ศธ.รับผลการเรียนของเด็ก 3 จ.ใต้ต่ำกว่าแห่งอื่น เหตุความไม่สงบในพื้นที่ เร่งประสานทหาร ตำรวจ คุ้มครองครู-นักเรียน ช่วงเปิดเทอม ด้าน “อมรวิชช์” แนะสร้างเครือข่ายชุมชน หวังเป็นเกราะปกป้องครูนักเรียน พร้อมปรับการเรียนการสอนให้เกิดความหลากหลาย ผสมกับวิชาชีพ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนา ชายแดนใต้ : วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ปัญหาที่รอทางออก ว่า ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ในส่วนของการศึกษา ขณะนี้ได้ให้ 5 องค์กรหลักของ ศธ.เข้าไปร่วมกับกระทรวงอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อย่างเช่น การให้เด็กมีงานทำ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นผู้ดูแล โดยให้เด็กมีรายได้ระหว่างปิดภาคเรียนและในวันเสาร์ อาทิตย์ ช่วงเปิดเทอม สำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จะดูแลเกี่ยวกับด้านหลักสูตร และสำนักงานปลัด ศธ.จะดูแลโครงการวิจัยและพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา นายพงศกร กล่าวว่า ยอมรับว่า ถ้าหากนำผลการศึกษาของ 3 จ.ชายแดนภาคใต้มาเปรียบเทียบกับนอกพื้นที่อื่นๆ วันนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณภาพการศึกษาของ 3 จ.ชายแดนภาคใต้ด้อยกว่าแห่งอื่น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ มีปัญหาการขาดแคลนครู สื่อการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เราแก้ปัญหาการขาดแคลนครูด้วยวิธีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คาดว่าวิธีดังกล่าวจะส่งผลให้ผลการศึกษาของเด็ก 3 จ.ชายแดนใต้ในมีแนวโน้มดีขึ้น
“ใกล้เปิดเทอมหวั่นเกิดเหตุร้ายแรงในพื้นที่ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็มีความห่วงความปลอดภัยของครูและนักเรียน จึงจะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ เข้ามาดูแลด้านความปลอดภัยให้ครู นักเรียน และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ครูได้ปฏิบัติการสอนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย”นายพงศกร กล่าว
ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา ว่า ปัญหาการจัดการศึกษาใน 3 จ.ชายแดนภาคใต้ มีปัญหาภาพซ้อนภาพ มีปัญหาเรื่องความไม่มั่นคงในพื้นที่ โรงเรียนเปิดสอน 200 วันเพราะต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบก็ต้องปิดโรงเรียนและหยุดการเรียนการสอนเป็นระยะ ปีหนึ่งต้องหยุดไป 30-40 วันทำให้เด็กได้เรียนไม่เต็มที่ ที่ผ่านมามีผู้ก่อความไม่สงบมาเผาโรงเรียนมากกว่า 200 แห่ง ครูถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บ และบางรายเสียชีวิตกว่า 200 คน ทั้งๆ ที่ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการให้ลูกมีการศึกษาที่ดี ศธ.ต้องมีระบบการจัดการศึกษาให้ตอบสนองกับความต้องการของประชาชน ให้นำวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาใช้ควบคู่ในการศึกษาด้วย
“โจทย์สำคัญเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา เราต้องทำแบบบูรณาการการศึกษาไปพร้อมกัน วิชาการ วัฒนธรรม ภาษา และการจัดระบบการเรียนการสอนทั้งในระดับประถม และมัธยมนั้นจะต้องมีหลากลหายรูปแบบ ไม่ใช่จัดอย่างเดียว อย่างการจัดการศึกษาในภาคใต้ จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา และควรสอดแทรกวิชาชีพเพื่อให้เขานำไปประกอบอาชีพได้ด้วย”
สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ 3 จ.ชายแดนใต้นั้น ควรมีเครือข่ายผู้ปกครอง ครู โรงเรียน เป็นกำลังสำคัญ ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เครือข่ายคือคนในชุมชนและเข้าต้องการเห็นลูกหลานของพวกเขามีการศึกษาที่ดี ดังนั้น เขาจะเป็นเกราะปกป้องโรงเรียนและครู
นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนา ชายแดนใต้ : วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ปัญหาที่รอทางออก ว่า ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ในส่วนของการศึกษา ขณะนี้ได้ให้ 5 องค์กรหลักของ ศธ.เข้าไปร่วมกับกระทรวงอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อย่างเช่น การให้เด็กมีงานทำ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นผู้ดูแล โดยให้เด็กมีรายได้ระหว่างปิดภาคเรียนและในวันเสาร์ อาทิตย์ ช่วงเปิดเทอม สำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จะดูแลเกี่ยวกับด้านหลักสูตร และสำนักงานปลัด ศธ.จะดูแลโครงการวิจัยและพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา นายพงศกร กล่าวว่า ยอมรับว่า ถ้าหากนำผลการศึกษาของ 3 จ.ชายแดนภาคใต้มาเปรียบเทียบกับนอกพื้นที่อื่นๆ วันนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณภาพการศึกษาของ 3 จ.ชายแดนภาคใต้ด้อยกว่าแห่งอื่น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ มีปัญหาการขาดแคลนครู สื่อการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เราแก้ปัญหาการขาดแคลนครูด้วยวิธีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คาดว่าวิธีดังกล่าวจะส่งผลให้ผลการศึกษาของเด็ก 3 จ.ชายแดนใต้ในมีแนวโน้มดีขึ้น
“ใกล้เปิดเทอมหวั่นเกิดเหตุร้ายแรงในพื้นที่ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็มีความห่วงความปลอดภัยของครูและนักเรียน จึงจะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ เข้ามาดูแลด้านความปลอดภัยให้ครู นักเรียน และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ครูได้ปฏิบัติการสอนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย”นายพงศกร กล่าว
ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา ว่า ปัญหาการจัดการศึกษาใน 3 จ.ชายแดนภาคใต้ มีปัญหาภาพซ้อนภาพ มีปัญหาเรื่องความไม่มั่นคงในพื้นที่ โรงเรียนเปิดสอน 200 วันเพราะต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบก็ต้องปิดโรงเรียนและหยุดการเรียนการสอนเป็นระยะ ปีหนึ่งต้องหยุดไป 30-40 วันทำให้เด็กได้เรียนไม่เต็มที่ ที่ผ่านมามีผู้ก่อความไม่สงบมาเผาโรงเรียนมากกว่า 200 แห่ง ครูถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บ และบางรายเสียชีวิตกว่า 200 คน ทั้งๆ ที่ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการให้ลูกมีการศึกษาที่ดี ศธ.ต้องมีระบบการจัดการศึกษาให้ตอบสนองกับความต้องการของประชาชน ให้นำวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาใช้ควบคู่ในการศึกษาด้วย
“โจทย์สำคัญเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา เราต้องทำแบบบูรณาการการศึกษาไปพร้อมกัน วิชาการ วัฒนธรรม ภาษา และการจัดระบบการเรียนการสอนทั้งในระดับประถม และมัธยมนั้นจะต้องมีหลากลหายรูปแบบ ไม่ใช่จัดอย่างเดียว อย่างการจัดการศึกษาในภาคใต้ จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา และควรสอดแทรกวิชาชีพเพื่อให้เขานำไปประกอบอาชีพได้ด้วย”
สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ 3 จ.ชายแดนใต้นั้น ควรมีเครือข่ายผู้ปกครอง ครู โรงเรียน เป็นกำลังสำคัญ ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เครือข่ายคือคนในชุมชนและเข้าต้องการเห็นลูกหลานของพวกเขามีการศึกษาที่ดี ดังนั้น เขาจะเป็นเกราะปกป้องโรงเรียนและครู