ศธ.ถอย ไม่เปลี่ยนชุดลูกเสือ เนตรนารี ไม่ต้องการซ้ำเติมผู้ปกครอง เผยเป็นเพียงขอเสนอของคณะทำงานเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสรุป เพราะ รมว.ศธ.ยังไม่ได้ลงนาม
นางจรวยพร ธรนินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือ พร้อมกับ นายบุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมออกกฎกระทรวงกำหนดเครื่องแบบลูกเสือใหม่ มาใช้แทนเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่า ในขณะนี้ ศธ.ยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงเครี่องแบบลูกเสือ เพียงเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายลูกจำนวน 34 ฉบับ เพื่อรองรับ พ.ร.บ.ลูกเสือ 2551 ที่ประกาศใช้แล้ว และเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน 34 เรื่องที่ต้องปรับปรุง ถ้าหากมีการเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือจะต้องออกเป็นกฎกระทรวงศึกษาธิการโดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม
ทั้งนี้ การปรับปรุงเครื่องแต่งกายลูกเสือ-เนตรนารี เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารลูกเสือต้องให้ความเห็นชอบ และข้อมูลที่ออกมาตามที่เป็นข่าวนั้น เป็นเพียงการประชุมเบื้องต้นของคณะทำงาน ยังไม่ใช่ข้อสิ้นสุดเพราะยังไม่มีการนำเสนอคณะกรรมการบริหารลูกเสือที่มี รมว.ศธ.เป็นประธาน
“ขณะนี้ ศธ.ยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงชุดลูกเสือ เนตรนารี คงใช้ชุดเดิมต่อไป ฉะนั้น จะไม่มีการพูดถึงราคาเครื่องแบบแต่อย่างใด และไม่มีการพูดถึงการผูกขาดการผลิตเครื่องแบบ และชุดที่ใช้ในปัจจุบันนี้ใช้มานานแล้ว ที่สำคัญ ยังสะท้อนถึงความเป็นลูกเสือไทย อีกทั้งไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมาเปลี่ยนชุดลูกเสือ เนตรนารี ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้น ศธ.จึงยังไม่มีนโยบายที่จะเปลี่ยนชุดลูกเสือ-เนตรนารี แต่อย่างใด เพราะไม่อยากให้กระทบประชาชน และไม่ต้องการไปซ้ำเติมผู้ปกครอง”
นางจรวยพร กล่าวเต่อว่า ปีการศึกษา 2551 ถือเป็นมิติใหม่ของวงการลูกเสือไทยเริ่มตั้งแต่มีการเปลี่ยน พ.ร.บ.ลูกเสือ ซึ่งใช้มานานกว่า 40 ปี และขณะนี้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคูณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้กำหนดให้กิจกรรมลูกเสือเป็นหนึ่งในกิจกรรมชี้วัดการประเมินด้านคุณธรรมความดีของนักเรียนด้วย พร้อมกันนี้ รมว.ศธ.ยังมีนโยบายที่จะพัฒนากิจการลูกเสือให้ดี จึงได้ประสานไปยังสำนักงบประมาณเพื่อพัฒนาค่ายลูกเสือทั่วประเทศจำนวน 38 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือ จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อขอรับฟังพระราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ลูกเสือ หรือไม่ นางจรวยพร กล่าวว่า ไม่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อขอพระราชวินิจฉัย เนื่องจากเรื่องนี้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารลูกเสือ ยกเว้นเรื่อง พ.ร.บ.และการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 80 คนเท่านั้นที่จะต้องฟังพระราชวินิจฉัยจากพระองค์
ด้าน นายบุญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า คณะทำงานได้หารือกันเรื่องเปลี่ยนเครื่องแบบ เพราะเครื่องแบบนี้ใช้มานาน 87 ปี แต่โลกในปัจจุบันมีวิวัฒนาการมากขึ้น แล้วคณะทำงานก็หวังดีอยากให้ชุดลูกเสือไทยมีความทันสมัย จึงเกิดแนวคิด 2 แนวคิดขึ้น ระหว่างจะอนุรักษ์ให้คงเดิม หรือจะพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้น
ส่วนแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนเคณะทำงานมองว่ามี 2 องค์ประกอบที่จะต้องดู คือ 1. เครื่องแต่งกายและเครื่องหมาย ซึ่งเป็นโลหะ โดยเฉพาะเครื่องหมายโลหะถ้าจะปรับเปลี่ยนควรเป็นผ้าและใช้วิธีปักติดเสื้อ จะปลอดภัยและประหยัดมากกว่าการใช้โลหะ เนื่องจากเด็กทำหลุดหายบ่อยผู้ปกครองจะต้องเสียเงินซื้อใหม่ ส่วนเรื่องความปลอดภัย เพราะระหว่างการทำกิจกรรมบางครั้งเข็มโลหะอาจจะทิ่มแทงลงไปบนเนื้อเด็กได้
ด้าน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนสัญลักษณ์ซึ่งเป็นโลหะมาใช้เป็นแบบผ้าปัก ต้องมาดูว่า เปลี่ยนแล้วประหยัดหรือไม่อย่างไร หากประหยัดและไม่มีผลกระทบ ไม่เดือดร้อน แล้วไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ก็สามารถทำได้ สำหรับเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ตนขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนเครื่องแบบในยามนี้
นางจรวยพร ธรนินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือ พร้อมกับ นายบุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมออกกฎกระทรวงกำหนดเครื่องแบบลูกเสือใหม่ มาใช้แทนเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่า ในขณะนี้ ศธ.ยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงเครี่องแบบลูกเสือ เพียงเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายลูกจำนวน 34 ฉบับ เพื่อรองรับ พ.ร.บ.ลูกเสือ 2551 ที่ประกาศใช้แล้ว และเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน 34 เรื่องที่ต้องปรับปรุง ถ้าหากมีการเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือจะต้องออกเป็นกฎกระทรวงศึกษาธิการโดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม
ทั้งนี้ การปรับปรุงเครื่องแต่งกายลูกเสือ-เนตรนารี เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารลูกเสือต้องให้ความเห็นชอบ และข้อมูลที่ออกมาตามที่เป็นข่าวนั้น เป็นเพียงการประชุมเบื้องต้นของคณะทำงาน ยังไม่ใช่ข้อสิ้นสุดเพราะยังไม่มีการนำเสนอคณะกรรมการบริหารลูกเสือที่มี รมว.ศธ.เป็นประธาน
“ขณะนี้ ศธ.ยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงชุดลูกเสือ เนตรนารี คงใช้ชุดเดิมต่อไป ฉะนั้น จะไม่มีการพูดถึงราคาเครื่องแบบแต่อย่างใด และไม่มีการพูดถึงการผูกขาดการผลิตเครื่องแบบ และชุดที่ใช้ในปัจจุบันนี้ใช้มานานแล้ว ที่สำคัญ ยังสะท้อนถึงความเป็นลูกเสือไทย อีกทั้งไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมาเปลี่ยนชุดลูกเสือ เนตรนารี ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้น ศธ.จึงยังไม่มีนโยบายที่จะเปลี่ยนชุดลูกเสือ-เนตรนารี แต่อย่างใด เพราะไม่อยากให้กระทบประชาชน และไม่ต้องการไปซ้ำเติมผู้ปกครอง”
นางจรวยพร กล่าวเต่อว่า ปีการศึกษา 2551 ถือเป็นมิติใหม่ของวงการลูกเสือไทยเริ่มตั้งแต่มีการเปลี่ยน พ.ร.บ.ลูกเสือ ซึ่งใช้มานานกว่า 40 ปี และขณะนี้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคูณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้กำหนดให้กิจกรรมลูกเสือเป็นหนึ่งในกิจกรรมชี้วัดการประเมินด้านคุณธรรมความดีของนักเรียนด้วย พร้อมกันนี้ รมว.ศธ.ยังมีนโยบายที่จะพัฒนากิจการลูกเสือให้ดี จึงได้ประสานไปยังสำนักงบประมาณเพื่อพัฒนาค่ายลูกเสือทั่วประเทศจำนวน 38 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือ จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อขอรับฟังพระราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ลูกเสือ หรือไม่ นางจรวยพร กล่าวว่า ไม่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อขอพระราชวินิจฉัย เนื่องจากเรื่องนี้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารลูกเสือ ยกเว้นเรื่อง พ.ร.บ.และการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 80 คนเท่านั้นที่จะต้องฟังพระราชวินิจฉัยจากพระองค์
ด้าน นายบุญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า คณะทำงานได้หารือกันเรื่องเปลี่ยนเครื่องแบบ เพราะเครื่องแบบนี้ใช้มานาน 87 ปี แต่โลกในปัจจุบันมีวิวัฒนาการมากขึ้น แล้วคณะทำงานก็หวังดีอยากให้ชุดลูกเสือไทยมีความทันสมัย จึงเกิดแนวคิด 2 แนวคิดขึ้น ระหว่างจะอนุรักษ์ให้คงเดิม หรือจะพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้น
ส่วนแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนเคณะทำงานมองว่ามี 2 องค์ประกอบที่จะต้องดู คือ 1. เครื่องแต่งกายและเครื่องหมาย ซึ่งเป็นโลหะ โดยเฉพาะเครื่องหมายโลหะถ้าจะปรับเปลี่ยนควรเป็นผ้าและใช้วิธีปักติดเสื้อ จะปลอดภัยและประหยัดมากกว่าการใช้โลหะ เนื่องจากเด็กทำหลุดหายบ่อยผู้ปกครองจะต้องเสียเงินซื้อใหม่ ส่วนเรื่องความปลอดภัย เพราะระหว่างการทำกิจกรรมบางครั้งเข็มโลหะอาจจะทิ่มแทงลงไปบนเนื้อเด็กได้
ด้าน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนสัญลักษณ์ซึ่งเป็นโลหะมาใช้เป็นแบบผ้าปัก ต้องมาดูว่า เปลี่ยนแล้วประหยัดหรือไม่อย่างไร หากประหยัดและไม่มีผลกระทบ ไม่เดือดร้อน แล้วไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ก็สามารถทำได้ สำหรับเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ตนขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนเครื่องแบบในยามนี้