สสส.เผยคนไทยป่วยเบาหวาน 3 ล้านคน ความดันโลหิตสูงภัยเงียบอันตรายเป็นมากกว่า 10 ล้านคน ขณะที่โรคอ้วนในเด็กและผู้ใหญ่ลงพุ่งไม่หยุด เหตุพฤติกรรมการกินเปลี่ยน สสท.เตรียมสำรวจรอยโรครอบ 4 เพิ่มรายละเอียดสุขภาพจิตในผู้ใหญ่ และวัดคุณธรรมจริยธรรมในเด็ก
วันนี้ (18 มิ.ย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลการสำรวจรอยโรคในคนไทยครั้งที่ 3 ในปี 2547 พบ 3 โรคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนในเด็ก
นพ.วิชัย เอกพลากร ผู้อำนวยการ สสท.เปิดเผยว่า จากการสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 3 ครั้งตั้งแต่ปี 2534,2539 และ 2546 พบวิวัฒนาการของโรคเรื้อรังในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น โรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราส่วนผู้หญิง 7.3 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชาย 6.4 เปอร์เซ็นต์ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนโรคที่ยังเป็นปัญหาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่มากที่สุดคือโรคอ้วนซึ่งในการสำรวจครั้งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้หญิงอ้วนมากกว่าผู้ชายในสัดส่วนร้อยละ 34 และ 23 ตามลำดับ
“ณ ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 3 ล้านคน ความดันสูง 10 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเนื่องจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับไม่ออกกำลังกาย และการทานผักผลไม้ที่น้อยลงอาจจะทำให้เกิดอุบัติใหม่ของโรคเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์การเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปี”
นพ.วิชัย กล่าวถึงการสำรวจรอยโรคในคนไทย ครั้งที่ 4 ซึ่งจะเริ่มในเดือน ก.ค.51 นี้ว่า นอกจากจะสำรวจโรคที่คนไทยเป็นมากแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการแล้ว จะเพิ่มรายละเอียดการสำรวจในพัฒนาการเด็กด้วย เช่น การทดสอบเชาว์ปัญญา ทดสอบจริยธรรม คุณธรรม และสถิติการเกิดอุบัติเหตุในเด็กเล็กโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและจิตวิทยาเด็ก สำหรับผู้ใหญ่จะเพิ่มคำถามที่วัดระดับอาการของสุขภาพจิตด้วย อาทิ แบบทดสอบคุณภาพชีวิต และอาการโรคซึมเศร้า โดยใช้ชุดข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเพื่อเทียบระดับคุณภาพชีวิตคนไทยกับนานาประเทศได้
ด้าน นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า การสำรวจรอยโรคคนไทยครั้งที่ 4 นี้จะสุ่มตัวอย่างประชาชน 32,000 คนจากทั่วประเทศในทุกภูมิภาค เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงมากที่สุด โดยจะเริ่มทำการสำรวจในเดือน ก.ค.-พ.ย.51 นี้
โดยผลคาดว่าจะสามารถรวบรวมได้ในช่วงปี 2552 โดยข้อมูลที่ได้สามารถส่งต่อให้กระทรวงสาธารณสุข สปสช.กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้กำหนดเป็นนโยบายต่อไป
วันนี้ (18 มิ.ย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลการสำรวจรอยโรคในคนไทยครั้งที่ 3 ในปี 2547 พบ 3 โรคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนในเด็ก
นพ.วิชัย เอกพลากร ผู้อำนวยการ สสท.เปิดเผยว่า จากการสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 3 ครั้งตั้งแต่ปี 2534,2539 และ 2546 พบวิวัฒนาการของโรคเรื้อรังในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น โรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราส่วนผู้หญิง 7.3 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชาย 6.4 เปอร์เซ็นต์ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนโรคที่ยังเป็นปัญหาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่มากที่สุดคือโรคอ้วนซึ่งในการสำรวจครั้งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้หญิงอ้วนมากกว่าผู้ชายในสัดส่วนร้อยละ 34 และ 23 ตามลำดับ
“ณ ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 3 ล้านคน ความดันสูง 10 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเนื่องจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับไม่ออกกำลังกาย และการทานผักผลไม้ที่น้อยลงอาจจะทำให้เกิดอุบัติใหม่ของโรคเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์การเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปี”
นพ.วิชัย กล่าวถึงการสำรวจรอยโรคในคนไทย ครั้งที่ 4 ซึ่งจะเริ่มในเดือน ก.ค.51 นี้ว่า นอกจากจะสำรวจโรคที่คนไทยเป็นมากแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการแล้ว จะเพิ่มรายละเอียดการสำรวจในพัฒนาการเด็กด้วย เช่น การทดสอบเชาว์ปัญญา ทดสอบจริยธรรม คุณธรรม และสถิติการเกิดอุบัติเหตุในเด็กเล็กโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและจิตวิทยาเด็ก สำหรับผู้ใหญ่จะเพิ่มคำถามที่วัดระดับอาการของสุขภาพจิตด้วย อาทิ แบบทดสอบคุณภาพชีวิต และอาการโรคซึมเศร้า โดยใช้ชุดข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเพื่อเทียบระดับคุณภาพชีวิตคนไทยกับนานาประเทศได้
ด้าน นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า การสำรวจรอยโรคคนไทยครั้งที่ 4 นี้จะสุ่มตัวอย่างประชาชน 32,000 คนจากทั่วประเทศในทุกภูมิภาค เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงมากที่สุด โดยจะเริ่มทำการสำรวจในเดือน ก.ค.-พ.ย.51 นี้
โดยผลคาดว่าจะสามารถรวบรวมได้ในช่วงปี 2552 โดยข้อมูลที่ได้สามารถส่งต่อให้กระทรวงสาธารณสุข สปสช.กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้กำหนดเป็นนโยบายต่อไป