xs
xsm
sm
md
lg

ถ้อยแถลง “ปองพล” หลังเสียพระวิหารให้กัมพูชา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เวลา 14.30 น.เวลาท้องถิ่น ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา คณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งได้มีการประชุม ครั้งที่ 32 และมีมติให้ปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยได้รับการขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์เพียง 1 ข้อ จากที่ได้เสนอไว้ 3 ข้อ ทั้งนี้ ตามร่างข้อมติที่ประธานได้พิจารณานำเสนอด้วยตนเอง และได้เสนอขอให้กรรมการรับโดยไม่มีการเปิดอภิปราย
นายปองพล อดิเรกสาร และคณะฯ
ภายหลังจากนั้น นายสก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวขอบคุณที่ประชุม และสุภาพสตรี 3 คน ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก คือ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโก ฝ่ายวัฒนธรรม ประธานคณะกรรมการมรดกโลก และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐอเมริกาประจำยูเนสโก หลังจากนั้น ผู้แทนประเทศไทย 2 คน ได้ขอกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม คือ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมรดกโลก ได้กล่าวประท้วงข้อมติของที่ประชุม โดย นายปองพล อดิเรกสาร ได้กล่าวว่า (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

ท่านประธานที่เคารพ
ผมในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมรดกโลกของประเทศไทย ใคร่ขอให้นำคำแถลงที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้บรรจุไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ด้วย

ท่านประธานที่เคารพ
ประเทศไทยตระหนักเป็นอย่างดีว่าอนุสัญญามรดกโลกเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างประเทศที่มุ่งอนุรักษ์มรดกโลก มุ่งส่งเสริมความซาบซึ้งและการเคารพซึ่งกันและกัน และส่งเสริมสันติภาพ

ด้วยความตระหนักดังกล่าวข้างต้นนั้น ประเทศไทยจึงได้ร้องขอครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้ประเทศไทยได้มีส่วนในการเสนอร่วมกัน (Joint Nomination) เพื่อให้ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นวัดฮินดูในศตวรรษที่ 11 บนยอดเขาที่เป็นพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชา อันเป็นดินแดน ซึ่งยังมีข้อโต้แย้งกันระหว่างประเทศทั้งสองนั้น ได้ขึ้นทะเบียนในลักษณะการเสนอร่วม

พวกเรารู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรง ที่ข้อเรียกร้องของเราที่จะเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในลักษณะการเสนอร่วมกันนั้น ได้ถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า และบัดนี้ปราสาทพระวิหารได้รับการยินยอมให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเป็นพิเศษ โดยใช้เกณฑ์ข้อที่ 1 เพียงข้อเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังปราศจากบริเวณกันชน (buffer zone) ซึ่งทำให้ขาดภูมิทัศน์บริเวณรอบด้านที่จะทำให้ปราสาทพระวิหารได้มีความสง่างาม และความสมบูรณ์ ดังที่ควรจะเป็น และด้วยเหตุผลดังกล่าว เราไม่สามารถจะยอมรับการขึ้นทะเบียนเพียงฝ่ายเดียว โดยใช้เกณฑ์เพียงข้อเดียวของปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกได้ เราได้ประสงค์ที่จะให้เลื่อนการพิจารณาการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไปก่อน จนกว่ารัฐภาคีทั้งสองจะแก้ไขคลี่คลายข้อแตกต่างที่มีอยู่ และสามารถจะร่วมกันขึ้นทะเบียน ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่ายได้ เราขอประท้วงการใช้ผังทางภูมิศาสตร์หรือแผนที่ใดๆ ของมรดกโลก ซึ่งอาจจะนำไปสู่ข้อขัดแย้งยิ่งขึ้นและอาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่เป็นมิตรระหว่างชุมชนที่อยู่รอบๆ บริเวณดังกล่าวในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเคารพในการตัดสินใจของคณะกรรมการอย่างเต็มที่ และรู้สึกขอบคุณท่านประธาน ตลอดจนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ได้ทำงานหนัก ทั้งก่อนการประชุมครั้งนี้และระหว่างการประชุมด้วย

ผมขอให้บันทึกไว้ด้วยว่า พวกเราชื่นชมยินดีในความเป็นวิชาชีพของ ICOMOS ดังที่ได้สะท้อนไว้ในเอกสารการประเมินเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อวิจารณ์ที่ตรงไปตรงมาและตรงประเด็น ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะซึ่งสอดคล้องอย่างยิ่งกับหลักการแห่งคุณค่าสากลอันโดดเด่น ความถูกต้องแท้จริง และความสมบูรณ์ของมรดกโลก

ข้อสรุปของ ICOMOS ที่กล่าวว่า “ICOMOS พิจารณาเห็นว่าคุณค่าที่สมบูรณ์ของปราสาทพระวิหารเชื่อมโยงอย่างแยกออกไม่ได้กับภูมิทัศน์โดยรอบ และการวางผัง และการวางแนวทิศทางซึ่งหันหน้าไปทางเหนือนั้น มีความแตกต่างจากวิหารเขมรอื่นๆ”

ผมขออธิบายแนวทิศทางปราสาทพระวิหารที่หันไปทางทิศเหนือ ซึ่งหันหน้าไปทางประเทศไทย ที่ซึ่งลำน้ำซึ่งไหลมาจากสันปันน้ำบนยอดผาไปสู่สระ ซึ่งจะต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนพื้นที่แวดล้อมของวัดแบบฮินดู ลำน้ำยังไหลต่อไปลงสู่แม่น้ำมูลในประเทศไทย ซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำโขง และในบริเวณดังกล่าว ยังมีร่องรอยของชุมชนโบราณ ตลอดจนซากโบราณสถานแบบฮินดูอีกหลายแห่งปรากฏให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน

ท่านประธานที่เคารพ
อนุสัญญามรดกโลกนี้ ยังเป็นเรื่องของการส่งเสริมความตระหนักและการมีส่วนร่วม ตลอดจนบทบาทของชุมชนที่จะเสนอมรดกโลก
ชุมชนต่างๆ ที่อยู่ทางด้านเหนือของปราสาทพระวิหารในดินแดนของประเทศไทยได้เคยเดินทางไปเยือนและเคารพบูชาที่พระวิหารแห่งมาเป็นเวลานาน นับร้อยๆ ปี ใน สมัยโบราณ ชุมชนในท้องถิ่นเหล่านี้ ยังได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลวัดแห่งนี้อีกด้วย ดังที่มีข้อความปรากฏในจารึกแห่งนี้

ICOMOS ได้เสนอไว้ว่า ในอนาคตอาจจะมีการขยายเขตแดนที่จะมีการเสนอร่วมกัน เพื่อให้คุณค่าของพระวิหารมีความสมบูรณ์เต็มที่ ซึ่งในข้อนี้ ผมเห็นด้วยอย่างเต็มที่ เพราะจะทำให้ชุมชนทางด้านเหนือ ตลอดจนในพื้นที่ข้างล่างด้านใต้ ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และในกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ปราสาทแห่งนี้ ดังที่ได้เคยเป็นไปในอดีต
การขึ้นทะเบียนพระวิหารควรจะได้มีการขยายในโอกาสต่อไป โดยมีความร่วมมือจากประเทศไทย และจะได้พัฒนาเป็นกรณีตัวอย่างในการเสนอมรดกโลกข้ามพรมแดน (transboundary nomination) และอาจจะเป็นการนำเสนอมรดกโลกผสมผสานวัฒนธรรมและธรรมชาติด้วยก็ได้ ซึ่งจะปูทางที่จะนำไปสู่การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน มิตรภาพ และความร่วมมืออย่างสันติระหว่างประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองที่เกี่ยวข้องและระหว่างชุมชนทั้งสองฝั่ง

เรายินดีที่คณะกรรมการได้มีข้อความในข้อมติที่เพิ่งจะอนุมัติไป ที่ระบุให้มีการส่งเสริมให้กัมพูชาและไทยร่วมมือกันเพื่อที่จะสงวนรักษาคุณค่าของมรดกแห่งนี้

เราขอบคุณคณะกรรมการที่ได้ตกลงกันว่า ในอนาคตควรมีการขึ้นทะเบียนขยายเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้มีคุณค่าตามเกณฑ์ข้อ 3 และ 4 ซึ่งเรื่องนี้ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติทางด้านเหนือของปราสาทซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ฝั่งไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ตามกฎหมายไทยว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหาร สมัยโบราณนั้น จะต้องได้รับการพิจารณาตามที่ควรและด้วยความยุติธรรม

คณะผู้แทนของเราได้ยื่นเอกสารที่จำเป็นอย่างไม่เป็นทางการสำหรับการ ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกลักษณะข้ามพรมแดน (transboundary) เพิ่มขึ้น ให้ศูนย์มรดกโลก เพื่อให้ข้อคิดและให้ความช่วยเหลือในอนาคต เราหวังที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคตอันใกล้นี้

ขอขอบคุณ
********************
Statement by
Mr. Pongpol Adireksarn
Chairman of the National World Heritage Committee of Thailand
at the 32nd Session of the World Heritage Committee
on Item 8 B : Nominations to the World Heritage List : the Temple of Preah Vihear
on July 7, 2008

*******************************
Madam Chair,
May I first request that the statement I am about to make be officially included in the record of the Committee meeting.

Madam Chair,
Thailand fully recognizes that the World Heritage Convention is about international cooperation for the conservation of World Heritage, for mutual appreciation and respect, and peace.

Out of this recognition, Thailand has repeatedly appealed for her participation in a joint nomination of Preah Vihear, an eleventh century Hindu Temple, situated on top of a cliff of a mountain that forms a border between Cambodia and Thailand, an area which is still being disputed by the parties concerned.

We are strongly disappointed that our appeal for the joint nomination has been repeatedly denied, and now Preah Vihear Temple has been exceptionally allowed to be listed as a World Heritage Property on the basis of criteria (i) alone, without the proper buffer zones, and without the necessary cultural and natural landscapes on all sides that would have given the dignity and the integrity of the Temple as it rightly deserves. For that reason, we are unable to accept the unilateral inscription of Preah Vihear on only one criterion. We would have liked to postpone the inscription until the two State Parties concerned have resolved the differences and come up with a joint nomination that would be acceptable to both parties. We also protest the use of the accompanied geographic plan of the property because it might lead to further dispute and unfriendly actions between the communities in the surrounding region in the future.

2

However, Thailand fully respects the Committee’s decision, and we are thankful to you and all parties concerned for the hard work done outside the meeting room both before and during the Committee meeting.

May I also put on record our appreciation for ICOMOS’ professionalism as reflected in the evaluations document, particularly their frank and to-the-point comments, their conclusions and recommendations, which are strictly in line with the principle of outstanding universal value, authenticity and integrity.

In ICOMOS’s conclusion, it “considers that the full value of the Temple of Preah Vihear is inextricably linked to the surrounding landscape and that the planning and orientation of the Temple, facing North, is quite different from other Khmer temples.”

May I explain that the northern orientation of the Temple signifies that it faces the area in Thailand where streams running from the watershed at the top of the cliff feed into a pond, considered to be a part of the sacred landscape, significant in any planning for the surrounding of a Hindu-style temple. The water subsequently flows into the Moon River in Thailand, a tributary of the Mekong. Around this area, traces of ancient communities as well as several ruins of Hindu monuments can still be discerned.

Madam Chair,
The World Heritage Convention is also about the promotion of public awareness and involvement, including the role of the communities, in support for the World Heritage.

The communities on the north of the Temple in the territory of Thailand had long been, for hundreds of years, able to visit and worship at the Temple. In ancient times, according to one inscription at the Temple, the indigenous communities were given the responsibility of looking after the Temple.
As suggested by ICOMOS, an extension of boundaries in the future should be jointly submitted to reflect the full value of Preah Vihear. This I fully agree, as it would also allow the communities in the northern and southern lower areas of the Temple, to be able to participate in the conservation and in the cultural activities at the Temple as they had been able to do so in the past.

3
The inscription of Preah Vihear should be further extended with the cooperation of Thailand and should be developed into a model case of transboundary nomination, and even a mixed cultural and natural nomination, that could pave the way for enhanced mutual respect, friendship, and peaceful cooperation between the two neighboring States concerned, and between the local communities on both sides.

We are happy that the Committee, in its decision taken just now, has encouraged Cambodia and Thailand to collaborate for the safeguarding of the values of the property.

We are thankful that the Committee has agreed that would be desirable in the future to have possible inscription to capture criteria (iii) and (iv). To do this, I strongly believe, the cultural and natural landscapes on the northern part of the Temple which lie in the Thai territory, and which have already been identified and registered under the Thai Preservation Law as being significantly related to the Temple of Preah Vihear in the ancient time, must be taken into due and fair consideration. Our delegation has already submitted informally to the World Heritage Center, the necessary documents which have been prepared for additional and possible transboundary inscription for preliminary comments and future assistance. We hope to continue the collaboration with all agencies concerned in the immediate future.

Thank you.
*************************





กำลังโหลดความคิดเห็น