ปลัด สธ.มอบนโยบายนายแพทย์ สสจ.-ผอ.รพ. ป้ายแดง น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระเจ้าอยู่หัว “เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ละทิ้งจิตใจต่ำทราม” เป็นแนวปฏิบัติงาน เพื่อมอบบริการทางการแพทย์ดีที่สุดแก่ประชาชน และเป็นนักประสาน เปิดประตูบ้านให้หน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมพัฒนา แก้ปัญหาภาคบริการ ทั้งภาวะปกติและวิกฤต
วันนี้ (6 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กทม. นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก เปิดการปฐมนิเทศนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ จำนวน 26 คน พัฒนาความรู้ด้านการบริหารงานแนวใหม่ เพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป เป็นองค์กรสาธารณสุขขนาดใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน มีความซับซ้อนในการบริหารจัดการทั้งบุคลากรผู้ปฏิบัติงานหลากหลายสาขาวิชาชีพภายในหน่วยงาน และดูแลรับผิดชอบในการจัดบริการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก โดยขอให้ผู้บริหารใหม่ทุกคน น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานโดยให้รู้ตระหนักในการเสียสละที่สำคัญ 2 ประการ คือ สละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอันยิ่งใหญ่ และเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตัวประการหนึ่ง กับสละความคิดจิตใจที่ต่ำทรามต่างๆ อีกประการหนึ่ง จึงจะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของคนทั้งปวง และสามารถดำรงตำแหน่งหน้าที่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี และเจริญมั่นคงต่อไป
นอกจากนี้ นพ.ปราชญ์ ยังได้เน้นย้ำให้ผู้บริหารใหม่ต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการ คือ 1. เป็นผู้มีความเสียสละ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงกับรายได้ 2.มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติการทำงานโดยทุจริตเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป 3.มีจิตใจดี จดจ่อต่อความสุขของส่วนรวม ทำงานให้กับชุมชนและท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ก็รุกงานสาธารณสุขลงสู่พื้นที่ ให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพ ประการสุดท้าย จะต้องเป็นนักประสานที่ดีกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น และภาคเอกชน เพื่อระดมพลังในการร่วมแก้ไขพัฒนาสุขภาพประชาชนในพื้นที่
“เนื่องจากปัญหาสุขภาพประชาชนขณะนี้เกิดขึ้นอย่างซับซ้อน มีต้นเหตุและผลกระทบมาจากหลายสาเหตุ การแก้ไขต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นร่วมกันจัดการ วางแผนควบคุม ป้องกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการบริการทางการแพทย์แก่ประชาชนภาวะปกติและฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม และยังจะสามารถแก้ไขและคลี่คลายปัญหาการฟ้องร้องทางการแพทย์จากการให้บริการได้ด้วย” นพ.ปราชญ์ กล่าว
วันนี้ (6 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กทม. นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก เปิดการปฐมนิเทศนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ จำนวน 26 คน พัฒนาความรู้ด้านการบริหารงานแนวใหม่ เพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป เป็นองค์กรสาธารณสุขขนาดใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน มีความซับซ้อนในการบริหารจัดการทั้งบุคลากรผู้ปฏิบัติงานหลากหลายสาขาวิชาชีพภายในหน่วยงาน และดูแลรับผิดชอบในการจัดบริการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก โดยขอให้ผู้บริหารใหม่ทุกคน น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานโดยให้รู้ตระหนักในการเสียสละที่สำคัญ 2 ประการ คือ สละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอันยิ่งใหญ่ และเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตัวประการหนึ่ง กับสละความคิดจิตใจที่ต่ำทรามต่างๆ อีกประการหนึ่ง จึงจะเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของคนทั้งปวง และสามารถดำรงตำแหน่งหน้าที่อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี และเจริญมั่นคงต่อไป
นอกจากนี้ นพ.ปราชญ์ ยังได้เน้นย้ำให้ผู้บริหารใหม่ต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการ คือ 1. เป็นผู้มีความเสียสละ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงกับรายได้ 2.มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติการทำงานโดยทุจริตเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป 3.มีจิตใจดี จดจ่อต่อความสุขของส่วนรวม ทำงานให้กับชุมชนและท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ก็รุกงานสาธารณสุขลงสู่พื้นที่ ให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพ ประการสุดท้าย จะต้องเป็นนักประสานที่ดีกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น และภาคเอกชน เพื่อระดมพลังในการร่วมแก้ไขพัฒนาสุขภาพประชาชนในพื้นที่
“เนื่องจากปัญหาสุขภาพประชาชนขณะนี้เกิดขึ้นอย่างซับซ้อน มีต้นเหตุและผลกระทบมาจากหลายสาเหตุ การแก้ไขต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นร่วมกันจัดการ วางแผนควบคุม ป้องกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการบริการทางการแพทย์แก่ประชาชนภาวะปกติและฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม และยังจะสามารถแก้ไขและคลี่คลายปัญหาการฟ้องร้องทางการแพทย์จากการให้บริการได้ด้วย” นพ.ปราชญ์ กล่าว