แม่น้ำมูล เปรียบเสมือนสายโลหิตที่คอยหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตน้อยใหญ่จำนวนมาก เป็นเหมือนอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่ไม่เคยเหือดแห้ง ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ผู้คนสองฝั่งแม่น้ำที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ทว่า ปัจจุบันลำน้ำแห่งนี้ถูกบุกรุกรุกรานทำให้แปรเปลี่ยนสภาพไปมากในเวลาอันรวดเร็วจนเกิดปัญหาตลิ่งริมฝั่งพังทลาย สัตว์น้ำลดจำนวนลง รวมทั้งชนวนสำคัญในเรื่องของการสัมปทานดูดทราย กระทั่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามมา โดยเฉพาะคนที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำมูลที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บริเวณชุมชนฮ่องอ้อ ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีรวงศ์ จ.อุบลราชธานี ถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่มีการจัดการทรัพยากรโดยการทำ “วังปลา” ถือเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาและเป็นการประกาศอาณาเขตเพื่อปกป้อง “สิทธิชุมชน” อย่างยั่งยืน
** ก่อกำเนิดวังปลา
สุรสม กฤษณะจูฑะ หัวหน้าโครงการข้าวปลาอาหารอีสานยั่งยืน เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำวังปลาว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 มีการสัมปทานท่าทรายเกิดขึ้น ซึ่งห่างจากชุมชนฮ่องอ้อประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรแม่น้ำมูล ตลิ่งเริ่มพังทลาย สัตว์น้ำลดจำนวนลง อีกทั้งมีการแอบลักลอบเข้ามาดูดทรายนอกบริเวณสัมปทาน ซึ่งเขตนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของปลา
ชุมชนคนหาปลาในบริเวณนั้นเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงหาวิธีการเพื่อระงับสัมปทานท่าทรายโดยร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการ แต่ไม่เป็นผล สุดท้ายชาวบ้านชุมชนฮ่องอ้อจึงเห็นว่าควรทำวังปลาเพื่อประกาศเขตอนุรักษ์ ป้องกันมิให้เกิดการล่วงล้ำเขตแดนเข้ามาลักลอบดูดทรายได้อีก
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งในการจัดการแม่น้ำมูลของชุมชนฮ่องอ้อและชุมชนใกล้เคียงเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2547 จากการไปดูงานการทำวังปลา และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนฮ่องอ้อเริ่มลงมือทำวังปลาในแม่น้ำมูลอย่างเป็นจริงเป็นจัง นับจากวันนั้นถึงวันนี้รวมเวลากว่า 4 ปี กับโครงการที่ประสบผลสำเร็จ
สุรสม ได้ถ่ายทอดแนวคิดว่า การสร้างบ้านให้ปลาอยู่ไม่ได้อาศัยเงินทุนมากนักแต่ใช้ต้นทุนทางสังคมมากกว่า คือ ต้องร่วมแรงร่วมใจกันสร้างบ้านปลาขึ้นมาด้วยมือของคนในชุมชน บ้านของปลาก็เปรียบเสมือนปะการังเทียม ซึ่งประยุกต์จากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ อย่างเช่น ยางรถยนต์และท่อซีเมนต์
สำหรับวิธีการทำวังปลา เริ่มต้นจากการหายางรถยนต์เก่าๆ มา 4 เส้น ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มามัดรวมกัน หนึ่งเส้นใช้เป็นฐาน แล้วนำยางอีก 3 เส้นมามัดรวมกันเป็นรูปพีระมิด เจาะรูให้แก่ยางด้วยเหล็กแหลมแล้วร้อยด้วยเชือกให้แน่น แล้วนำมาผูกกับท่อซีเมนต์ก่อนเพื่อถ่วงน้ำหนัก กระแสน้ำจะได้ไม่พัดพาไป ส่วนท่อซีเมนต์ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตรขึ้นไป โดยพื้นที่การทำวังปลามีระยะทาง 700 เมตร ขวางตลอดลำน้ำ
“ที่นี้ ใช้วัสดุธรรมชาติทำวังปลาไม่ได้ เพราะมีกระแสน้ำแรงจึงต้องอาศัยวัสดุที่มีความหนักเพื่อเป็นการถ่วงไม่ให้น้ำพัดไป อย่างเช่นยางรถยนต์และท่อซีเมนต์” สุรสม อธิบาย
** ผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างชุมชน
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งในการทำวังปลาของชุมชนคือเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างชุมชน เกี่ยวกับเรื่องนี้ “นวล สารเพชร” ผู้ใหญ่บ้านฮ่องอ้อ อธิบายว่า ก่อนหน้าที่จะมีการทำวังปลาในบริเวณดังกล่าว นอกจากจะเป็นที่แอบดูดทรายแล้วยังเป็นแหล่งทำมาหากินเดิมของคนหาปลาเนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำชุกชุม
“ชาวบ้านที่เสียผลประโยชน์หันมาคัดค้านการทำวังปลา ต่อรองให้ไปทำวังปลาที่อื่น จึงไม่สามารถตกลงกันได้ จนชาวบ้านที่เสียผลประโยชน์ไม่พอใจได้ดำน้ำไปเอาปะการังเทียมมาเผาทิ้ง ยิ่งกระตุ้นให้ชุมชนร้าวฉานยิ่งขึ้น”
การคลี่คลายความขัดแย้งในครั้งนี้ ผู้ใหญ่บ้านบอกว่า ได้มีการจัดเวที “ประชาพิจารณ์ชุมชน” โดยให้ทั้งฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์ส่งตัวแทนมาคุยกันฉันพี่น้อง ผลของการประชุม คือ ให้คงเขตวังปลาไว้เหมือนเดิม
“ผลจากการทำวังปลา เรือดูดทรายไม่สามารถล่วงล้ำละเมิดอาณาเขตได้และเลิกราไปในที่สุด ปลาได้มีบ้านในการขยายพันธุ์ ทำให้ปลามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังเกิดเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนในการช่วยกันปกปักรักษาแม่น้ำมูลให้คงอยู่ชั่วลูกหลานต่อไป” ผู้ใหญ่บ้านสรุป
นอกจากนี้แล้ว ทุกวันที่ 14 ก.พ.ของทุกปี ชุมชนฮ่องอ้อจะจัดทำบุญ “คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ” โดยการงดกินปลาและห้ามจับสัตว์น้ำในแม่น้ำ เพื่อเป็นการแสดงความรักและขอบคุณ อีกทั้งถือเป็นสัญลักษณ์ในการเคารพธรรมชาติของคนหาปลา และในวันนี้จะมีการปล่อยสัตว์น้ำคืนสู่แม่น้ำเพื่อให้สัตว์เหล่านี้ได้มีโอกาสขยายพันธุ์ต่อไป
ทว่า ปัจจุบันลำน้ำแห่งนี้ถูกบุกรุกรุกรานทำให้แปรเปลี่ยนสภาพไปมากในเวลาอันรวดเร็วจนเกิดปัญหาตลิ่งริมฝั่งพังทลาย สัตว์น้ำลดจำนวนลง รวมทั้งชนวนสำคัญในเรื่องของการสัมปทานดูดทราย กระทั่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามมา โดยเฉพาะคนที่อยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำมูลที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บริเวณชุมชนฮ่องอ้อ ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีรวงศ์ จ.อุบลราชธานี ถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่มีการจัดการทรัพยากรโดยการทำ “วังปลา” ถือเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาและเป็นการประกาศอาณาเขตเพื่อปกป้อง “สิทธิชุมชน” อย่างยั่งยืน
** ก่อกำเนิดวังปลา
สุรสม กฤษณะจูฑะ หัวหน้าโครงการข้าวปลาอาหารอีสานยั่งยืน เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำวังปลาว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 มีการสัมปทานท่าทรายเกิดขึ้น ซึ่งห่างจากชุมชนฮ่องอ้อประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรแม่น้ำมูล ตลิ่งเริ่มพังทลาย สัตว์น้ำลดจำนวนลง อีกทั้งมีการแอบลักลอบเข้ามาดูดทรายนอกบริเวณสัมปทาน ซึ่งเขตนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของปลา
ชุมชนคนหาปลาในบริเวณนั้นเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงหาวิธีการเพื่อระงับสัมปทานท่าทรายโดยร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการ แต่ไม่เป็นผล สุดท้ายชาวบ้านชุมชนฮ่องอ้อจึงเห็นว่าควรทำวังปลาเพื่อประกาศเขตอนุรักษ์ ป้องกันมิให้เกิดการล่วงล้ำเขตแดนเข้ามาลักลอบดูดทรายได้อีก
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งในการจัดการแม่น้ำมูลของชุมชนฮ่องอ้อและชุมชนใกล้เคียงเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2547 จากการไปดูงานการทำวังปลา และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนฮ่องอ้อเริ่มลงมือทำวังปลาในแม่น้ำมูลอย่างเป็นจริงเป็นจัง นับจากวันนั้นถึงวันนี้รวมเวลากว่า 4 ปี กับโครงการที่ประสบผลสำเร็จ
สุรสม ได้ถ่ายทอดแนวคิดว่า การสร้างบ้านให้ปลาอยู่ไม่ได้อาศัยเงินทุนมากนักแต่ใช้ต้นทุนทางสังคมมากกว่า คือ ต้องร่วมแรงร่วมใจกันสร้างบ้านปลาขึ้นมาด้วยมือของคนในชุมชน บ้านของปลาก็เปรียบเสมือนปะการังเทียม ซึ่งประยุกต์จากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ อย่างเช่น ยางรถยนต์และท่อซีเมนต์
สำหรับวิธีการทำวังปลา เริ่มต้นจากการหายางรถยนต์เก่าๆ มา 4 เส้น ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มามัดรวมกัน หนึ่งเส้นใช้เป็นฐาน แล้วนำยางอีก 3 เส้นมามัดรวมกันเป็นรูปพีระมิด เจาะรูให้แก่ยางด้วยเหล็กแหลมแล้วร้อยด้วยเชือกให้แน่น แล้วนำมาผูกกับท่อซีเมนต์ก่อนเพื่อถ่วงน้ำหนัก กระแสน้ำจะได้ไม่พัดพาไป ส่วนท่อซีเมนต์ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตรขึ้นไป โดยพื้นที่การทำวังปลามีระยะทาง 700 เมตร ขวางตลอดลำน้ำ
“ที่นี้ ใช้วัสดุธรรมชาติทำวังปลาไม่ได้ เพราะมีกระแสน้ำแรงจึงต้องอาศัยวัสดุที่มีความหนักเพื่อเป็นการถ่วงไม่ให้น้ำพัดไป อย่างเช่นยางรถยนต์และท่อซีเมนต์” สุรสม อธิบาย
** ผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างชุมชน
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งในการทำวังปลาของชุมชนคือเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างชุมชน เกี่ยวกับเรื่องนี้ “นวล สารเพชร” ผู้ใหญ่บ้านฮ่องอ้อ อธิบายว่า ก่อนหน้าที่จะมีการทำวังปลาในบริเวณดังกล่าว นอกจากจะเป็นที่แอบดูดทรายแล้วยังเป็นแหล่งทำมาหากินเดิมของคนหาปลาเนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำชุกชุม
“ชาวบ้านที่เสียผลประโยชน์หันมาคัดค้านการทำวังปลา ต่อรองให้ไปทำวังปลาที่อื่น จึงไม่สามารถตกลงกันได้ จนชาวบ้านที่เสียผลประโยชน์ไม่พอใจได้ดำน้ำไปเอาปะการังเทียมมาเผาทิ้ง ยิ่งกระตุ้นให้ชุมชนร้าวฉานยิ่งขึ้น”
การคลี่คลายความขัดแย้งในครั้งนี้ ผู้ใหญ่บ้านบอกว่า ได้มีการจัดเวที “ประชาพิจารณ์ชุมชน” โดยให้ทั้งฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์ส่งตัวแทนมาคุยกันฉันพี่น้อง ผลของการประชุม คือ ให้คงเขตวังปลาไว้เหมือนเดิม
“ผลจากการทำวังปลา เรือดูดทรายไม่สามารถล่วงล้ำละเมิดอาณาเขตได้และเลิกราไปในที่สุด ปลาได้มีบ้านในการขยายพันธุ์ ทำให้ปลามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังเกิดเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนในการช่วยกันปกปักรักษาแม่น้ำมูลให้คงอยู่ชั่วลูกหลานต่อไป” ผู้ใหญ่บ้านสรุป
นอกจากนี้แล้ว ทุกวันที่ 14 ก.พ.ของทุกปี ชุมชนฮ่องอ้อจะจัดทำบุญ “คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ” โดยการงดกินปลาและห้ามจับสัตว์น้ำในแม่น้ำ เพื่อเป็นการแสดงความรักและขอบคุณ อีกทั้งถือเป็นสัญลักษณ์ในการเคารพธรรมชาติของคนหาปลา และในวันนี้จะมีการปล่อยสัตว์น้ำคืนสู่แม่น้ำเพื่อให้สัตว์เหล่านี้ได้มีโอกาสขยายพันธุ์ต่อไป