เตือนคนรักหมาระวัง “โรคหมาแท้ง” กำลังระบาดในสัตว์ สัตวแพทย์ ชี้ หมาเทศ 8 พันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, บัสเซ็ท ฮาวด์, เซนต์ เบอร์นาร์ด,ดัลเมเชี่ยน, โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ชิตสึ, พุดเดิ้ล และ พิตบูล สุดเสี่ยง ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน อย่าให้สุนัขกินเนื้อดิบ คลุกคลีกับหมาไม่มีหัวนอนปลายเท้า เผยแพร่เชื้อแบคทีเรียติดสู่คนได้ แต่ไม่ร้ายแรงรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ ขณะที่เชื้อแบคทีเรียบูลเซลลาจากรกวัว-นมแพะดิบ-เครื่องสำอางรกแกะ ดุกว่า หากติดเชื้อจากสัตว์ ส่งผลผู้ชาย อัณฑะโต บวม ผู้หญิงอาจถึงขั้นแท้งลูกได้
รศ.สพ.ญ.ดร.เกษกนก ศิรินฤมิตร อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องความชุกของโรคแท้งติดต่อในสุนัขในประเทศไทย โดยได้ทำการสำรวจโรคแท้งติดต่อสุนัขในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดในภาคกลาง จากตัวอย่างสุนัขที่เข้ารับการตรวจโรคแท้งติดต่อในโรงพยาบาลสัตว์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กำแพงแสน และหนองโพ จำนวน 339 ตัว โดยใช้การตรวจด้วยวิธีทางซีรัมวิทยา และวิธี STAT หรือ Standard Tube Agglutination และทางการแยกเพาะเชื้อบรูเซลลา เคนนิส (Brucella canis)จากเลือด โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างสุนัขออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นสุนัขที่มีปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 201 ตัว พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่ให้ผลบวกหมายความว่ามีการติดเชื้อจากการตรวจทางซีรัมวิทยา 40% จากการเพาะเชื้อ 11% และกลุ่มที่ไม่มีปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 138 ตัว ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยา 2.2% และจากการเพาะเชื้อ 1.4%
รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าวต่อว่า โรคแท้งติดต่อในสุนัขเรียกว่า โรคบลูเซลโลซิส (Brucellosis) เป็นโรคที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยมีโอกาสติดต่อโรคได้ในกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัข นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ โดยติดต่อจากการกิน การผสมพันธุ์ และ การสัมผัสสารคัดหลั่ง โดยโรคนี้มีการตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2509 ส่วนในประเทศไทยมีการตรวจพบและยืนยันเชื้อครั้งแรกเมื่อปี 2541 และพบการระบาดของโรคนี้ในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก
รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าวอีกว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อบรูเซลลา เคนนิส (Brucella canis) โดยปัจจุบันกลุ่มสายพันธุ์สุนัขที่สามารถตรวจพบเชื้อบรูเซลลา เคนนิส จากการเพาะเชื้อมีอยู่ 8 สายพันธุ์ คือ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, บัสเซ็ท ฮาวด์, เซนต์ เบอร์นาร์ด, ดัลเมเชี่ยน, โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ชิตสึ, พุดเดิ้ล และ พิตบูล การติดต่อของโรคในสัตว์เกิดจากการกินหรือเลียสารคัดหลั่งจากช่องคลอด กินเนื้อเยื่อของลูกที่แท้ง กินหรือเลียรกหรือน้ำคร่ำที่ออกมาจากการแท้ง กินน้ำนมของสุนัขที่ติดเชื้อ กินหรือเลียน้ำอสุจิของสุนัขเพศผู้ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะในน้ำปัสสาวะของสุนัขเพศผู้จะมีปริมาณเชื้อชนิดนี้สูงมาก นอกจากนี้ยังพบเชื้อได้ในน้ำลายและในโพรงจมูกของสุนัขที่ติดเชื้อ รวมทั้งมีการติดโรคจากการผสมพันธุ์ด้วย
“เมื่อสุนัขติดโรคแท้งติดต่อ จะทำให้เกิดปัญหาการผสมไม่ติด แท้งลูก อัณฑะหรือหนังหุ้มอัณฑะและท่อนำอสุจิอักเสบ หรืออาจพบการบวมขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลือง ม้ามโต ตับอักเสบ ลูกตาและม่านตาอักเสบ และมีการอักเสบของข้อต่อต่างๆ” รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าว
รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าวด้วยว่า โรคนี้มีรายงานว่า สามารถติดต่อมาสู่คนได้โดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัข นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้ในห้องปฎิบัติการ ผู้ที่คลุกคลีกับสุนัข โดยการติดเชื้อในคนจะมีอาการไม่แน่นอน เช่น อาจมีไข้ขึ้นๆลงๆโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการตัวสั่น ปวดศีรษะ ซึ่งโรคนี้ถ้าติดมาสู่คนสามารถรักษาได้ด้วยยาปฎิชีวนะ แต่ในสุนัขไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้ ที่สำคัญในประเทศไทยยังไม่มีวิธีการตรวจค้นหาโรคนี้ในคน จึงยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคแท้งติดต่อที่ติดเชื้อจากโรคแท้งติดต่อในสุนัข ส่วนในสุนัข การควบคุมปริมาณโรคแท้งติดต่อยังไม่มีวัคซีนที่จะใช้ในการป้องกัน วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ พยายามอย่าให้สุนัขไปคลุกคลีกับสุนัขอื่นที่ไม่ทราบประวัติ การสั่งซื้อหรือนำเข้าสุนัขจากต่างประเทศควรขอใบตรวจโรคยืนยันว่าปลอดภัยจากโรคนี้
อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มก.กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคแท้งติดต่อในสุนัขของประเทศไทยขณะนี้อยู่ในระดับของการระบาด ซึ่งขณะนี้คณะวิจัยของมก.กำลังศึกษาวิธีการรักษาโรค รวมทั้งมีโครงการที่จะศึกษาวิจัยพัฒนาวิธีการตรวจโรคโดยวิธีแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ พีซีอาร์ ซึ่งให้ความแม่นยำสูงเพื่อค้นหาโรคนี้ในคนด้วย
ด้าน นสพ.พลายยงค์ สการะเศรณี นายสัตวแพทย์ 9 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า กลุ่มแบคทีเรียบลูเซลลา (Brucella) จริงๆ แล้วมีหลายสายพันธุ์ ที่พบมาก คือ บลูเซลลา อะบอตัส(Brucella Abortus) ซึ่งพบมากในวัว บลูเซลลา ซูอิส (Brucella Suis) พบในสุกร และ บลูเซลลา เมลิเทนซิส (Brucella Melitensis)พบในแพะ และ แกะ ส่วนบลูเซลลา แคนนิส(Brucella Canis) เป็นสายพันธุ์ที่พบในสุนัข ซึ่งขอเตือนกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขถ้าไม่จำเป็นอย่านำเนื้อดิบ หรือ เครื่องในสัตว์ดิบๆมาให้สุนัขกิน ควรทำให้สุกก่อน ทั้งนี้มีรายงานยืนยันว่า แบคทีเรียเหล่านี้สามารถติดสู่คนได้ แต่เนื่องจากไม่มีการตรวจค้นหา จึงยังไม่มีรายงานว่ามีการติดสู่คนมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ที่ต้องระวังมาก คือ ชนิดที่พบในวัวและแพะหรือแกะ ซึ่งมีโอกาสติดสู่คนมากที่สุดและมีความรุนแรงของโรคมากที่สุด
น.สพ.พลายยงค์ กล่าวต่อว่า ถ้าคนได้รับเชื้อแบคทีเรียบลูเซลลา อะบอตัส จากวัว อาจทำให้เกิดอาการอัณฑะโตในผู้ชาย หรือ ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์หากได้รับเชื้อนี้ จะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูงมาก ขณะที่ถ้าติดเชื้อบลูเซลลา เมลิเทนซิส จากแพะหรือแกะ จะมีอาการไข้ขึ้นๆลงๆ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางรายที่เชื้อเข้าสู่ระบบประสาทอาจทำให้เกิดอาการซึม ส่วนใหญ่แล้วโรคที่เกิดจากเชื้อนี้ต้องตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการจึงจะรู้ว่าติดเชื้ออะไรมา ซึ่งถ้าไม่มีการตรวจวิเคราะห์เชื้อ แพทย์มักจะลงความเห็นว่า เป็นโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ
“ขอเตือนบรรดานักเปิบรกวัว ที่ขณะนี้นิยมกันมากทั้งในภาคกลางและภาคอีสาน ซึ่งขายในราคาที่แพง หรือแม้แต่การกินนมแพะดิบๆ การนำรกแกะมาใช้เป็นเครื่องสำอาง ให้ระวังอาจติดเชื้อชนิดนี้ได้ หากวัว แพะ หรือ แกะนั้นป่วยด้วยโรคบลูเซลโลซิส รวมทั้งผู้ที่ต้องคลุกคลีกับสัตว์อาจติดเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆของสัตว์ได้ ส่วนการกินนมแพะหรือนมวัว ควรกินนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือ สเตอร์ริไรซ์ก่อนจะปลอดภัยกว่า”น.สพ.พลายยงค์ กล่าว
รศ.สพ.ญ.ดร.เกษกนก ศิรินฤมิตร อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องความชุกของโรคแท้งติดต่อในสุนัขในประเทศไทย โดยได้ทำการสำรวจโรคแท้งติดต่อสุนัขในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดในภาคกลาง จากตัวอย่างสุนัขที่เข้ารับการตรวจโรคแท้งติดต่อในโรงพยาบาลสัตว์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กำแพงแสน และหนองโพ จำนวน 339 ตัว โดยใช้การตรวจด้วยวิธีทางซีรัมวิทยา และวิธี STAT หรือ Standard Tube Agglutination และทางการแยกเพาะเชื้อบรูเซลลา เคนนิส (Brucella canis)จากเลือด โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างสุนัขออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นสุนัขที่มีปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 201 ตัว พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่ให้ผลบวกหมายความว่ามีการติดเชื้อจากการตรวจทางซีรัมวิทยา 40% จากการเพาะเชื้อ 11% และกลุ่มที่ไม่มีปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 138 ตัว ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยา 2.2% และจากการเพาะเชื้อ 1.4%
รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าวต่อว่า โรคแท้งติดต่อในสุนัขเรียกว่า โรคบลูเซลโลซิส (Brucellosis) เป็นโรคที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยมีโอกาสติดต่อโรคได้ในกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัข นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ โดยติดต่อจากการกิน การผสมพันธุ์ และ การสัมผัสสารคัดหลั่ง โดยโรคนี้มีการตรวจพบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2509 ส่วนในประเทศไทยมีการตรวจพบและยืนยันเชื้อครั้งแรกเมื่อปี 2541 และพบการระบาดของโรคนี้ในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก
รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าวอีกว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อบรูเซลลา เคนนิส (Brucella canis) โดยปัจจุบันกลุ่มสายพันธุ์สุนัขที่สามารถตรวจพบเชื้อบรูเซลลา เคนนิส จากการเพาะเชื้อมีอยู่ 8 สายพันธุ์ คือ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, บัสเซ็ท ฮาวด์, เซนต์ เบอร์นาร์ด, ดัลเมเชี่ยน, โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ชิตสึ, พุดเดิ้ล และ พิตบูล การติดต่อของโรคในสัตว์เกิดจากการกินหรือเลียสารคัดหลั่งจากช่องคลอด กินเนื้อเยื่อของลูกที่แท้ง กินหรือเลียรกหรือน้ำคร่ำที่ออกมาจากการแท้ง กินน้ำนมของสุนัขที่ติดเชื้อ กินหรือเลียน้ำอสุจิของสุนัขเพศผู้ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะในน้ำปัสสาวะของสุนัขเพศผู้จะมีปริมาณเชื้อชนิดนี้สูงมาก นอกจากนี้ยังพบเชื้อได้ในน้ำลายและในโพรงจมูกของสุนัขที่ติดเชื้อ รวมทั้งมีการติดโรคจากการผสมพันธุ์ด้วย
“เมื่อสุนัขติดโรคแท้งติดต่อ จะทำให้เกิดปัญหาการผสมไม่ติด แท้งลูก อัณฑะหรือหนังหุ้มอัณฑะและท่อนำอสุจิอักเสบ หรืออาจพบการบวมขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลือง ม้ามโต ตับอักเสบ ลูกตาและม่านตาอักเสบ และมีการอักเสบของข้อต่อต่างๆ” รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าว
รศ.สพญ.ดร.เกษกนก กล่าวด้วยว่า โรคนี้มีรายงานว่า สามารถติดต่อมาสู่คนได้โดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัข นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้ในห้องปฎิบัติการ ผู้ที่คลุกคลีกับสุนัข โดยการติดเชื้อในคนจะมีอาการไม่แน่นอน เช่น อาจมีไข้ขึ้นๆลงๆโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการตัวสั่น ปวดศีรษะ ซึ่งโรคนี้ถ้าติดมาสู่คนสามารถรักษาได้ด้วยยาปฎิชีวนะ แต่ในสุนัขไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้ ที่สำคัญในประเทศไทยยังไม่มีวิธีการตรวจค้นหาโรคนี้ในคน จึงยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคแท้งติดต่อที่ติดเชื้อจากโรคแท้งติดต่อในสุนัข ส่วนในสุนัข การควบคุมปริมาณโรคแท้งติดต่อยังไม่มีวัคซีนที่จะใช้ในการป้องกัน วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ พยายามอย่าให้สุนัขไปคลุกคลีกับสุนัขอื่นที่ไม่ทราบประวัติ การสั่งซื้อหรือนำเข้าสุนัขจากต่างประเทศควรขอใบตรวจโรคยืนยันว่าปลอดภัยจากโรคนี้
อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มก.กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคแท้งติดต่อในสุนัขของประเทศไทยขณะนี้อยู่ในระดับของการระบาด ซึ่งขณะนี้คณะวิจัยของมก.กำลังศึกษาวิธีการรักษาโรค รวมทั้งมีโครงการที่จะศึกษาวิจัยพัฒนาวิธีการตรวจโรคโดยวิธีแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ พีซีอาร์ ซึ่งให้ความแม่นยำสูงเพื่อค้นหาโรคนี้ในคนด้วย
ด้าน นสพ.พลายยงค์ สการะเศรณี นายสัตวแพทย์ 9 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า กลุ่มแบคทีเรียบลูเซลลา (Brucella) จริงๆ แล้วมีหลายสายพันธุ์ ที่พบมาก คือ บลูเซลลา อะบอตัส(Brucella Abortus) ซึ่งพบมากในวัว บลูเซลลา ซูอิส (Brucella Suis) พบในสุกร และ บลูเซลลา เมลิเทนซิส (Brucella Melitensis)พบในแพะ และ แกะ ส่วนบลูเซลลา แคนนิส(Brucella Canis) เป็นสายพันธุ์ที่พบในสุนัข ซึ่งขอเตือนกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขถ้าไม่จำเป็นอย่านำเนื้อดิบ หรือ เครื่องในสัตว์ดิบๆมาให้สุนัขกิน ควรทำให้สุกก่อน ทั้งนี้มีรายงานยืนยันว่า แบคทีเรียเหล่านี้สามารถติดสู่คนได้ แต่เนื่องจากไม่มีการตรวจค้นหา จึงยังไม่มีรายงานว่ามีการติดสู่คนมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ที่ต้องระวังมาก คือ ชนิดที่พบในวัวและแพะหรือแกะ ซึ่งมีโอกาสติดสู่คนมากที่สุดและมีความรุนแรงของโรคมากที่สุด
น.สพ.พลายยงค์ กล่าวต่อว่า ถ้าคนได้รับเชื้อแบคทีเรียบลูเซลลา อะบอตัส จากวัว อาจทำให้เกิดอาการอัณฑะโตในผู้ชาย หรือ ถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์หากได้รับเชื้อนี้ จะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูงมาก ขณะที่ถ้าติดเชื้อบลูเซลลา เมลิเทนซิส จากแพะหรือแกะ จะมีอาการไข้ขึ้นๆลงๆ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางรายที่เชื้อเข้าสู่ระบบประสาทอาจทำให้เกิดอาการซึม ส่วนใหญ่แล้วโรคที่เกิดจากเชื้อนี้ต้องตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการจึงจะรู้ว่าติดเชื้ออะไรมา ซึ่งถ้าไม่มีการตรวจวิเคราะห์เชื้อ แพทย์มักจะลงความเห็นว่า เป็นโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ
“ขอเตือนบรรดานักเปิบรกวัว ที่ขณะนี้นิยมกันมากทั้งในภาคกลางและภาคอีสาน ซึ่งขายในราคาที่แพง หรือแม้แต่การกินนมแพะดิบๆ การนำรกแกะมาใช้เป็นเครื่องสำอาง ให้ระวังอาจติดเชื้อชนิดนี้ได้ หากวัว แพะ หรือ แกะนั้นป่วยด้วยโรคบลูเซลโลซิส รวมทั้งผู้ที่ต้องคลุกคลีกับสัตว์อาจติดเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆของสัตว์ได้ ส่วนการกินนมแพะหรือนมวัว ควรกินนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือ สเตอร์ริไรซ์ก่อนจะปลอดภัยกว่า”น.สพ.พลายยงค์ กล่าว