“ทองใบ ทองเปาด์” ทนายแมกไซไซ ชี้ หลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว “ปราสาทพระวิหาร” รัฐบาลต้องรีบแจ้งรัฐบาลกัมพูชา และยูเนสโก ว่า แถลงการณ์ร่วมของ 2 ประเทศ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยุติการกระทำใดๆ ที่ละเมิดคำสั่งศาล ขณะที่หนึ่งในทีมทนายว่าความปราสาทพระวิหาร ชี้ หากเป็น รมต.ประเทศอื่นคงลาออกไปนานแล้ว
นายทองใบ ทองเปาด์ ทนายความแมกไซไซ ให้ความเห็นหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี ยุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาดังกล่าว ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ว่า เมื่อมีคำสั่งศาลออกมารัฐบาลจะต้องยุติการกระทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งรีบดำเนินการทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา รวมทั้งยูเนสโก ทราบว่า ขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง 2 ประเทศ เนื่องจากได้กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาล จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ถ้าหากรัฐบาล หรือกระทรวงการต่างประเทศ ไม่สนใจ หรือรีบดำเนินการก็ถือว่าละเมิดกฎหมาย พร้อมตั้งต้องยุติการลงนาม หรือทำสนธิสัญญาใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย
ด้าน ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมทนายความของประเทศไทย ที่ว่าความคดีปราสาทเขาพระวิหารต่อศาลโลกในปี 2505 กล่าวว่า เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการใดๆ ต่อแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย และรัฐบาลกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยทันที ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือไม่ทำตามไม่ได้ เพราะหากไม่รีบปฏิบัติตามคำสั่งศาลก็จะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไม่น่าให้อภัย ซึ่งการเพิกถอนข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ สามารถกระทำได้ ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย แต่ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศยังมีอาการงอแง ซึ่งขอให้ระลึกว่าหากยังชักช้าจะส่งผลเสียอย่างไรตามมา
ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่า การยกเลิกข้อตกลงจะส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาไม่ได้เลวร้ายอะไร มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่แล้ว แต่การหยิบยกเรื่องเขาพระวิหารขึ้นมาทำข้อตกลงร่วมกันในรอบ 46 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องสัมพันธ์ตามมา ดังนั้น ถ้ามีการยกเลิกสัญญาที่ทำร่วมกัน กัมพูชาจะโกรธคนไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งรัฐบาลไทยก็ควรอธิบายข้อเท็จจริงให้ทางกัมพูชาเข้าใจ เพราะความจริงแล้วพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารก็เป็นของไทยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องไปอธิบายให้กัมพูชาเข้าใจ
“เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากจะทำให้คนกัมพูชาบางส่วนไม่พอใจแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องบาดใจประชาชนไทยด้วย เพราะกระทรวงการต่างประเทศของเรา ดันไปหลงเชื่อว่าพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารไม่ใช่ของไทย เป็นการยั่วยุกัมพูชาให้ได้ใจ เสมือนยกพื้นที่ของเราให้กับกัมพูชา ทำให้ประชาชนไทยไม่พอใจรัฐบาลไทย ขณะเดียวกัน คนกัมพูชาที่อาศัยทำมาหากินอยู่บริเวณชายแดนของไทยและกัมพูชา ซึ่งพวกเขาไม่ได้มีส่วนอะไรกับเรื่องนี้ ก็พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย”
ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ กระทรวงการต่างประเทศ ที่ร่วมดำเนินการเรื่องนี้นั้น ในสมัยของตนไม่มีใครคิดที่จะมาทำเรื่องแบบนี้ ในเมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้ก็ต้องความรับผิดชอบ ซึ่งตนไม่ทราบว่าขณะนี้ได้เตรียมการต่อสู้หรือว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่อย่างน้อยก็ต้องเคารพศาล
“ส่วนความรับผิดชอบของตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ผมไม่สามารถพูดได้ว่าควรจะรับผิดชอบอย่างไร แต่หากเป็นรัฐมนตรีของประเทศอื่น เขาคงจะลาออกไปแล้ว” อดีตเอกอัครราชทูตไทย กล่าว
นายทองใบ ทองเปาด์ ทนายความแมกไซไซ ให้ความเห็นหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี ยุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาดังกล่าว ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ว่า เมื่อมีคำสั่งศาลออกมารัฐบาลจะต้องยุติการกระทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งรีบดำเนินการทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา รวมทั้งยูเนสโก ทราบว่า ขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง 2 ประเทศ เนื่องจากได้กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาล จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ถ้าหากรัฐบาล หรือกระทรวงการต่างประเทศ ไม่สนใจ หรือรีบดำเนินการก็ถือว่าละเมิดกฎหมาย พร้อมตั้งต้องยุติการลงนาม หรือทำสนธิสัญญาใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย
ด้าน ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมทนายความของประเทศไทย ที่ว่าความคดีปราสาทเขาพระวิหารต่อศาลโลกในปี 2505 กล่าวว่า เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการใดๆ ต่อแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย และรัฐบาลกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยทันที ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือไม่ทำตามไม่ได้ เพราะหากไม่รีบปฏิบัติตามคำสั่งศาลก็จะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไม่น่าให้อภัย ซึ่งการเพิกถอนข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ สามารถกระทำได้ ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย แต่ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศยังมีอาการงอแง ซึ่งขอให้ระลึกว่าหากยังชักช้าจะส่งผลเสียอย่างไรตามมา
ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่า การยกเลิกข้อตกลงจะส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาไม่ได้เลวร้ายอะไร มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่แล้ว แต่การหยิบยกเรื่องเขาพระวิหารขึ้นมาทำข้อตกลงร่วมกันในรอบ 46 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องสัมพันธ์ตามมา ดังนั้น ถ้ามีการยกเลิกสัญญาที่ทำร่วมกัน กัมพูชาจะโกรธคนไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งรัฐบาลไทยก็ควรอธิบายข้อเท็จจริงให้ทางกัมพูชาเข้าใจ เพราะความจริงแล้วพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารก็เป็นของไทยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องไปอธิบายให้กัมพูชาเข้าใจ
“เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากจะทำให้คนกัมพูชาบางส่วนไม่พอใจแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องบาดใจประชาชนไทยด้วย เพราะกระทรวงการต่างประเทศของเรา ดันไปหลงเชื่อว่าพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารไม่ใช่ของไทย เป็นการยั่วยุกัมพูชาให้ได้ใจ เสมือนยกพื้นที่ของเราให้กับกัมพูชา ทำให้ประชาชนไทยไม่พอใจรัฐบาลไทย ขณะเดียวกัน คนกัมพูชาที่อาศัยทำมาหากินอยู่บริเวณชายแดนของไทยและกัมพูชา ซึ่งพวกเขาไม่ได้มีส่วนอะไรกับเรื่องนี้ ก็พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย”
ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ กระทรวงการต่างประเทศ ที่ร่วมดำเนินการเรื่องนี้นั้น ในสมัยของตนไม่มีใครคิดที่จะมาทำเรื่องแบบนี้ ในเมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้ก็ต้องความรับผิดชอบ ซึ่งตนไม่ทราบว่าขณะนี้ได้เตรียมการต่อสู้หรือว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่อย่างน้อยก็ต้องเคารพศาล
“ส่วนความรับผิดชอบของตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ผมไม่สามารถพูดได้ว่าควรจะรับผิดชอบอย่างไร แต่หากเป็นรัฐมนตรีของประเทศอื่น เขาคงจะลาออกไปแล้ว” อดีตเอกอัครราชทูตไทย กล่าว