สธ.ชะลอไอเดียแป้ก “ไชยา” ทำประกันชีวิตหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดชายแดนใต้ เหตุอาจไม่คุ้มค่า ด้านรองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้เห็นด้วย ไม่คุ้มแน่ บริษัทประกันกินเปล่า หากจะช่วยระดมทุนเงินเข้ากองทุนที่มีอยู่ดีกว่า
พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องแนวคิดในการทำประกันภัยให้กับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 จังหวัด และบางพื้นที่ จ.สงขลา นั้นได้ชะลอออกไป เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากในเรื่องของประโยชน์มีอย่างแน่นอน แต่เรื่องความคุ้มทุนยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งก็มีหลายความคิดเห็นว่าอาจไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับการนำเงินเข้ากองทุนในโครงการระดมน้ำใจสู่ชาวสาธารณสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้จะคุ้มมากกว่า
“ทั้งนี้ หากจะมีการดำเนินการทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติ เนื่องจากงบประมาณตามปกติไม่สามารถนำไปซื้อประกันชีวิตได้ ทั้งนี้ หากนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.หน่วยงานอื่นที่มีเจ้าหน้าในสังกัด อย่างครู อาจารย์ที่อยู่ในพื้นที่ ก็ต้องการความปลอดภัยในชีวิตจากภาครัฐด้วยเช่นกัน เรื่องดังกล่าวในส่วนของสธ.จึงเหมือนว่าจะชะลอออกไปด้วยเช่นกัน เพราะ สธ.ก็มีภารกิจหลายอย่างต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน”พญ.ศิริพร กล่าว
นพ.สุภัทร์ ฮาสุวรรณกิจ รองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ กล่าวว่า ในปี 2550 เป็นปีที่รุนแรงที่สุดมีผู้เสียชีวิตที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขจำนวน 6 ราย สธ.มีกองทุนช่วยเหลือฯได้จัดสรรเงินช่วยเหลือไปแล้วกว่า 7 แสนบาท และหากรวมกับศูนย์องค์การบริหารสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก รวมแล้วผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือ 7.5 แสนบาท แต่หากมีการนำไปทำประกันชีวิตกับบริษัท ปีละ 40 ล้านบาท ถือว่าไม่คุ้มค่า
“ขอบคุณในความปรารถนาดีของผู้บริหารที่สนใจในเรื่องการสร้างขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขในพื้นที่ แต่ถ้าจำนวนเงินมากมายถึง 40 ล้านบาท หากนำข้อมูลความรุนแรงปีที่ผ่านมา ว่า มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตายมากที่สุด คือ 6 ราย เท่ากับว่า จะได้รับเงินประมาณ 6.5 ล้านบาท แต่ถ้านำเงินนี้ไปทำประกันชีวิตก็คงได้ไม่เกินคนละ 5 แสนบาท ถือว่าไม่คุ้มค่า คนที่ประโยชน์คือบริษัทประกันชีวิตที่ได้ไปกินเปล่า”นพ.สุภัทร์ กล่าว
นพ.สุภัทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุนช่วยเหลือที่ตั้งขึ้นในสมัย นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สธ.เมื่อ มิ.ย.2550 ที่มีเงินบริจาคแล้วกว่า 6.3 ล้านบาท โดยจะช่วยเหลือให้ผู้เสียชีวิตที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรายละประมาณ 1 แสนบาท หากผู้บริหารเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือ จะเป็นการดีหากจะมีการระดมทุนเช่นเดียวกับปีก่อน เพื่อให้เงินในกองทุนฯเพิ่มขึ้น สัดส่วนเงินในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุจะได้เพิ่มขึ้นด้วย
“ขณะเดียวกัน เงินที่มาช่วยเหลือก็ควรเอามาช่วยเหลือทุกคนในพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ประสบเหตุเท่านั้น อาจเป็นในรูปแบบการให้โบนัสเพิ่มเติม หรือเป็นทุนการศึกษาสำหรับบุตรธิดาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน”นพ.สุภัทร์ กล่าว
พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องแนวคิดในการทำประกันภัยให้กับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 จังหวัด และบางพื้นที่ จ.สงขลา นั้นได้ชะลอออกไป เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากในเรื่องของประโยชน์มีอย่างแน่นอน แต่เรื่องความคุ้มทุนยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งก็มีหลายความคิดเห็นว่าอาจไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับการนำเงินเข้ากองทุนในโครงการระดมน้ำใจสู่ชาวสาธารณสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้จะคุ้มมากกว่า
“ทั้งนี้ หากจะมีการดำเนินการทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติ เนื่องจากงบประมาณตามปกติไม่สามารถนำไปซื้อประกันชีวิตได้ ทั้งนี้ หากนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.หน่วยงานอื่นที่มีเจ้าหน้าในสังกัด อย่างครู อาจารย์ที่อยู่ในพื้นที่ ก็ต้องการความปลอดภัยในชีวิตจากภาครัฐด้วยเช่นกัน เรื่องดังกล่าวในส่วนของสธ.จึงเหมือนว่าจะชะลอออกไปด้วยเช่นกัน เพราะ สธ.ก็มีภารกิจหลายอย่างต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน”พญ.ศิริพร กล่าว
นพ.สุภัทร์ ฮาสุวรรณกิจ รองประธานชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ กล่าวว่า ในปี 2550 เป็นปีที่รุนแรงที่สุดมีผู้เสียชีวิตที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขจำนวน 6 ราย สธ.มีกองทุนช่วยเหลือฯได้จัดสรรเงินช่วยเหลือไปแล้วกว่า 7 แสนบาท และหากรวมกับศูนย์องค์การบริหารสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก รวมแล้วผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือ 7.5 แสนบาท แต่หากมีการนำไปทำประกันชีวิตกับบริษัท ปีละ 40 ล้านบาท ถือว่าไม่คุ้มค่า
“ขอบคุณในความปรารถนาดีของผู้บริหารที่สนใจในเรื่องการสร้างขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขในพื้นที่ แต่ถ้าจำนวนเงินมากมายถึง 40 ล้านบาท หากนำข้อมูลความรุนแรงปีที่ผ่านมา ว่า มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตายมากที่สุด คือ 6 ราย เท่ากับว่า จะได้รับเงินประมาณ 6.5 ล้านบาท แต่ถ้านำเงินนี้ไปทำประกันชีวิตก็คงได้ไม่เกินคนละ 5 แสนบาท ถือว่าไม่คุ้มค่า คนที่ประโยชน์คือบริษัทประกันชีวิตที่ได้ไปกินเปล่า”นพ.สุภัทร์ กล่าว
นพ.สุภัทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุนช่วยเหลือที่ตั้งขึ้นในสมัย นพ.มงคล ณ สงขลา อดีต รมว.สธ.เมื่อ มิ.ย.2550 ที่มีเงินบริจาคแล้วกว่า 6.3 ล้านบาท โดยจะช่วยเหลือให้ผู้เสียชีวิตที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรายละประมาณ 1 แสนบาท หากผู้บริหารเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือ จะเป็นการดีหากจะมีการระดมทุนเช่นเดียวกับปีก่อน เพื่อให้เงินในกองทุนฯเพิ่มขึ้น สัดส่วนเงินในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุจะได้เพิ่มขึ้นด้วย
“ขณะเดียวกัน เงินที่มาช่วยเหลือก็ควรเอามาช่วยเหลือทุกคนในพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ประสบเหตุเท่านั้น อาจเป็นในรูปแบบการให้โบนัสเพิ่มเติม หรือเป็นทุนการศึกษาสำหรับบุตรธิดาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน”นพ.สุภัทร์ กล่าว