สธ.เปิดฤดูกาลสกัดไข้เลือดออกช่วงระบาดหนัก ปล่อยคาราวานกำจัดยุงลาย 4 ภาค ให้ อสม.นำทัพเคาะประตูบ้านให้ความรู้ กระตุ้นชาวบ้านกำจัดยุงลายในบ้าน ยึด 4 ป.คือ ปิด เปลี่ยน ปล่อย และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวังไม่ให้เกิดการระบาดในชุมชน ชี้ สถานการณ์ไข้เลือดออกปีนี้น่าห่วง ป่วยแล้ว 13,943 ราย เสียชีวิต 16 ราย สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 72
วันนี้ (15 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการรณรงค์ไข้เลือดออก ปี 2551 โดยมีพิธีมอบสารในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ อสม.และปล่อยขบวนรถคาราวานกำจัดยุงลาย ออกรณรงค์พร้อมกันทั้ง 4 ภาคทั่วไทย โดยในวันนี้ ตัวแทน อสม.ทั่วประเทศ จำนวน 500 คน ได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมจัดการปัญหาไข้เลือดออก กระตุ้นประชาชนทุกคนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชนของตนเอง
นายไชยา กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปีนี้น่าห่วงมาก มีแนวโน้มระบาดมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา จากฝนที่มาเร็ว และตกต่อเนื่องเป็นช่วงๆ ทำให้มีน้ำขังในภาชนะต่างๆ รอบบ้าน และจากสภาวะโลกร้อนที่ทำให้ลูกน้ำกลายเป็นยุงตัวแก่เร็วขึ้น ทำให้มียุงลายชุมขึ้น มีโอกาสนำเชื้อได้มากขึ้น ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2550-10 พฤษภาคม 2551 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้ว 13,943 ราย เสียชีวิต 16 ราย ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณอาทิตย์ละ 1,000 ราย นับว่าสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และสูงกว่าปี 2550 ถึงร้อยละ 72 ภาคกลางมีผู้ป่วยมากที่สุด 8,094 ราย รองลงมาคือภาคใต้ 2,373 ราย ภาคเหนือ 2,155 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,321 ราย ส่วนกทม.พบผู้ป่วย 1,966 ราย
นายไชยา กล่าวต่อว่า ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ทุกปี เป็นช่วงที่ไข้เลือดออกจะระบาดสูงที่สุด เพื่อลดความรุนแรงโรค ได้มอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด และ อสม. เน้นหนักกำจัดยุงลายลงให้มากที่สุด โดยให้รณรงค์กวาดล้างแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน วัด ศาสนสถาน แหล่งท่องเที่ยว รีสอร์ตต่างๆ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีอนามัยและบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดซ้ำซาก และให้ทำอย่างเข้มข้นตลอดฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปจนถึงสิงหาคม ได้ขอให้ อสม.กว่า 800,000 คนทั่วประเทศ ที่เป็นกำลังหลักในชุมชน รณรงค์เคาะประตูบ้านให้ความรู้และกระตุ้นประชาชนทุกครัวเรือน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุก 7 วัน มั่นใจว่า ถ้าทุกหลังคาเรือนพร้อมใจช่วยกัน ปริมาณยุงลายจะลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง โอกาสที่คนจะถูกยุงลายกัดก็จะน้อยลงด้วย
“มาตรการในการรณรงค์กำจัดยุงลายพร้อมกันทั่วประเทศครั้งนี้ เน้น 4 ป. คือ ปิดฝาโอ่งให้มิดชิด โอ่งที่ไม่ได้ใช้ให้คว่ำไว้ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ในโอ่ง/ถังเก็บน้ำใช้ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งเฝ้าระวังคนในครัวเรือน หากพบผู้ป่วยสงสัยเป็นไข้เลือดออกให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และรีบรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อให้หน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงควบคุมแหล่งแพร่เชื้อภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง รวมทั้งให้สถานพยาบาลทุกแห่งเตรียมความพร้อม ทั้งแพทย์ที่ดูแลผู้ใหญ่ และแพทย์ที่ดูแลเด็ก พยาบาล และอุปกรณ์ที่จำเป็น ให้พร้อมในการรักษาผู้ป่วย”นายไชยา กล่าว
ด้าน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับในพื้นที่ที่พบการระบาดสูง จำนวน 37 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง กระทรวงสาธารณสุขได้จัดอบรมความรู้แก่ อสม.แกนนำ จำนวน 500 คนอย่างเข้มข้น เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมทั้งไข้หวัดนกด้วย ในลักษณะฐานการเรียนรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป
นอกจากนี้ ได้ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทำเอกสารให้ความรู้สิ่งที่ประชาชนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อปลอดภัยจากไข้เลือดออก คือ คุณนะทำ “อสม.เคาะประตูบ้าน ร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก” บอกวิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การควบคุมยุงลาย การป้องกันไม่ให้ยุงกัด และการเฝ้าระวังคนป่วยในบ้าน พร้อมแบบประเมินความเสี่ยง จำนวน 1,000,000 แผ่น ให้ อสม.นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนติดไว้ที่บ้านทุกหลัง เป็นแนวทางให้ชาวบ้านปฏิบัติตาม พร้อมทั้งชักชวนชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาสำรวจ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านของตนเอง หลังจากนั้น 7 วันให้อสม.ลงไปสำรวจซ้ำและประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชน แจ้งผลให้เจ้าของบ้านทราบ และรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการของชุมชนต่อไป เชื่อว่าน่าจะทำให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่ายุงที่อยู่ตามท่อระบายน้ำเป็นยุงลาย รอให้เจ้าหน้าที่มาพ่นหมอกควันฆ่ายุง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะยุงตามท่อระบายน้ำเป็นยุงรำคาญ ไม่ใช่ยุงลายที่เป็นสาเหตุโรคไข้เลือดออก ยุงลายจะอยู่ในบ้าน ชอบกัดคนเวลากลางวัน แต่กลางคืนก็อาจกัดได้ หากยังกินเลือดไม่อิ่ม เพาะพันธุ์ในน้ำสะอาด ใส ที่ขังนิ่งตามภาชนะต่างๆ ในบริเวณบ้าน ทุกคนจึงสามารถกำจัดยุงลายได้ด้วยตนเอง วิธีที่ได้ผลดีที่สุด ง่ายที่สุดคือไม่ให้ยุงลายมีที่วางไข่แพร่พันธุ์ต่อไป โดยคอยสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุก 7 วันต่อเนื่อง
“ขอให้คอยสังเกตอาการของคนในบ้าน หากมีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ถ้าไข้สูงให้กินยาพาราเซตตามอล ห้ามกินยาลดไข้ชนิดอื่น โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด ยาไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ อาการหนักมากขึ้น จนช็อคหรือตับวายได้ หากป่วยมีไข้สูงลอยติดต่อกันประมาณ 3 วัน กินยาแล้วไข้ไม่ลด ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก หรือหลังไข้ลดแล้วยังอ่อนเพลีย ซึมลง กระสับกระส่าย ปวดท้อง อาเจียน กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง โดยเฉพาะในเด็ก ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายว่าอาจเกิดอาการช็อก ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที” นพ.ปราชญ์ กล่าว
วันนี้ (15 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการรณรงค์ไข้เลือดออก ปี 2551 โดยมีพิธีมอบสารในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ อสม.และปล่อยขบวนรถคาราวานกำจัดยุงลาย ออกรณรงค์พร้อมกันทั้ง 4 ภาคทั่วไทย โดยในวันนี้ ตัวแทน อสม.ทั่วประเทศ จำนวน 500 คน ได้ประกาศเจตนารมณ์ร่วมจัดการปัญหาไข้เลือดออก กระตุ้นประชาชนทุกคนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชนของตนเอง
นายไชยา กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปีนี้น่าห่วงมาก มีแนวโน้มระบาดมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา จากฝนที่มาเร็ว และตกต่อเนื่องเป็นช่วงๆ ทำให้มีน้ำขังในภาชนะต่างๆ รอบบ้าน และจากสภาวะโลกร้อนที่ทำให้ลูกน้ำกลายเป็นยุงตัวแก่เร็วขึ้น ทำให้มียุงลายชุมขึ้น มีโอกาสนำเชื้อได้มากขึ้น ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2550-10 พฤษภาคม 2551 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้ว 13,943 ราย เสียชีวิต 16 ราย ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณอาทิตย์ละ 1,000 ราย นับว่าสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และสูงกว่าปี 2550 ถึงร้อยละ 72 ภาคกลางมีผู้ป่วยมากที่สุด 8,094 ราย รองลงมาคือภาคใต้ 2,373 ราย ภาคเหนือ 2,155 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,321 ราย ส่วนกทม.พบผู้ป่วย 1,966 ราย
นายไชยา กล่าวต่อว่า ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ทุกปี เป็นช่วงที่ไข้เลือดออกจะระบาดสูงที่สุด เพื่อลดความรุนแรงโรค ได้มอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด และ อสม. เน้นหนักกำจัดยุงลายลงให้มากที่สุด โดยให้รณรงค์กวาดล้างแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน วัด ศาสนสถาน แหล่งท่องเที่ยว รีสอร์ตต่างๆ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีอนามัยและบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดซ้ำซาก และให้ทำอย่างเข้มข้นตลอดฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปจนถึงสิงหาคม ได้ขอให้ อสม.กว่า 800,000 คนทั่วประเทศ ที่เป็นกำลังหลักในชุมชน รณรงค์เคาะประตูบ้านให้ความรู้และกระตุ้นประชาชนทุกครัวเรือน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุก 7 วัน มั่นใจว่า ถ้าทุกหลังคาเรือนพร้อมใจช่วยกัน ปริมาณยุงลายจะลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง โอกาสที่คนจะถูกยุงลายกัดก็จะน้อยลงด้วย
“มาตรการในการรณรงค์กำจัดยุงลายพร้อมกันทั่วประเทศครั้งนี้ เน้น 4 ป. คือ ปิดฝาโอ่งให้มิดชิด โอ่งที่ไม่ได้ใช้ให้คว่ำไว้ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ในโอ่ง/ถังเก็บน้ำใช้ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งเฝ้าระวังคนในครัวเรือน หากพบผู้ป่วยสงสัยเป็นไข้เลือดออกให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และรีบรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อให้หน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงควบคุมแหล่งแพร่เชื้อภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง รวมทั้งให้สถานพยาบาลทุกแห่งเตรียมความพร้อม ทั้งแพทย์ที่ดูแลผู้ใหญ่ และแพทย์ที่ดูแลเด็ก พยาบาล และอุปกรณ์ที่จำเป็น ให้พร้อมในการรักษาผู้ป่วย”นายไชยา กล่าว
ด้าน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับในพื้นที่ที่พบการระบาดสูง จำนวน 37 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง กระทรวงสาธารณสุขได้จัดอบรมความรู้แก่ อสม.แกนนำ จำนวน 500 คนอย่างเข้มข้น เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมทั้งไข้หวัดนกด้วย ในลักษณะฐานการเรียนรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป
นอกจากนี้ ได้ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทำเอกสารให้ความรู้สิ่งที่ประชาชนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อปลอดภัยจากไข้เลือดออก คือ คุณนะทำ “อสม.เคาะประตูบ้าน ร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก” บอกวิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การควบคุมยุงลาย การป้องกันไม่ให้ยุงกัด และการเฝ้าระวังคนป่วยในบ้าน พร้อมแบบประเมินความเสี่ยง จำนวน 1,000,000 แผ่น ให้ อสม.นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนติดไว้ที่บ้านทุกหลัง เป็นแนวทางให้ชาวบ้านปฏิบัติตาม พร้อมทั้งชักชวนชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาสำรวจ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านของตนเอง หลังจากนั้น 7 วันให้อสม.ลงไปสำรวจซ้ำและประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชน แจ้งผลให้เจ้าของบ้านทราบ และรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการของชุมชนต่อไป เชื่อว่าน่าจะทำให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่ายุงที่อยู่ตามท่อระบายน้ำเป็นยุงลาย รอให้เจ้าหน้าที่มาพ่นหมอกควันฆ่ายุง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะยุงตามท่อระบายน้ำเป็นยุงรำคาญ ไม่ใช่ยุงลายที่เป็นสาเหตุโรคไข้เลือดออก ยุงลายจะอยู่ในบ้าน ชอบกัดคนเวลากลางวัน แต่กลางคืนก็อาจกัดได้ หากยังกินเลือดไม่อิ่ม เพาะพันธุ์ในน้ำสะอาด ใส ที่ขังนิ่งตามภาชนะต่างๆ ในบริเวณบ้าน ทุกคนจึงสามารถกำจัดยุงลายได้ด้วยตนเอง วิธีที่ได้ผลดีที่สุด ง่ายที่สุดคือไม่ให้ยุงลายมีที่วางไข่แพร่พันธุ์ต่อไป โดยคอยสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุก 7 วันต่อเนื่อง
“ขอให้คอยสังเกตอาการของคนในบ้าน หากมีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ถ้าไข้สูงให้กินยาพาราเซตตามอล ห้ามกินยาลดไข้ชนิดอื่น โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด ยาไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ อาการหนักมากขึ้น จนช็อคหรือตับวายได้ หากป่วยมีไข้สูงลอยติดต่อกันประมาณ 3 วัน กินยาแล้วไข้ไม่ลด ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก หรือหลังไข้ลดแล้วยังอ่อนเพลีย ซึมลง กระสับกระส่าย ปวดท้อง อาเจียน กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง โดยเฉพาะในเด็ก ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายว่าอาจเกิดอาการช็อก ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที” นพ.ปราชญ์ กล่าว