิการและนำออกไปขายในโรงเรียนชนบทจำนวนมาก และมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างสำนักพิมพ์เอกชนกับโรงเรียนที่มีอำนาจในการคัดเลือกสื่อและแบบเรียนเหล่านี้ด้วย