ราชบัณฑิตยสถาน ให้ สทศ.ออกข้อสอบโทเฟลภาษาไทย สุ่ม ครู นักเรียน 3 พัน ทดลองก่อนนำไปปรับปรุงทำแบบทดสอบฉบับสมบูรณ์ วัดทักษะ 4 ด้าน ฟัง พูด อ่าน เขียน ทั้งสอบอัตนัย ปรนัย เหมืนอสอบโทเฟลภาษาอังกฤษ คาด ปลายปี 2551 แล้วเสร็จ เปิดให้ทดสอบแบบสมัครใจ ไม่บังคับ เพื่อช่วยรู้จุดอ่อนจุดแข็งนำไปปรับปรุงตัว
ตามที่ ราชบัณฑิตยสถาน มีนโยบายจัดเกณฑ์มาตรฐานภาษาไทยทั้งจัดสอบแบบทดสอบภาษาไทย เพื่อทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยของคนไทย ในลักษณะการสอบโทเฟลภาษาอังกฤษนั้น ดร.ชลธิชา สุดมุข ราชบัณฑิตยสถาน ผู้รับผิดชอบโครงการเกณฑ์มาตรฐานภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ราชบัณฑิตยสถานมอบหมายให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกข้อสอบแบบทดสอบภาษาไทย โดยระดมอาจารย์ผู้สอนด้านภาษาไทยระดับมัธยม และอุดมศึกษา ร่วมกันออกข้อสอบ จากนั้นให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นำแบบทดสอบภาษาไทยไปทดลองใช้ โดยสุ่มตัวอย่างครู นักเรียน ทั่วประเทศ จำนวน 3,000 คน มาทดลองใช้แบบทดสอบภาษาไทย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแบบทดสอบให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยสามารถวัดทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งแบบทดสอบก็จะมีทั้ง ปรนัย อัตนัย และการพูดซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ
ดร.ชลธิชา กล่าวต่อว่า คาดว่า ปลายปี 2551 จะสามารถสร้างแบบทดสอบภาษาไทยได้เสร็จเรียบร้อย และใช้ทดสอบกลุ่มครูและนักเรียน โดยกลุ่มครู จะแบ่งเป็น 1.ครูอนุบาลและประถม 2.กลุ่มที่สอนสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งใช้ภาษาไทยเป็นสื่อในการสอน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กีฬา ศิลปะ สังคม 3.ครูอาชีวศึกษา 4.ครูภาษาไทย ส่วนนักเรียน แบ่งการทดสอบเป็น ป.6, ม.3, ม.6, ปวช., ปวส.และอุดมศึกษา
ทั้งนี้ การทดสอบนั้น จะเปิดกว้างให้ครูนักเรียนเข้ามาทดสอบตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ เพื่อให้ทุกคนได้รู้ว่าตนเองมีทักษะด้านใดอ่อนหรือแข็ง เพราะหากเราไม่วัดประเมินตนเองก็จะไม่ทราบว่าเรามีจุดอ่อนด้านใดที่ต้องปรับปรุง โดย สทศ.รับที่จะเป็นหน่วยจัดทดสอบให้ จากนั้นราชบัณฑิตยสถานก็จะจัดทำคู่มือเพื่อพัฒนาครู ในลักษณะสื่ออิเลกทรอนิกส์ต่อไป ทั้งนี้ สทศ.ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาแบบทดสอบและจัดสอบให้กับราชบัณฑิตยสถาน โดย สทศ.คาดหวังว่า แบบทดสอบภาษาไทยจะมีส่วนช่วยพัฒนาให้นักเรียนไทยสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ได้ดีขึ้นด้วย
ตามที่ ราชบัณฑิตยสถาน มีนโยบายจัดเกณฑ์มาตรฐานภาษาไทยทั้งจัดสอบแบบทดสอบภาษาไทย เพื่อทดสอบความรู้ด้านภาษาไทยของคนไทย ในลักษณะการสอบโทเฟลภาษาอังกฤษนั้น ดร.ชลธิชา สุดมุข ราชบัณฑิตยสถาน ผู้รับผิดชอบโครงการเกณฑ์มาตรฐานภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ราชบัณฑิตยสถานมอบหมายให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกข้อสอบแบบทดสอบภาษาไทย โดยระดมอาจารย์ผู้สอนด้านภาษาไทยระดับมัธยม และอุดมศึกษา ร่วมกันออกข้อสอบ จากนั้นให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นำแบบทดสอบภาษาไทยไปทดลองใช้ โดยสุ่มตัวอย่างครู นักเรียน ทั่วประเทศ จำนวน 3,000 คน มาทดลองใช้แบบทดสอบภาษาไทย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแบบทดสอบให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยสามารถวัดทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งแบบทดสอบก็จะมีทั้ง ปรนัย อัตนัย และการพูดซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ
ดร.ชลธิชา กล่าวต่อว่า คาดว่า ปลายปี 2551 จะสามารถสร้างแบบทดสอบภาษาไทยได้เสร็จเรียบร้อย และใช้ทดสอบกลุ่มครูและนักเรียน โดยกลุ่มครู จะแบ่งเป็น 1.ครูอนุบาลและประถม 2.กลุ่มที่สอนสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งใช้ภาษาไทยเป็นสื่อในการสอน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กีฬา ศิลปะ สังคม 3.ครูอาชีวศึกษา 4.ครูภาษาไทย ส่วนนักเรียน แบ่งการทดสอบเป็น ป.6, ม.3, ม.6, ปวช., ปวส.และอุดมศึกษา
ทั้งนี้ การทดสอบนั้น จะเปิดกว้างให้ครูนักเรียนเข้ามาทดสอบตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ เพื่อให้ทุกคนได้รู้ว่าตนเองมีทักษะด้านใดอ่อนหรือแข็ง เพราะหากเราไม่วัดประเมินตนเองก็จะไม่ทราบว่าเรามีจุดอ่อนด้านใดที่ต้องปรับปรุง โดย สทศ.รับที่จะเป็นหน่วยจัดทดสอบให้ จากนั้นราชบัณฑิตยสถานก็จะจัดทำคู่มือเพื่อพัฒนาครู ในลักษณะสื่ออิเลกทรอนิกส์ต่อไป ทั้งนี้ สทศ.ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาแบบทดสอบและจัดสอบให้กับราชบัณฑิตยสถาน โดย สทศ.คาดหวังว่า แบบทดสอบภาษาไทยจะมีส่วนช่วยพัฒนาให้นักเรียนไทยสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ได้ดีขึ้นด้วย