สธ.ปรับโฉมกฎกระทรวงคุมเข้มตลาดสด 1,524 แห่งทั่วไทย มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 17 มกราคม 2551 กำหนดให้ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 100 เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงฆ่าสัตว์ แหล่งโสโครก ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่อิมแพค เมืองทองธานี นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง กฎกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยสุขลักษณะของตลาดและแนวทางการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม-ด้านส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ.2551 เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะพันธมิตรที่ร่วมดำเนินงานพัฒนาตลาดสดร่วมกับกรมอนามัยได้เกิดความเข้าใจและสามารถนำกฎกระทรวง ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายกเทศมนตรีทั่วประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมประมาณ 1,000 คน ว่า ปัจจุบันปัญหาตลาดสดที่มักพบส่วนใหญ่เป็นเรื่องการรักษาความสะอาดของตัวตลาด และบริเวณการเก็บกวาดขยะมูลฝอย การจัดการสิ่งปฏิกูล การจัดแผงที่กีดขวางทางเดินเท้า การจัดหาน้ำดื่มมาใช้บริการทั้งพ่อค้า แม่ค้า รวมถึงผู้ที่มาจับจ่ายสินค้า การป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอย่างหนู แมลงวัน แมลงสาบ ตลอดจนพฤติกรรมของพ่อค้าแม่ค้าที่อาจทำให้อาหารที่ซื้อมามีการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารเคมีที่นำมาใช้กับอาหารอย่างผิดๆ และการระบาดของโรคของโรคติดต่ออุบัติใหม่ บางชนิด เช่น โรคไข้หวัดนก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ได้ รับประทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัย รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายอาหารปลอดภัย ซึ่งกำหนดให้อาหารสดที่จำหน่ายภายในตลาดนั้นจะต้องไม่พบสารอันตราย 6 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว กรดซาลิซิลิก ยาฆ่าแมลง และสารเร่งเนื้อแดงในอาหาร กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับปรุงกฎกระทรวงจากฉบับเดิมเป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 ภายใต้การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกำกับดูแลการดำเนินกิจการตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนกำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชนและวิธีการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแลและแก้ไขสิ่งที่เป็นผลกระทบต่อประชาชน
“ทั้งนี้ กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ. 2551 ได้กำหนดมาตรการข้อปฏิบัติต่าง ๆ อาทิ ให้ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 100 เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงฆ่าสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ประกอบการตลาดต้องบำรุงรักษาโครงสร้างต่างๆ ของตลาดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่นๆ อีกทั้งให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสีย หรือน้ำทิ้ง และการระบายน้ำไม่ให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่ตลาดเปิดทำการ เป็นต้น”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวด้วยว่า กฎกระทรวงยังได้กำหนดให้มีการล้างทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละครั้ง แต่ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้มีการล้างตลาดมากกว่า 1 ครั้งได้ รวมถึงมีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในตลาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง และป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด เพื่อสุขอนามัยที่ดีทั้งต่อผู้จำหน่ายและจับจ่ายสินค้าภายในตลาดด้วย โดยกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2551 ซึ่งผู้ประกอบการตลาดต้องดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตลาดให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ ภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ บังคับใช้
ด้าน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดำเนินงานพัฒนา ตลาดสดให้ได้มาตรฐานตามโครงการตลาดสด น่าซื้อ เป็นบทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยที่ได้มีการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบันตลาดสดทั่วประเทศจำนวน 1,524 แห่ง แบ่งเป็นตลาดสดในกรุงเทพมหานคร 153 แห่ง ต่างจังหวัดอีก 1,371 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อรวมร้อยละ 68.57 ซึ่งการปฏิบัติตามกฏกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พ่อค้าแม่ค้าให้เกิดความตระหนักและร่วมมือกันปฏิบัติตามข้อแนะนำด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคของชุมชน และเป็นการสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่อิมแพค เมืองทองธานี นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง กฎกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยสุขลักษณะของตลาดและแนวทางการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม-ด้านส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ.2551 เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะพันธมิตรที่ร่วมดำเนินงานพัฒนาตลาดสดร่วมกับกรมอนามัยได้เกิดความเข้าใจและสามารถนำกฎกระทรวง ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายกเทศมนตรีทั่วประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมประมาณ 1,000 คน ว่า ปัจจุบันปัญหาตลาดสดที่มักพบส่วนใหญ่เป็นเรื่องการรักษาความสะอาดของตัวตลาด และบริเวณการเก็บกวาดขยะมูลฝอย การจัดการสิ่งปฏิกูล การจัดแผงที่กีดขวางทางเดินเท้า การจัดหาน้ำดื่มมาใช้บริการทั้งพ่อค้า แม่ค้า รวมถึงผู้ที่มาจับจ่ายสินค้า การป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอย่างหนู แมลงวัน แมลงสาบ ตลอดจนพฤติกรรมของพ่อค้าแม่ค้าที่อาจทำให้อาหารที่ซื้อมามีการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารเคมีที่นำมาใช้กับอาหารอย่างผิดๆ และการระบาดของโรคของโรคติดต่ออุบัติใหม่ บางชนิด เช่น โรคไข้หวัดนก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ได้ รับประทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัย รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายอาหารปลอดภัย ซึ่งกำหนดให้อาหารสดที่จำหน่ายภายในตลาดนั้นจะต้องไม่พบสารอันตราย 6 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว กรดซาลิซิลิก ยาฆ่าแมลง และสารเร่งเนื้อแดงในอาหาร กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับปรุงกฎกระทรวงจากฉบับเดิมเป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 ภายใต้การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกำกับดูแลการดำเนินกิจการตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนกำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชนและวิธีการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแลและแก้ไขสิ่งที่เป็นผลกระทบต่อประชาชน
“ทั้งนี้ กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ. 2551 ได้กำหนดมาตรการข้อปฏิบัติต่าง ๆ อาทิ ให้ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 100 เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงฆ่าสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ประกอบการตลาดต้องบำรุงรักษาโครงสร้างต่างๆ ของตลาดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่นๆ อีกทั้งให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสีย หรือน้ำทิ้ง และการระบายน้ำไม่ให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่ตลาดเปิดทำการ เป็นต้น”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวด้วยว่า กฎกระทรวงยังได้กำหนดให้มีการล้างทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละครั้ง แต่ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้มีการล้างตลาดมากกว่า 1 ครั้งได้ รวมถึงมีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในตลาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง และป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด เพื่อสุขอนามัยที่ดีทั้งต่อผู้จำหน่ายและจับจ่ายสินค้าภายในตลาดด้วย โดยกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2551 ซึ่งผู้ประกอบการตลาดต้องดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตลาดให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ ภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ บังคับใช้
ด้าน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดำเนินงานพัฒนา ตลาดสดให้ได้มาตรฐานตามโครงการตลาดสด น่าซื้อ เป็นบทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยที่ได้มีการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบันตลาดสดทั่วประเทศจำนวน 1,524 แห่ง แบ่งเป็นตลาดสดในกรุงเทพมหานคร 153 แห่ง ต่างจังหวัดอีก 1,371 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อรวมร้อยละ 68.57 ซึ่งการปฏิบัติตามกฏกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พ่อค้าแม่ค้าให้เกิดความตระหนักและร่วมมือกันปฏิบัติตามข้อแนะนำด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคของชุมชน และเป็นการสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค