ศูนย์ข่าวศรีราชา - เมืองพัทยาทำแปลกหลังภาคเอกชนเตรียมปิดกิจการโรงฆ่าสัตว์ ปัดความรับผิดชอบให้ผู้ประกอบการฆ่าชำแหละได้เองอย่างไร้มาตรการควบคุมมาตรฐาน พร้อมให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเอาหู ไป นา เอาตาไปไร่ ด้านผู้บริโภคโวยหวั่นเนื้อหมูไม่มีคุณภาพ มีสารพิษเจือปน หากไม่มีภาครัฐควบคุมเข้มงวด
วันนี้ (5 ส.ค.) นายวีรวัฒน์ ค้าขาย นายกเมืองพัทยา พร้อมด้วยนายมาย ไชยนิตย์ นายกเทศบาลเมืองหนองปรือ เป็นประธานการประชุมหารือปัญหาเรื่องโรงฆ่าสัตว์เอกชน ในนาม บ.สล็อตเตอร์เฮ้าส์ ที่จะปิดทำการอย่างถาวรในช่วงต้นเดือนสิงหาคมปี 2551 นี้ เนื่องจากประสพภาวะขาดทุน จนทำให้ผู้ประกอบการจำนวนกว่า 100 ราย ไม่สามารถดำเนินการฆ่าชำแหละเพื่อส่งเนื้อมหูเข้าสู่ตลาดได้
ขณะที่เมืองพัทยาเองก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์มารองรับ ซึ่งผิดตามกฎหมายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่ต้องจัดตั้งโรงฆ่าขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกและควบคุมมาตรฐานของเนื้อสัตว์ที่ใช้อุปโภคบริโภคในพื้นที่
โดยการประชุมครั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี และอำเภอบางละมุง เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางละมุง ผู้ประกอบการค้าเนื้อสุกร และเจ้าของประกอบการโรงฆ่าสัตว์เข้าร่วมหารือ
นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า จากการที่โรงฆ่าสัตว์ของภาคเอกชน ในนาม บ.พัทยาสล็อตเตอร์เฮ้าส์ จะปิดทำการลง เนื่องจากประสบปัญหาภาวะขาดทุน ทำให้ผู้ประกอบการค้าหมูได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นทางเมืองพัทยาได้เสนอให้นำหมูไปชำแหละโรงฆ่าสัตว์ที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้แล้วชั่วคราว หลังจากนั้นให้ไปขออาชญาบัตรเป็นรายบุคคลที่กับเทศบาลเมืองหนองปรือ โดยในส่วนของเมืองพัทยาจะตั้งคณะทำงาน โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยาเป็นประธาน พร้อมคณะสมาชิกสภาเมืองพัทยา และผู้ที่เกี่ยวข้องคงร่วมพิจารณาและสำรวจว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่เหมาะสมในการจัดสร้างโรงเรือน แต่ที่จับตามองไว้คือที่ อบต.ตะเคียนเตี้ย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการกระจายโรงฆ่าสัตว์ในหลายจุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการควบคุมในเรื่องของความสะอาด ซึ่งจะควบคุมยากมาก จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกรายให้ความร่วมมือ อย่าให้มีกลิ่นหรือสิ่งสกปรกรบกวนบ้านเรือนข้างเคียง หากได้รับการร้องเรียนคงจะต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย
มีรายงานเพิ่มเติมว่า แต่เดิมเมื่อประมาณปี 2545 ที่ผ่านมา เมืองพัทยาได้ปิดกิจการโรงฆ่าสัตว์ไป โดยโอนย้ายผู้ประกอบการไปทำการฆ่าชำแหละที่โรงฆ่าของภาคเอกชนในนาม บ.สล๊อตเตอร์เฮ้าส์ ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ อ.บางละมุง
แต่ปรากฏว่า มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ยังดำเนินการฆ่าชำแหละโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่าย โดยภาครัฐไม่ได้เข้าไปดำเนินการควบคุมและแก้ไข จนทำให้ทางบริษัทประสพภาวะขาดทุน ก่อนประกาศปิดตัวลงในเดือนสิงหาคมนี้
อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขดังกล่าวยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจนและเมืองพัทยาเองก็ไม่อยากดำเนินการจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์ขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากหวั่นปัญหาเรื่องของมลพิษและปัญหาชุมชนซึ่งผิดกฎหมายที่กำหนดให้ทุกเทศบาลและเมืองต้องจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์เพื่อรองรับการฆ่าชำแหละ เพื่อนำเนื้อสัตว์มาจำหน่ายในพื้นที่ จึงได้ปัดความรับผิดชอบโดยให้ผู้ประกอบการไปฆ่าชำแหละเอง
โดยเมืองพัทยาจะประสานให้ไปทำการออกตั๋วค่าธรรมเนียมการฆ่าให้ แต่การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการประกอบกิจกรรมส่วนตัวที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของภาครัฐไปควบคุม ซึ่งอาจส่งผลให้คุณภาพของเนื้อต่ำลง
โดยเฉพาะกรณีของการใส่สารเคมีชนิดบอแรกซ์ เพื่อทำให้เนื้อแดง ซึ่งยากต่อการตรวจสอบ โดยเมืองพัทยาให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ เพื่อให้สามารถผลิตเนื้อหมูออกสู่ตลาดได้ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกรณีดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าอาจเกิดผลเสียขึ้นได้ในอนาคต
วันนี้ (5 ส.ค.) นายวีรวัฒน์ ค้าขาย นายกเมืองพัทยา พร้อมด้วยนายมาย ไชยนิตย์ นายกเทศบาลเมืองหนองปรือ เป็นประธานการประชุมหารือปัญหาเรื่องโรงฆ่าสัตว์เอกชน ในนาม บ.สล็อตเตอร์เฮ้าส์ ที่จะปิดทำการอย่างถาวรในช่วงต้นเดือนสิงหาคมปี 2551 นี้ เนื่องจากประสพภาวะขาดทุน จนทำให้ผู้ประกอบการจำนวนกว่า 100 ราย ไม่สามารถดำเนินการฆ่าชำแหละเพื่อส่งเนื้อมหูเข้าสู่ตลาดได้
ขณะที่เมืองพัทยาเองก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์มารองรับ ซึ่งผิดตามกฎหมายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่ต้องจัดตั้งโรงฆ่าขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกและควบคุมมาตรฐานของเนื้อสัตว์ที่ใช้อุปโภคบริโภคในพื้นที่
โดยการประชุมครั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี และอำเภอบางละมุง เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางละมุง ผู้ประกอบการค้าเนื้อสุกร และเจ้าของประกอบการโรงฆ่าสัตว์เข้าร่วมหารือ
นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า จากการที่โรงฆ่าสัตว์ของภาคเอกชน ในนาม บ.พัทยาสล็อตเตอร์เฮ้าส์ จะปิดทำการลง เนื่องจากประสบปัญหาภาวะขาดทุน ทำให้ผู้ประกอบการค้าหมูได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นทางเมืองพัทยาได้เสนอให้นำหมูไปชำแหละโรงฆ่าสัตว์ที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้แล้วชั่วคราว หลังจากนั้นให้ไปขออาชญาบัตรเป็นรายบุคคลที่กับเทศบาลเมืองหนองปรือ โดยในส่วนของเมืองพัทยาจะตั้งคณะทำงาน โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยาเป็นประธาน พร้อมคณะสมาชิกสภาเมืองพัทยา และผู้ที่เกี่ยวข้องคงร่วมพิจารณาและสำรวจว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่เหมาะสมในการจัดสร้างโรงเรือน แต่ที่จับตามองไว้คือที่ อบต.ตะเคียนเตี้ย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการกระจายโรงฆ่าสัตว์ในหลายจุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการควบคุมในเรื่องของความสะอาด ซึ่งจะควบคุมยากมาก จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกรายให้ความร่วมมือ อย่าให้มีกลิ่นหรือสิ่งสกปรกรบกวนบ้านเรือนข้างเคียง หากได้รับการร้องเรียนคงจะต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย
มีรายงานเพิ่มเติมว่า แต่เดิมเมื่อประมาณปี 2545 ที่ผ่านมา เมืองพัทยาได้ปิดกิจการโรงฆ่าสัตว์ไป โดยโอนย้ายผู้ประกอบการไปทำการฆ่าชำแหละที่โรงฆ่าของภาคเอกชนในนาม บ.สล๊อตเตอร์เฮ้าส์ ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ อ.บางละมุง
แต่ปรากฏว่า มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ยังดำเนินการฆ่าชำแหละโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่าย โดยภาครัฐไม่ได้เข้าไปดำเนินการควบคุมและแก้ไข จนทำให้ทางบริษัทประสพภาวะขาดทุน ก่อนประกาศปิดตัวลงในเดือนสิงหาคมนี้
อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขดังกล่าวยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจนและเมืองพัทยาเองก็ไม่อยากดำเนินการจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์ขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากหวั่นปัญหาเรื่องของมลพิษและปัญหาชุมชนซึ่งผิดกฎหมายที่กำหนดให้ทุกเทศบาลและเมืองต้องจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์เพื่อรองรับการฆ่าชำแหละ เพื่อนำเนื้อสัตว์มาจำหน่ายในพื้นที่ จึงได้ปัดความรับผิดชอบโดยให้ผู้ประกอบการไปฆ่าชำแหละเอง
โดยเมืองพัทยาจะประสานให้ไปทำการออกตั๋วค่าธรรมเนียมการฆ่าให้ แต่การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการประกอบกิจกรรมส่วนตัวที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของภาครัฐไปควบคุม ซึ่งอาจส่งผลให้คุณภาพของเนื้อต่ำลง
โดยเฉพาะกรณีของการใส่สารเคมีชนิดบอแรกซ์ เพื่อทำให้เนื้อแดง ซึ่งยากต่อการตรวจสอบ โดยเมืองพัทยาให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ เพื่อให้สามารถผลิตเนื้อหมูออกสู่ตลาดได้ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกรณีดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าอาจเกิดผลเสียขึ้นได้ในอนาคต