4 ภาคีห่วงโซ่อาหารไทยภาครัฐ-เอกชน ร่วมคลอด “ธรรมนูญอาหารปลอดภัย” ไร้เชื้อโรค สิ่งปนเปื้อนอันตราย ให้คนไทยบริโภคถ้วนหน้าตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงเมืองหลวง เป็นประเทศแรกในโลก มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 นี้ เผยตั้งเป้าภายใน 4 ปี ทุกชุมชนทั่วประเทศ ผลิตอาหารปลอดภัย ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2554
วันนี้ (24 พ.ย.) ที่โรงแรมมารวยการ์เด้นท์ กรุงเทพฯ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมรับรองธรรมนูญอาหารปลอดภัย ซึ่งจัดโดยสภาความร่วมมือเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหาร เป็นกติกาการทำงานร่วมกันระหว่างภาคียุทธศาสตร์ 4 ฝ่าย ของห่วงโซ่อาหารของประเทศไทย ได้แก่ ภาคีเครือข่ายภาครัฐ 4 กระทรวงหลักได้แก่ สาธารณสุข เกษตรฯ มหาดไทย และพาณิชย์ ภาคการผลิต ภาคการตลาด ภาคการบริโภค และอื่นๆที่เกี่ยวข้องรวม 19 องค์กร ที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือก่อตั้ง “สภาความร่วมมือเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหาร” เมื่อปลายเดือนมกราคม 2551 ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายวิชาญ กล่าวว่า การมีธรรมนูญอาหารปลอดภัยที่ประเทศไทยจัดทำขึ้นครั้งนี้นับเป็นผลดีต่อคนไทยจะได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย ไร้การปนเปื้อนเชื้อโรค สารอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งกติกาเช่นนี้ยังไม่เคยมีที่ใดในโลกมาก่อน และจะทำให้นโยบายอาหารปลอดภัยของรัฐบาลที่ต้องให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดีบรรลุผลสำเร็จ และยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคงในแง่เศรษฐกิจของประเทศ ที่ไทยจะเป็นครัวโลกผลิตและปรุงอาหารปลอดภัย จึงต้องอาศัยการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภค ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การผลิตระดับฟาร์ม การแปรรูป การจำหน่ายจนถึงผู้บริโภค
ทั้งนี้ ตลอด 5 ปีที่กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนอาหาร 6 ชนิดได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าเมลง ฟอร์มาลิน และสารกันรา พบการปนเปื้อนต่อเนื่องขึ้นๆลงๆ ความปลอดภัยไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ ยังมีการใช้สารพิษ เป็นอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค พบคนไข้เป็นมะเร็งสูงขึ้น ซึ่งธรรมนูญที่รับรองในวันนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ในการผลักดันนโยบายอาหารปลอดภัยต่อจากนี้ไป จะมีสภาความร่วมมือเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงอาหาร เป็นองค์กรกลางในระดับปฏิบัติที่จะช่วยขับเคลื่อนนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของประเทศให้ชุมชนทุกจังหวัด มีการผลิตอาหารปลอดภัยสู่ชุมชน เป็นผลดีต่อสุขภาพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ให้บรรลุผลภายในระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2551-2554 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ 84 พรรษา ในปี 2554
อย่างไรก็ดี สาระสำคัญในธรรมนูญความปลอดภัยด้านอาหาร กำหนดให้อาหารและสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับมนุษย์ต้องมีความปลอดภัย ไร้สิ่งปนเปื้อนต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1.จุลินทรีย์ก่อโรคหรือสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 2. มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปริมาณที่อาจเป็นเหตุให้เกิดอันตราย หรือสะสมในร่างกายที่ก่อให้เกิดโรคหรือผลกระทบต่อสุขภาพ 3.อาหารที่ได้ผลิต ปรุง ประกอบ บรรจุ ขนส่งหรือมีการเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ 4.อาหารที่ผลิตจากสัตว์ หรือผลผลิตจากสัตว์ต้องไม่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้ 5.อาหารที่ผลิตปรุง ประกอบจากสัตว์และพืช หรือผลผลิตจากสัตว์และพืชไม่มีสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะตกค้างในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ6.อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นนโยบายที่สำคัญมาตั้งแต่ปี 2546 มีโครงการที่สนับสนุนทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เช่น เด็กไทยฉลาดที่มีการเชื่อมโยงด้านอาหาร เรื่องก๋วยเตี๋ยวปลอดภัยทั่วประเทศ การพัฒนาตลาด ร้านอาหาร และส่งเสริมให้โรงพยาบาลทุกแห่งของกระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย
สำหรับผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารสดทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549-30 กันยายน 2550 มีการตรวจอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารแห้ง ฯลฯ จำนวน 78,968 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยจากการปนเปื้อน 6 ชนิด คือ สารเร่งเนื้อแดง สารฟอกขาว สารกันรา บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง พบอาหารมีการปนเปื้อนไม่ผ่านมาตรฐานเฉลี่ยร้อยละ 0.77 โดยสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูพบการปนเปื้อนมากที่สุด ไม่ผ่านมาตรฐานถึงร้อยละ 8
วันนี้ (24 พ.ย.) ที่โรงแรมมารวยการ์เด้นท์ กรุงเทพฯ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมรับรองธรรมนูญอาหารปลอดภัย ซึ่งจัดโดยสภาความร่วมมือเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหาร เป็นกติกาการทำงานร่วมกันระหว่างภาคียุทธศาสตร์ 4 ฝ่าย ของห่วงโซ่อาหารของประเทศไทย ได้แก่ ภาคีเครือข่ายภาครัฐ 4 กระทรวงหลักได้แก่ สาธารณสุข เกษตรฯ มหาดไทย และพาณิชย์ ภาคการผลิต ภาคการตลาด ภาคการบริโภค และอื่นๆที่เกี่ยวข้องรวม 19 องค์กร ที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือก่อตั้ง “สภาความร่วมมือเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหาร” เมื่อปลายเดือนมกราคม 2551 ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายวิชาญ กล่าวว่า การมีธรรมนูญอาหารปลอดภัยที่ประเทศไทยจัดทำขึ้นครั้งนี้นับเป็นผลดีต่อคนไทยจะได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย ไร้การปนเปื้อนเชื้อโรค สารอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งกติกาเช่นนี้ยังไม่เคยมีที่ใดในโลกมาก่อน และจะทำให้นโยบายอาหารปลอดภัยของรัฐบาลที่ต้องให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดีบรรลุผลสำเร็จ และยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคงในแง่เศรษฐกิจของประเทศ ที่ไทยจะเป็นครัวโลกผลิตและปรุงอาหารปลอดภัย จึงต้องอาศัยการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภค ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การผลิตระดับฟาร์ม การแปรรูป การจำหน่ายจนถึงผู้บริโภค
ทั้งนี้ ตลอด 5 ปีที่กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนอาหาร 6 ชนิดได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าเมลง ฟอร์มาลิน และสารกันรา พบการปนเปื้อนต่อเนื่องขึ้นๆลงๆ ความปลอดภัยไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ ยังมีการใช้สารพิษ เป็นอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค พบคนไข้เป็นมะเร็งสูงขึ้น ซึ่งธรรมนูญที่รับรองในวันนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ในการผลักดันนโยบายอาหารปลอดภัยต่อจากนี้ไป จะมีสภาความร่วมมือเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงอาหาร เป็นองค์กรกลางในระดับปฏิบัติที่จะช่วยขับเคลื่อนนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของประเทศให้ชุมชนทุกจังหวัด มีการผลิตอาหารปลอดภัยสู่ชุมชน เป็นผลดีต่อสุขภาพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ให้บรรลุผลภายในระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2551-2554 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ 84 พรรษา ในปี 2554
อย่างไรก็ดี สาระสำคัญในธรรมนูญความปลอดภัยด้านอาหาร กำหนดให้อาหารและสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับมนุษย์ต้องมีความปลอดภัย ไร้สิ่งปนเปื้อนต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1.จุลินทรีย์ก่อโรคหรือสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 2. มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปริมาณที่อาจเป็นเหตุให้เกิดอันตราย หรือสะสมในร่างกายที่ก่อให้เกิดโรคหรือผลกระทบต่อสุขภาพ 3.อาหารที่ได้ผลิต ปรุง ประกอบ บรรจุ ขนส่งหรือมีการเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ 4.อาหารที่ผลิตจากสัตว์ หรือผลผลิตจากสัตว์ต้องไม่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้ 5.อาหารที่ผลิตปรุง ประกอบจากสัตว์และพืช หรือผลผลิตจากสัตว์และพืชไม่มีสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะตกค้างในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ6.อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นนโยบายที่สำคัญมาตั้งแต่ปี 2546 มีโครงการที่สนับสนุนทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เช่น เด็กไทยฉลาดที่มีการเชื่อมโยงด้านอาหาร เรื่องก๋วยเตี๋ยวปลอดภัยทั่วประเทศ การพัฒนาตลาด ร้านอาหาร และส่งเสริมให้โรงพยาบาลทุกแห่งของกระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย
สำหรับผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารสดทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549-30 กันยายน 2550 มีการตรวจอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารแห้ง ฯลฯ จำนวน 78,968 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยจากการปนเปื้อน 6 ชนิด คือ สารเร่งเนื้อแดง สารฟอกขาว สารกันรา บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง พบอาหารมีการปนเปื้อนไม่ผ่านมาตรฐานเฉลี่ยร้อยละ 0.77 โดยสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูพบการปนเปื้อนมากที่สุด ไม่ผ่านมาตรฐานถึงร้อยละ 8