“บุญลือ” รอข้อมูลตัวเลขเพศที่สามในสถานบันอุดมศึกษานำเข้าที่ประชุมอธิการบดี ครั้งหน้า พร้อมเตรียมเชิญเพศที่สามทุกวงการ ผู้เกี่ยวข้องแวดวงศึกษา สังคม หารือแก้ปัญหา ชี้หากเพศที่สามไม่ต้องการให้ออกกฎระเบียบความเป็นอยู่ก็ไม่เป็นไร เพราะแค่รู้จำนวนตัวเลขเพศที่สามก็สามารถหาวิธีลดจำนวนลง หาจุดเริ่มต้นความเบี่ยงเบนแก้ปัญหาต้นเหตุได้
นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปรวบรวมตัวเลขเพศที่สาม ซึ่งกำหนดเวลาส่งข้อมูลภายใน 1 เดือนนั้น ขณะนี้มีข้อมูลที่ทยอยส่งมาบ้างแล้ว และจะได้นำเข้าที่ประชุมรองอธิการบดีฯ ครั้งหน้า จากนั้นจะเชิญเพศที่สาม ที่อยู่ในทุกวงการ รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการศึกษาหรือสายสังคม มาหารือเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา แม้ว่าขณะนี้บางมหาวิทยาลัยทำอยู่บ้างแล้วโดยออกกฎระเบียบของตัวเอง
“ผมเป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแลอุดมศึกษา ก็ต้องการทราบยอดว่ามีเท่าไหร่ จะได้คุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำไปสู่การสรุปแก้ปัญหาให้สังคมในมหาวิทยาลัยอยู่ได้ ผมมองระยะยาว แก้ปัญหาระดับชาติ กฎระเบียบของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่กฎหมาย ผมมองภาพรวมประเทศ หลักสากลเป็นไปได้มากน้อย และข้อกฎหมายในอนาคต ไม่ได้ชี้โพรง ทุกปัญหาที่มีในสังคมต้องนำมาถกและคุยกัน หาจุดดีจุดด้อย และเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ท้ายสุดต้องมีคนกลาง” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
นายบุญลือ กล่าวด้วยว่า ท้ายที่สุดถ้ากลุ่มคนเพศที่สาม ในมหาวิทยาลัย ไม่ต้องการให้มีการออกเป็นกฎระเบียบเพื่อความเป็นอยู่ ก็ไม่เป็นอะไร แต่อย่างน้อยจะได้ทราบจำนวน สมมติว่ามีเป็นหมื่นคน จะได้หาวิธีพัฒนาคนต่อไปว่า จุดเริ่มต้นของความเบี่ยงเบนทางเพศมาจากไหน แล้วมาร่วมกันแก้สังคม ดูตัวเลขการเจริญเติบโต รณรงค์ให้ลดน้อยลง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้มอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปรวบรวมตัวเลขเพศที่สาม ซึ่งกำหนดเวลาส่งข้อมูลภายใน 1 เดือนนั้น ขณะนี้มีข้อมูลที่ทยอยส่งมาบ้างแล้ว และจะได้นำเข้าที่ประชุมรองอธิการบดีฯ ครั้งหน้า จากนั้นจะเชิญเพศที่สาม ที่อยู่ในทุกวงการ รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการศึกษาหรือสายสังคม มาหารือเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา แม้ว่าขณะนี้บางมหาวิทยาลัยทำอยู่บ้างแล้วโดยออกกฎระเบียบของตัวเอง
“ผมเป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแลอุดมศึกษา ก็ต้องการทราบยอดว่ามีเท่าไหร่ จะได้คุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำไปสู่การสรุปแก้ปัญหาให้สังคมในมหาวิทยาลัยอยู่ได้ ผมมองระยะยาว แก้ปัญหาระดับชาติ กฎระเบียบของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่กฎหมาย ผมมองภาพรวมประเทศ หลักสากลเป็นไปได้มากน้อย และข้อกฎหมายในอนาคต ไม่ได้ชี้โพรง ทุกปัญหาที่มีในสังคมต้องนำมาถกและคุยกัน หาจุดดีจุดด้อย และเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ท้ายสุดต้องมีคนกลาง” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
นายบุญลือ กล่าวด้วยว่า ท้ายที่สุดถ้ากลุ่มคนเพศที่สาม ในมหาวิทยาลัย ไม่ต้องการให้มีการออกเป็นกฎระเบียบเพื่อความเป็นอยู่ ก็ไม่เป็นอะไร แต่อย่างน้อยจะได้ทราบจำนวน สมมติว่ามีเป็นหมื่นคน จะได้หาวิธีพัฒนาคนต่อไปว่า จุดเริ่มต้นของความเบี่ยงเบนทางเพศมาจากไหน แล้วมาร่วมกันแก้สังคม ดูตัวเลขการเจริญเติบโต รณรงค์ให้ลดน้อยลง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ