นักวิชาการ รวมตัวจี้ ครม.หุ่นเชิด และ นพดล รับผิดชอบหาก คกก.มรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ชี้ ไทยเสียดินแดนแน่ เตรียมตบเท้าขอคำชี้แจงกองทัพ เหตุถูกสั่งปิดปาก และไม่ปกป้องอธิปไตย
วันนี้ (7 ก.ค.) ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แกนนำรวบรวมรายชื่อประชาชนไทยค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยกัมพูชาฝ่ายเดียว กล่าวว่า หากคณะกรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ก็จะต้องมีการเคลื่อนไหวต่อ ให้รัฐบาลต้องยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ของไทยที่ทำไว้กับกัมพูชา เพราะหากไม่ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจะยิ่งมีผลกระทบกับประเทศไทยอย่างแน่นอน โดยจะกระทบกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นฝั่งไทย แม้จะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทก็ตาม
“รัฐบาลต้องเร่งพิจารณาอย่างรวดเร็วแล้วว่าจะยกเลิก จะล้างจะเช็ดยังไง โดยเฉพาะ นายนพดล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งกรมแผนที่ทหารที่เข้าไปแถลงรับรอง ก็ต้องร่วมรับผิดชอบ สำหรับยูเนสโกที่ไม่ได้มีหนังสือตอบภาคประชาชนที่ยื่นเรื่องคัดค้าน แสดงเห็นว่า ยูเนสโก เพิกเฉยต่อความคิดเห็นของประชาชนชาวไทย ซึ่งน่าตำหนิมาก” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว และว่าการทำงานของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย ย่อมต้องมีความผิดพลาดได้ แต่ไม่ใช่ผิดแล้วไม่สะสาง ปล่อยให้ยิ่งเสียหายไปอีก
ด้าน นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวต่อไปในส่วนของนักวิชาการและภาคประชาชน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน หากคณะกรรมการมรดกโลก มีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยกัมพูชาฝ่ายเดียว คือ 1.ต้องดำเนินการในทางระหว่างประเทศ ซึ่งมีหลายช่องทางที่จะทำหนังสือไปสอบถามเหตุผล ว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทอย่างเดียวถือว่าไม่สมบูรณ์ จึงต้องการเหตุผลจากคณะกรรมการมรดกโลก 2.ในส่วนการเคลื่อนไหวในประเทศ เรื่องแถลงการณ์ร่วม ต้องทำให้ไม่มีผล ถ้ามีผลให้เสียดินแดน ครม.และนายนพดล ต้องรับผิดชอบ
“ถ้าเสียดินแดนจริง ซึ่งเราไม่รู้ว่าเสียไม่เสีย แต่ที่สงสัย คือ ทำไมรัฐมนตรีต่างประเทศต้องสั่งให้ทหารหุบปาก ให้ทหารคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทหารมีหน้าที่ คือ การรักษาดินแดนและอธิปไตย ซึ่งเป็นคนละหน้าที่กับกระทรวงการต่างประเทศ จึงอยากรู้ว่าทหารมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรกันแน่ หากข้อมูลขัดแย้งก็ควรออกมาบอกกล่าวกับประชาชน” นพ.ตุลย์ กล่าวและว่า กลุ่มนักวิชาการและประชาชนที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาฝ่ายเดียว จะเข้าพบกรมแผนที่ทหาร และผู้บัญชาการทหารบกเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้
ด้าน ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส หนึ่งในทีมทนายไทยที่เคยต่อสู้ในศาลโลกกรณีปราสาทพระวิหาร กล่าวว่า ถึงวันนี้ เราคงแก้อะไรไม่ได้ แต่ต้องรอฟังว่าเหตุผลของคณะกรรมการมรดกโลกจะว่าอย่างไร ถ้าเขาขึ้นทะเบียนไปแล้วก็ต้องขึ้นทะเบียนอย่างไม่สมบูรณ์ ปัญหาของไทยต่อไป ต้องเป็นห่วงปัญหาระหว่างประเทศ และดูแลเรื่องการเสียดินแดน ไทยต้องกู้หน้าด้วยการขอจดทะเบียนพื้นที่รอบๆ ด้วย ซึ่งไม่มีพื้นที่ทับซ้อน แต่เป็นพื้นที่ของราชอาณาจักรสยาม
วันนี้ (7 ก.ค.) ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แกนนำรวบรวมรายชื่อประชาชนไทยค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยกัมพูชาฝ่ายเดียว กล่าวว่า หากคณะกรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ก็จะต้องมีการเคลื่อนไหวต่อ ให้รัฐบาลต้องยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ของไทยที่ทำไว้กับกัมพูชา เพราะหากไม่ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจะยิ่งมีผลกระทบกับประเทศไทยอย่างแน่นอน โดยจะกระทบกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นฝั่งไทย แม้จะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทก็ตาม
“รัฐบาลต้องเร่งพิจารณาอย่างรวดเร็วแล้วว่าจะยกเลิก จะล้างจะเช็ดยังไง โดยเฉพาะ นายนพดล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งกรมแผนที่ทหารที่เข้าไปแถลงรับรอง ก็ต้องร่วมรับผิดชอบ สำหรับยูเนสโกที่ไม่ได้มีหนังสือตอบภาคประชาชนที่ยื่นเรื่องคัดค้าน แสดงเห็นว่า ยูเนสโก เพิกเฉยต่อความคิดเห็นของประชาชนชาวไทย ซึ่งน่าตำหนิมาก” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว และว่าการทำงานของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย ย่อมต้องมีความผิดพลาดได้ แต่ไม่ใช่ผิดแล้วไม่สะสาง ปล่อยให้ยิ่งเสียหายไปอีก
ด้าน นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวต่อไปในส่วนของนักวิชาการและภาคประชาชน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน หากคณะกรรมการมรดกโลก มีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยกัมพูชาฝ่ายเดียว คือ 1.ต้องดำเนินการในทางระหว่างประเทศ ซึ่งมีหลายช่องทางที่จะทำหนังสือไปสอบถามเหตุผล ว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทอย่างเดียวถือว่าไม่สมบูรณ์ จึงต้องการเหตุผลจากคณะกรรมการมรดกโลก 2.ในส่วนการเคลื่อนไหวในประเทศ เรื่องแถลงการณ์ร่วม ต้องทำให้ไม่มีผล ถ้ามีผลให้เสียดินแดน ครม.และนายนพดล ต้องรับผิดชอบ
“ถ้าเสียดินแดนจริง ซึ่งเราไม่รู้ว่าเสียไม่เสีย แต่ที่สงสัย คือ ทำไมรัฐมนตรีต่างประเทศต้องสั่งให้ทหารหุบปาก ให้ทหารคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทหารมีหน้าที่ คือ การรักษาดินแดนและอธิปไตย ซึ่งเป็นคนละหน้าที่กับกระทรวงการต่างประเทศ จึงอยากรู้ว่าทหารมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรกันแน่ หากข้อมูลขัดแย้งก็ควรออกมาบอกกล่าวกับประชาชน” นพ.ตุลย์ กล่าวและว่า กลุ่มนักวิชาการและประชาชนที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาฝ่ายเดียว จะเข้าพบกรมแผนที่ทหาร และผู้บัญชาการทหารบกเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้
ด้าน ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส หนึ่งในทีมทนายไทยที่เคยต่อสู้ในศาลโลกกรณีปราสาทพระวิหาร กล่าวว่า ถึงวันนี้ เราคงแก้อะไรไม่ได้ แต่ต้องรอฟังว่าเหตุผลของคณะกรรมการมรดกโลกจะว่าอย่างไร ถ้าเขาขึ้นทะเบียนไปแล้วก็ต้องขึ้นทะเบียนอย่างไม่สมบูรณ์ ปัญหาของไทยต่อไป ต้องเป็นห่วงปัญหาระหว่างประเทศ และดูแลเรื่องการเสียดินแดน ไทยต้องกู้หน้าด้วยการขอจดทะเบียนพื้นที่รอบๆ ด้วย ซึ่งไม่มีพื้นที่ทับซ้อน แต่เป็นพื้นที่ของราชอาณาจักรสยาม