หมากรุกไทย เป็นหนึ่งในกีฬาแบบไทยๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถือเป็นเกมกระดานที่ให้ทั้งความสนุกสนานและฝึกสมองได้ในเวลาเดียวกัน และในปัจจุบันนี้หมากรุกไทยจากที่เคยเล่นกันแต่ในกระดานก็ได้เพิ่มความสนุกสนานมากยิ่งขึ้นด้วยการเปลี่ยนวิธีการเล่นเป็น “หมากรุกคน” ที่นำเอาคนเป็นๆ มาแทนบรรดาตัวหมากทั้งหลาย ช่วยสร้างสีสันและความสนุกสนานบนกระดานหมากรุกขนาดใหญ่ยักษ์ที่ตีตารางโดยใช้สนามกว้างมาแทนกระดานหมากรุก กลายเป็นเกมส์กีฬาแบบไทยๆ ที่สร้างสีสันเรียกเสียงหัวเราะและความสนุกสนานจากกองเชียร์ได้ไม่แพ้กีฬาประเภทอื่นเลยทีเดียว
“หมากรุกคน” เป็นอีกหนึ่งในกีฬาไทยที่ถูกนำมาแสดงและได้สร้างความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างมาก ใน งานมหกรรมกีฬามหามงคล เทิดไท้กษัตริย์นักกีฬา ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร และการกีฬาแห่งประเทศไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “รวมพลังกีฬา 7 วัน สีสันมงคล” ซึ่งจัดขึ้น ณ สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ไปเมื่อเร็วๆ นี้
การแสดงดังกล่าวเป็นการรวมตัวกันของน้องๆ เยาวชนจากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่พร้อมใจกันมาสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมด้วยการนำเอาศิลปะพื้นบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็น กระบี่กระบอง แม่ไม้มวยไทย มามอบความสุขแบบมีสาระ พร้อมวาดลวดลายกันบนกระดานแผ่นใหญ่ยักษ์ โดยผู้เล่นแต่ละคนล้วนแต่งองค์ทรงเครื่องตามหมากของทั้งสองฝ่าย ซึ่งหมากรุกไทยจะมีตัวหมากทั้งหมด 6 ตัวด้วยกัน ได้แก่ ขุน หรือตัวแม่ทัพ โคน เปรียบเสมือนทหารเอกคู่ใจ หรือรองแม่ทัพ เม็ด เปรียบเสมือนทหารหน่วยทะลวงฟัน ม้า และ เรือ ซึ่งเปรียบเสมือนยานพาหนะ นอกจากนี้ยังมี เบี้ย ซึ่งเปรียบเสมือนพลทหารราบลุยเป็นกองทัพหน้า
เกมการแข่งขันบนกระดานหมากรุกเริ่มขึ้น เมื่อบรรดาหมากมีชีวิตทั้งหลายต่างเข้าประจำตำแหน่ง พร้อมกับเสียงดนตรีจากวงมโหรีปี่พาทย์ที่บรรเลง ช่วยสร้างความครื้นเครงให้กับบรรยากาศของคนดูโดยรอบสนาม หมากทุกตัวพร้อมเดินหน้าผลัดกันรุกผลัดกันกินตามคำสั่งของผู้นำทีม ความสนุกสนานของเกมและอรรถรสของการแข่งขัน “หมากรุกคน” มาจากคำสั่งและการบรรยายของคนพากย์ที่เต็มไปด้วยมุขตลกและลีลาการร่ายรำของหมากแต่ละตัวที่มีจุดเด่น และลีลาเฉพาะตัวช่วยสร้างเสียงหัวเราะจากผู้ชมรอบสนาม
ลองมาทำความรู้จักกับหมากมีชีวิตบนกระดาน ซึ่งล้วนเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ว่าเขาเหล่านี้ได้อะไรจากกีฬาประเภทนี้กันบ้าง นางสาวชลธร แซ่เฮง หรือน้องแตน สาวน้อยวัย 16 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ เล่าว่า
“หนูเล่นเป็น เบี้ย ค่ะ ด้วยการใช้ศิลปะการต่อสู้ของไทยอย่างกระบี่กระบองเข้ามาเพื่อเพิ่มรสชาติในการเดิน แล้วก็ใส่มุขเข้าไปเพื่อให้ผู้ชมสนุกสนานไปด้วยค่ะ หนูเริ่มชอบศิลปะการต่อสู้ของไทยมาตั้งแต่อยู่ชั้น ม.1 แล้ว ยิ่งได้มาเล่นก็ยิ่งชอบเพราะถือเป็นการออกกำลังกายที่ได้ทั้งสุขภาพ และศิลปะป้องกันตัวไปในเวลาเดียวกัน และที่สำคัญคือได้ทั้งรายได้จากการไปแสดงยังที่ต่างๆ และได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดเทอมค่ะ”
ทางด้าน นายณัฐวุฒิ อร่ามโรจน์สกุล หรือ น้องต้วน วัย 16 ปี ชั้นปวช. 1 จากพาณิชยการราชดำเนิน ถึงแม้จะเล่นได้เพียง 1 ปี ก็มีใจรักไม่แพ้กัน มาในบทบาทของ “ม้า” ซึ่งถือเป็นตัวสร้างสีสันเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากคนดูได้ทุกครั้งกับลีลาท่าทางการเต้น
“ผมเริ่มเล่นตั้งแต่อายุ 15 ปีครับ ถึงแม้จะเล่นได้แค่ 1 ปี แต่ผมก็ชอบ และรู้สึกสนุกมากเลยครับ เพราะถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปด้วยทั้ง มวยไทย และ กระบี่กระบอง ก็สามารถออกกำลังกายได้ครบทุกส่วนเลยครับ การเล่น “หมากรุกคน” ดูง่าย ได้ทั้งความบันเทิงสนุกสนาน และได้ฝึกสมองด้วยครับ ถือเป็นการผสมผสานเอาวัฒนธรรมแบบไทยๆ เข้าด้วยกัน อยากจะให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นต่อๆ ไปด้วยครับ”
มาที่หนุ่มใหญ่ในบทบาทของ “เรือ” อย่าง นายตี๋ หรือ นายศิริชัย จิรวรพิทักษ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศึกษาอยู่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอกคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
“หมากรุกคนก็เป็นการละเล่นที่สนุกสนานทั้งผู้เล่น แล้วก็ผู้ชม เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะการต่อสู้ บวกกับมุขนิดหน่อยก็สามารถทำให้เกมส์ที่เครียด ๆ กันอยู่ สนุกสนานได้ด้วยครับ และที่สำคัญผู้ที่เล่นเองยังได้ออกกำลังกายไปในตัวได้ด้วย อย่างผมได้ฝึกฝนบ่อยๆ ก็ทำให้ได้ออกกำลังกายมากขึ้น ถึงแม้ว่าผมจะอ้วนแต่ก็อ้วนอย่างสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บด้วยครับ”
ปิดท้ายที่ตัวเอกอย่าง “ขุน” รับบทโดย เบิร์ด หรือ นายกลวัชร สัญจรโคดสูง หนึ่งในสมาชิกจากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
“ขุน จะเป็นตัวใหญ่สุด และจะต้องมีตัวอื่นๆ มาป้องกัน เพราะฉะนั้นบุคลิกจะต้องดูน่าเกรงขาม นิ่งๆ แต่สง่างาม สำหรับหมากรุกคน ถือเป็นการละเล่นที่ใช้อาวุธครบทุกชิ้นทั้งอาวุธในร่างกาย อย่าง หมัด เข่า ศอก เต๊ะ ถีบ หัว หรือ อาวุธดาบ ก็สามารถนำมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้การแสดงออกมาได้อรรถรส และสนุกสนานมากยิ่งขึ้นครับ”
นับเป็นกลวิธีอันชาญฉลาดของการเผยแพร่ และสร้างการรับรู้ในกีฬาไทยๆ อย่างหมากรุกสู่กลุ่มเยาวชนคนรุนใหม่ ซึ่งในปัจจุบันเด็กไทยหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักกีฬาประเภทนี้เลยก็ว่าได้ ดังนั้นการเล่น “หมากรุกคน” จึงถือเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมการละเล่นแบบไทยพื้นบ้านอย่าง “หมากรุก” รวมไปถึงท่าทางการร่ายรำ และศิลปะการต่อสู้ในแบบแม่ไม้มวยไทยสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่กันได้ดียิ่งขึ้นนั้นเอง
“หมากรุกคน” เป็นอีกหนึ่งในกีฬาไทยที่ถูกนำมาแสดงและได้สร้างความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างมาก ใน งานมหกรรมกีฬามหามงคล เทิดไท้กษัตริย์นักกีฬา ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร และการกีฬาแห่งประเทศไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “รวมพลังกีฬา 7 วัน สีสันมงคล” ซึ่งจัดขึ้น ณ สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ไปเมื่อเร็วๆ นี้
การแสดงดังกล่าวเป็นการรวมตัวกันของน้องๆ เยาวชนจากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่พร้อมใจกันมาสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมด้วยการนำเอาศิลปะพื้นบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็น กระบี่กระบอง แม่ไม้มวยไทย มามอบความสุขแบบมีสาระ พร้อมวาดลวดลายกันบนกระดานแผ่นใหญ่ยักษ์ โดยผู้เล่นแต่ละคนล้วนแต่งองค์ทรงเครื่องตามหมากของทั้งสองฝ่าย ซึ่งหมากรุกไทยจะมีตัวหมากทั้งหมด 6 ตัวด้วยกัน ได้แก่ ขุน หรือตัวแม่ทัพ โคน เปรียบเสมือนทหารเอกคู่ใจ หรือรองแม่ทัพ เม็ด เปรียบเสมือนทหารหน่วยทะลวงฟัน ม้า และ เรือ ซึ่งเปรียบเสมือนยานพาหนะ นอกจากนี้ยังมี เบี้ย ซึ่งเปรียบเสมือนพลทหารราบลุยเป็นกองทัพหน้า
เกมการแข่งขันบนกระดานหมากรุกเริ่มขึ้น เมื่อบรรดาหมากมีชีวิตทั้งหลายต่างเข้าประจำตำแหน่ง พร้อมกับเสียงดนตรีจากวงมโหรีปี่พาทย์ที่บรรเลง ช่วยสร้างความครื้นเครงให้กับบรรยากาศของคนดูโดยรอบสนาม หมากทุกตัวพร้อมเดินหน้าผลัดกันรุกผลัดกันกินตามคำสั่งของผู้นำทีม ความสนุกสนานของเกมและอรรถรสของการแข่งขัน “หมากรุกคน” มาจากคำสั่งและการบรรยายของคนพากย์ที่เต็มไปด้วยมุขตลกและลีลาการร่ายรำของหมากแต่ละตัวที่มีจุดเด่น และลีลาเฉพาะตัวช่วยสร้างเสียงหัวเราะจากผู้ชมรอบสนาม
ลองมาทำความรู้จักกับหมากมีชีวิตบนกระดาน ซึ่งล้วนเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ว่าเขาเหล่านี้ได้อะไรจากกีฬาประเภทนี้กันบ้าง นางสาวชลธร แซ่เฮง หรือน้องแตน สาวน้อยวัย 16 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ เล่าว่า
“หนูเล่นเป็น เบี้ย ค่ะ ด้วยการใช้ศิลปะการต่อสู้ของไทยอย่างกระบี่กระบองเข้ามาเพื่อเพิ่มรสชาติในการเดิน แล้วก็ใส่มุขเข้าไปเพื่อให้ผู้ชมสนุกสนานไปด้วยค่ะ หนูเริ่มชอบศิลปะการต่อสู้ของไทยมาตั้งแต่อยู่ชั้น ม.1 แล้ว ยิ่งได้มาเล่นก็ยิ่งชอบเพราะถือเป็นการออกกำลังกายที่ได้ทั้งสุขภาพ และศิลปะป้องกันตัวไปในเวลาเดียวกัน และที่สำคัญคือได้ทั้งรายได้จากการไปแสดงยังที่ต่างๆ และได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดเทอมค่ะ”
ทางด้าน นายณัฐวุฒิ อร่ามโรจน์สกุล หรือ น้องต้วน วัย 16 ปี ชั้นปวช. 1 จากพาณิชยการราชดำเนิน ถึงแม้จะเล่นได้เพียง 1 ปี ก็มีใจรักไม่แพ้กัน มาในบทบาทของ “ม้า” ซึ่งถือเป็นตัวสร้างสีสันเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากคนดูได้ทุกครั้งกับลีลาท่าทางการเต้น
“ผมเริ่มเล่นตั้งแต่อายุ 15 ปีครับ ถึงแม้จะเล่นได้แค่ 1 ปี แต่ผมก็ชอบ และรู้สึกสนุกมากเลยครับ เพราะถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปด้วยทั้ง มวยไทย และ กระบี่กระบอง ก็สามารถออกกำลังกายได้ครบทุกส่วนเลยครับ การเล่น “หมากรุกคน” ดูง่าย ได้ทั้งความบันเทิงสนุกสนาน และได้ฝึกสมองด้วยครับ ถือเป็นการผสมผสานเอาวัฒนธรรมแบบไทยๆ เข้าด้วยกัน อยากจะให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นต่อๆ ไปด้วยครับ”
มาที่หนุ่มใหญ่ในบทบาทของ “เรือ” อย่าง นายตี๋ หรือ นายศิริชัย จิรวรพิทักษ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศึกษาอยู่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอกคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
“หมากรุกคนก็เป็นการละเล่นที่สนุกสนานทั้งผู้เล่น แล้วก็ผู้ชม เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะการต่อสู้ บวกกับมุขนิดหน่อยก็สามารถทำให้เกมส์ที่เครียด ๆ กันอยู่ สนุกสนานได้ด้วยครับ และที่สำคัญผู้ที่เล่นเองยังได้ออกกำลังกายไปในตัวได้ด้วย อย่างผมได้ฝึกฝนบ่อยๆ ก็ทำให้ได้ออกกำลังกายมากขึ้น ถึงแม้ว่าผมจะอ้วนแต่ก็อ้วนอย่างสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บด้วยครับ”
ปิดท้ายที่ตัวเอกอย่าง “ขุน” รับบทโดย เบิร์ด หรือ นายกลวัชร สัญจรโคดสูง หนึ่งในสมาชิกจากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
“ขุน จะเป็นตัวใหญ่สุด และจะต้องมีตัวอื่นๆ มาป้องกัน เพราะฉะนั้นบุคลิกจะต้องดูน่าเกรงขาม นิ่งๆ แต่สง่างาม สำหรับหมากรุกคน ถือเป็นการละเล่นที่ใช้อาวุธครบทุกชิ้นทั้งอาวุธในร่างกาย อย่าง หมัด เข่า ศอก เต๊ะ ถีบ หัว หรือ อาวุธดาบ ก็สามารถนำมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้การแสดงออกมาได้อรรถรส และสนุกสนานมากยิ่งขึ้นครับ”
นับเป็นกลวิธีอันชาญฉลาดของการเผยแพร่ และสร้างการรับรู้ในกีฬาไทยๆ อย่างหมากรุกสู่กลุ่มเยาวชนคนรุนใหม่ ซึ่งในปัจจุบันเด็กไทยหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักกีฬาประเภทนี้เลยก็ว่าได้ ดังนั้นการเล่น “หมากรุกคน” จึงถือเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมการละเล่นแบบไทยพื้นบ้านอย่าง “หมากรุก” รวมไปถึงท่าทางการร่ายรำ และศิลปะการต่อสู้ในแบบแม่ไม้มวยไทยสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่กันได้ดียิ่งขึ้นนั้นเอง