กมธ. สาธารณสุข หารือ “ไชยา” ห่วงปัญหาขาดแคลนบุคลากร เร่งผลักดันกฎหมายที่คั่งค้าง ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าพัฒนาช้า แถมถูกสำนักงบฯ ตัดงบ เตรียมร่วมหาทางออก ระบุไม่จับผิดการทำงาน แต่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ไม่ออกความเห็น กกต.ชี้ขาดคุณสมบัติ ขณะที่เจ้าตัว ไม่กลัวไม่หวั่น ปล่อยไปตามกระบวนการ
วันนี้ (5 มิ.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับนพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านการสาธารณสุข วุฒิสภา และคณะจำนวน 20 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรับฟังปัญหาการดำเนินการด้านสาธารณสุข และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่า คณะกรรมาธิการ ให้ความสนใจในหลายเรื่อง
โดยส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนบุคลาการ อัตรากำลังคน การบริหารบุคลากร โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีจำนวนมาก ส่วนเรื่องการควบคุมโรค มีความเป็นห่วงเรื่อง การแก้ปัญหาไข้หวัดนก ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงแสดงความเป็นห่วงปัญหาข้อกฎหมายบางส่วนที่ยังค้างอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม กฎหมายสำคัญๆ ได้ผ่านการพิจาณาเกือบหมดแล้ว
นายไชยา กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะลงความเห็นด้านคุณสมบัติของตนในวันที่ 10 มิถุนายนนี้นั้น ก็ไม่มีปัญหาอะไร และไม่ได้เตรียมตัวอะไร ไม่ท้อใจ และไม่ถอดใจด้วย ซึ่งวันนี้ได้ถามคณะกรรมาธิการด้านการสาธารณสุขแล้ว ก็ทราบว่าไม่มีใครลงชื่อถอดถอนตน อย่างไรก็ตาม ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ หาก กกต.ลงความเห็นว่า มีความผิดและตนขาดคุณสมบัติ ก็ต้องส่งเรื่องฟ้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลวินิจฉัยอย่างไร ตนพร้อมปฏิบัติตาม
ด้าน นพ.อนันต์ กล่าวว่า กมธ.มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการบริหารราชการ เพื่อตรวจสอบและผลักดันการทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ เพิ่งเริ่มทำงานได้เพียง 2 สัปดาห์ ยังต้องใช้เวลารวบรวมศึกษางานอีกสักระยะ จากนั้นจึงจะตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาเป็นเรื่องๆ ไป โดยเฉพาะปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชน ซึ่งยังต้องขอข้อมูลจากหลายหน่วยงานเพื่อประมวลข้อมูลทั้งหมดว่าต้องทำอะไรบ้าง
“ไม่ได้มาจับผิด และไม่อยากคิดในเชิงลบ โดยเฉพาะปัญหาคุณสมบัติของนายไชยา เพราะไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมาธิการ แต่เป็นเรื่องของสมาชิกวุฒิสภา และกระบวนการทางสภาผู้แทนราษฎรมากว่า จึงไม่ขอให้ความเห็น”นพ.อนันต์ กล่าว
ขณะที่ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 1 กล่าวว่า ปัญหาหลักในขณะนี้คือ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น คือ อยู่ที่ ร้อยละ 98.5 เพิ่มขึ้นจาก 3 ปีที่แล้ว ที่มีผู้ใช้บริการเพียง ร้อยละ 96.3 ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารสุขไม่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทำให้บุคลาการทางการแพทย์ต้องทำงานหนักขึ้น งานล้นมือ ซึ่งเป็นปัญหาส่งผลกระทบคุณภาพการให้บริการที่ลดลง และเกิดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น
“ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถือว่ามีการพัฒนาช้ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอ และล่าสุดสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ไม่ให้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามที่เสนอขอ ซึ่งปัญหาเหล่านี้คณะกรรมาธิการฯ จะมีการอภิปรายในที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง” นพ.เจตน์ กล่าว
วันนี้ (5 มิ.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับนพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านการสาธารณสุข วุฒิสภา และคณะจำนวน 20 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรับฟังปัญหาการดำเนินการด้านสาธารณสุข และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่า คณะกรรมาธิการ ให้ความสนใจในหลายเรื่อง
โดยส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนบุคลาการ อัตรากำลังคน การบริหารบุคลากร โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีจำนวนมาก ส่วนเรื่องการควบคุมโรค มีความเป็นห่วงเรื่อง การแก้ปัญหาไข้หวัดนก ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงแสดงความเป็นห่วงปัญหาข้อกฎหมายบางส่วนที่ยังค้างอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม กฎหมายสำคัญๆ ได้ผ่านการพิจาณาเกือบหมดแล้ว
นายไชยา กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะลงความเห็นด้านคุณสมบัติของตนในวันที่ 10 มิถุนายนนี้นั้น ก็ไม่มีปัญหาอะไร และไม่ได้เตรียมตัวอะไร ไม่ท้อใจ และไม่ถอดใจด้วย ซึ่งวันนี้ได้ถามคณะกรรมาธิการด้านการสาธารณสุขแล้ว ก็ทราบว่าไม่มีใครลงชื่อถอดถอนตน อย่างไรก็ตาม ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ หาก กกต.ลงความเห็นว่า มีความผิดและตนขาดคุณสมบัติ ก็ต้องส่งเรื่องฟ้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลวินิจฉัยอย่างไร ตนพร้อมปฏิบัติตาม
ด้าน นพ.อนันต์ กล่าวว่า กมธ.มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการบริหารราชการ เพื่อตรวจสอบและผลักดันการทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ เพิ่งเริ่มทำงานได้เพียง 2 สัปดาห์ ยังต้องใช้เวลารวบรวมศึกษางานอีกสักระยะ จากนั้นจึงจะตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาเป็นเรื่องๆ ไป โดยเฉพาะปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชน ซึ่งยังต้องขอข้อมูลจากหลายหน่วยงานเพื่อประมวลข้อมูลทั้งหมดว่าต้องทำอะไรบ้าง
“ไม่ได้มาจับผิด และไม่อยากคิดในเชิงลบ โดยเฉพาะปัญหาคุณสมบัติของนายไชยา เพราะไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมาธิการ แต่เป็นเรื่องของสมาชิกวุฒิสภา และกระบวนการทางสภาผู้แทนราษฎรมากว่า จึงไม่ขอให้ความเห็น”นพ.อนันต์ กล่าว
ขณะที่ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 1 กล่าวว่า ปัญหาหลักในขณะนี้คือ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น คือ อยู่ที่ ร้อยละ 98.5 เพิ่มขึ้นจาก 3 ปีที่แล้ว ที่มีผู้ใช้บริการเพียง ร้อยละ 96.3 ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารสุขไม่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทำให้บุคลาการทางการแพทย์ต้องทำงานหนักขึ้น งานล้นมือ ซึ่งเป็นปัญหาส่งผลกระทบคุณภาพการให้บริการที่ลดลง และเกิดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มมากขึ้น
“ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถือว่ามีการพัฒนาช้ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอ และล่าสุดสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ไม่ให้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามที่เสนอขอ ซึ่งปัญหาเหล่านี้คณะกรรมาธิการฯ จะมีการอภิปรายในที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง” นพ.เจตน์ กล่าว