ศธ.ระบุแนวทางแก้หนี้สินครู เน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตครูสู่เศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกำหนดโทษครูที่ทำผิดเงื่อนไข “อดกู้”
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้รายงานผลการประชุมคณะทำงานจัดทำแผนและมาตรการแก้ไขปัญหาหนึ้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีนายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ประธานคณะทำงาน โดยได้สรุปว่าจะดำเนินการต่อยอดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูที่ สกสค.ดำเนินการร่วมกับธนาคารออมสิน ซึ่งข้อมูลล่าสุดเมื่อ 31 มีนาคม 2551 พบว่า มีครูเข้าร่วมโครงการพัฒนาชีวิตครู 88,827 คน มีเงินออม 448 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อที่ธนาคารออมสินอนุมัติให้ 77,028.27 ล้านบาท โดยคณะทำงานฯ ได้จัดวางตัวแบบแก้ไขปัญหาใหม่โดยใช้หลักการดังต่อไปนี้
โดยรวมหนี้สินที่มีอยู่เดิมไว้ในกองทุนเดียวกัน โดยการจัดตั้งกองทุนดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) และใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันของผู้เป็นหนี้เป็นเงินกองทุน ต่อรองขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ในส่วนของผู้กู้รายเก่าและรายใหม่
และหาทางลดรายจ่ายโดยสร้างวินัยการเงิน จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และลดความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เพิ่มรายได้ให้ครู โดยให้มีอาชีพเสริมที่เหมาะกับอาชีพครู เช่น รับจัดทำการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือโครงการปลูกพืชชีวโมเลกุลแนวใหม่ และกิจกรรมที่เป็นความถนัดพิเศษส่วนบุคคลขอครู
นางจรวยพร กล่าวต่อว่า จะประสานกรมส่งเสริมสหกรณ์และออกระเบียบ เพื่อกำกับสหกรณ์ครูทั่วประเทศ ในการปล่อยกู้ที่เข้มงวด เพื่อให้ครูมีเงินเหลือพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัวหลังการถูกหักเงินกู้จากเงินเดือนที่ได้รับ พร้อมทั้งเสนอของบประมาณในวงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือครูที่มีหนี้สาหัส ต้องได้รับการเยียวยา 10,000 คน โดยครูต้องทำงานแลกกับเงินที่จะได้รับ แต่มิใช่การใช้หนี้ให้ครู และจะป้องกันไม่ให้ครูใหม่ที่มีอายุราชการ 1-5 ปี เข้ามาติดกับดักหนี้สินนี้ เพื่อสกัดการเพิ่มยอดครูที่เป็นหนี้ไม่ให้เกิน 8.8 หมื่นคน โดยการสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตครูใหม่ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งหาทางช่วยเหลือค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานที่ทุกครอบครัวของครูไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นที่อยู่อาศัย การศึกษาบุตร และสิ่งอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันให้ด้วย
ซึ่งจะจำแนกหนี้สินออกเป็น 2 ส่วนให้ชัดเจน ได้แก่ หนี้สินในระบบสถาบันการเงิน และหนี้สินที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งกรอบในการแก้ไขปัญหาจะมีคณะกรรมการช่วยกำกับนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยใช้ สกสค.เป็นฝ่ายอำนวยการ จัดระบบหลักเกณฑ์และการเสริมอาชีพที่เหมาะสม รวมทั้งจะจัดหาแหล่งทุนต้นทุนต่ำจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ โดยการใช้สถาบันการเงินเข้าซื้อหนี้ที่มีอยู่ โดยใช้หลักทรัพย์ที่ครูใช้ ประกันหนี้เพื่อสร้างกองทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ครู Refinance จากแหล่งหนี้เดิม
คณะทำงานจะได้จัดทำรายละเอียด รูปแบบกระบวนการ สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ไปจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณา และได้เปลี่ยนชื่อโครงการจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูเป็น โครงการคุณภาพชีวิตครูสู่เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการปรับลดดอกเบี้ย เมื่อมีการชำระดี กำหนดการชำระหนี้ยาวให้สอดคล้องกับการชำระหนี้ โดยจะดูจากรายได้และอายุราชการที่เหลือ สนับสนุนเงินทุนใหม่สำหรับผู้เข้าโครงการอาชีพใหม่ และกำหนดมาตรการลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เช่น หากครูไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจนชื่อไปติดอยู่ในเครดิตบูโรก็จะไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้อีกเลย” ปลัด ศธ.กล่าว และว่า ทั้งนี้ คณะทำงานจะได้นำแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินครูดังกล่าว เสนอนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เพื่อเห็นชอบ และนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการสนับสนุนงบประมาณ 1,000 ล้าน เพื่อดำเนินการจัดโครงการคุณภาพชีวิตครูสู่เศรษฐกิจพอเพียงต่อไป
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้รายงานผลการประชุมคณะทำงานจัดทำแผนและมาตรการแก้ไขปัญหาหนึ้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีนายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ประธานคณะทำงาน โดยได้สรุปว่าจะดำเนินการต่อยอดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูที่ สกสค.ดำเนินการร่วมกับธนาคารออมสิน ซึ่งข้อมูลล่าสุดเมื่อ 31 มีนาคม 2551 พบว่า มีครูเข้าร่วมโครงการพัฒนาชีวิตครู 88,827 คน มีเงินออม 448 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อที่ธนาคารออมสินอนุมัติให้ 77,028.27 ล้านบาท โดยคณะทำงานฯ ได้จัดวางตัวแบบแก้ไขปัญหาใหม่โดยใช้หลักการดังต่อไปนี้
โดยรวมหนี้สินที่มีอยู่เดิมไว้ในกองทุนเดียวกัน โดยการจัดตั้งกองทุนดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) และใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันของผู้เป็นหนี้เป็นเงินกองทุน ต่อรองขอลดดอกเบี้ยเงินกู้ในส่วนของผู้กู้รายเก่าและรายใหม่
และหาทางลดรายจ่ายโดยสร้างวินัยการเงิน จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และลดความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เพิ่มรายได้ให้ครู โดยให้มีอาชีพเสริมที่เหมาะกับอาชีพครู เช่น รับจัดทำการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือโครงการปลูกพืชชีวโมเลกุลแนวใหม่ และกิจกรรมที่เป็นความถนัดพิเศษส่วนบุคคลขอครู
นางจรวยพร กล่าวต่อว่า จะประสานกรมส่งเสริมสหกรณ์และออกระเบียบ เพื่อกำกับสหกรณ์ครูทั่วประเทศ ในการปล่อยกู้ที่เข้มงวด เพื่อให้ครูมีเงินเหลือพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัวหลังการถูกหักเงินกู้จากเงินเดือนที่ได้รับ พร้อมทั้งเสนอของบประมาณในวงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือครูที่มีหนี้สาหัส ต้องได้รับการเยียวยา 10,000 คน โดยครูต้องทำงานแลกกับเงินที่จะได้รับ แต่มิใช่การใช้หนี้ให้ครู และจะป้องกันไม่ให้ครูใหม่ที่มีอายุราชการ 1-5 ปี เข้ามาติดกับดักหนี้สินนี้ เพื่อสกัดการเพิ่มยอดครูที่เป็นหนี้ไม่ให้เกิน 8.8 หมื่นคน โดยการสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตครูใหม่ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งหาทางช่วยเหลือค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานที่ทุกครอบครัวของครูไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นที่อยู่อาศัย การศึกษาบุตร และสิ่งอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันให้ด้วย
ซึ่งจะจำแนกหนี้สินออกเป็น 2 ส่วนให้ชัดเจน ได้แก่ หนี้สินในระบบสถาบันการเงิน และหนี้สินที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งกรอบในการแก้ไขปัญหาจะมีคณะกรรมการช่วยกำกับนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยใช้ สกสค.เป็นฝ่ายอำนวยการ จัดระบบหลักเกณฑ์และการเสริมอาชีพที่เหมาะสม รวมทั้งจะจัดหาแหล่งทุนต้นทุนต่ำจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ โดยการใช้สถาบันการเงินเข้าซื้อหนี้ที่มีอยู่ โดยใช้หลักทรัพย์ที่ครูใช้ ประกันหนี้เพื่อสร้างกองทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ครู Refinance จากแหล่งหนี้เดิม
คณะทำงานจะได้จัดทำรายละเอียด รูปแบบกระบวนการ สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ไปจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณา และได้เปลี่ยนชื่อโครงการจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูเป็น โครงการคุณภาพชีวิตครูสู่เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการปรับลดดอกเบี้ย เมื่อมีการชำระดี กำหนดการชำระหนี้ยาวให้สอดคล้องกับการชำระหนี้ โดยจะดูจากรายได้และอายุราชการที่เหลือ สนับสนุนเงินทุนใหม่สำหรับผู้เข้าโครงการอาชีพใหม่ และกำหนดมาตรการลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เช่น หากครูไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจนชื่อไปติดอยู่ในเครดิตบูโรก็จะไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้อีกเลย” ปลัด ศธ.กล่าว และว่า ทั้งนี้ คณะทำงานจะได้นำแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินครูดังกล่าว เสนอนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เพื่อเห็นชอบ และนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการสนับสนุนงบประมาณ 1,000 ล้าน เพื่อดำเนินการจัดโครงการคุณภาพชีวิตครูสู่เศรษฐกิจพอเพียงต่อไป