โพลชี้ครอบครัวไทยใกล้วิกฤต เกินครึ่งเป็นทาส เหล้า-บุหรี่ เกือบ 13% ผีพนันสิง 7 ใน 100 เคยคิดอยากฆ่าตัวตายเพราะปัญหาครอบครัว เกินครึ่งยืนยันความรักสามัคคีในครอบครัวสำคัญ แต่ 42% เห็นว่าชีวิตนี้ไม่มีความสุขแน่ถ้าขาดเงิน ด้านอ.สมพงษ์ เตือนอย่าห่วงแค่ตัวเลขหย่าร้าง เร่งรัฐบาลทำนโยบายสังคม จิตแพทย์หวั่น เศรษฐกิจแย่-หลงวัตถุ ผลักคนไทยเป็นเหยื่อ เหล้า-บุหรี่-การพนัน
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีการแถลงข่าวเรื่อง “สายใยรัก ยังมีหรือไม่ เนื่องในวันครอบครัว 14 เม.ย.” โดย นายวันชัย บุญประชา ผจก.มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ร่วมกับ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ สำรวจ “สุขภาวะครอบครัวปี 51” ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 12-60 ปี 1,332 คน เขตกทม. และปริมณฑล พบ ส่วนใหญ่ 45.5% เป็นครอบครัวเล็กมีสมาชิก 4-5 คน เกินครึ่งบอกว่าในครอบครัวมีคนดื่มเหล้า และเกือบครึ่งบอกมีคนสูบบุหรี่ อีก 12.7% ระบุว่าคนในบ้านเล่นการพนัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างอยากให้เลิกมากที่สุด รองลงมา 20.6% คือรับฟังความคิดเห็นคนอื่นบ้าง
“ในรอบ 1 ปี 30% บอกในครอบครัวเคยขัดแย้งถึงขั้นทะเลาะกัน 21.4% เคยรู้สึกถูกทอดทิ้ง 42% บอกว่าเคยเครียดกดดันเพราะคนในบ้าน 21% เคยอยากหนีออกจากบ้าน ที่น่าห่วง 7 ใน 100 คน เคยคิดอยากฆ่าตัวตาย เพราะปัญหาครอบครัว 17.2% ไม่เคยได้กำลังใจจากคนในบ้าน เกือบครึ่งอยากได้ ความรัก เข้าใจ อบอุ่น กำลังใจ มากที่สุด ส่วนลูกเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทุกอย่าง ทำให้สบายใจ เป็นแรงจูงใจให้ทำเพื่อครอบครัวมากที่สุด แต่เป็นบุคคลที่ห่วงที่สุดเช่นกัน ขณะที่สามีและภรรยาเป็นแรงจูงใจได้น้อยมากเพียง 5% วิธีแสดงความรักกับลูกมากที่สุดคือกอด หอมแก้ม ส่วนลูกแสดงด้วยการดูแล ปรนนิบัติพ่อแม่เมื่อมีเวลา และในวันครอบครัวนี้ 40.5% จะทำกิจกรรมพิเศษร่วมกัน” นายวันชัย กล่าว
ผจก.มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวอีกว่า กลุ่มตัวอย่าง 30% เห็นว่าคนอื่นในบ้านอุทิศตัวเพื่อครอบครัวไม่เต็มที่ และถึงมีปัญหาแต่ 79.2% มั่นใจว่าครอบครัวรักกันแน่นแฟ้น สิ่งที่อยากทำเพื่อครอบครัวมากที่สุด 26% มีเงินให้ครอบครัว ตามด้วย 15.3% ให้ความรักความอบอุ่น ซึ่งสิ่งที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข 53.2% ยืนยันว่าคือความรักสามัคคี ขณะที่การขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่มีความสุขสูงสุด 42.1% โดย เกิน 1 ใน 4 มีรายได้ไม่เกิน 5 พันบาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ 42.1% มีรายได้ 5 พัน- 1 หมื่นบาท ไม่ถึง 10% ที่ได้เกิน 2 หมื่นบาท 55.5% มีรายได้พอๆกับรายจ่าย เกือบ 20% มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย คนไทย 51.2% ยังหวังว่าอีก 1 ปี สถานการณ์เศรษฐกิจจะดีขึ้น 36.2% คิดว่าเหมือนเดิม 12.6% เชื่อว่าจะแย่ลงไปอีก
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลการวิจัยนี้สะท้อนข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิด ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีลักษณะครอบครัวขนาดเล็ก รายได้ไม่พอใช้ แต่กลับมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของเหล้า บุหรี่ การพนัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความตึงเครียดขัดแย้ง ทำให้คนในครอบครัวไม่มีความสุข สภาพสังคมที่มีรายได้น้อย ปัญหาเยอะ ทำให้ปัญหาอาชญากรรมตามมา สังคมจึงกลายเป็นสังคมอมทุกข์ อมปัญหา
“ในวันครอบครัว ผมไม่อยากให้พูดแค่ว่ามีอัตราการหย่าร้างเท่าไหร่ อยากเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข็มแข็งให้ครอบครัว ไม่ใช่แค่การรดน้ำดำหัว การหารายได้เทศกาลสงกรานต์ที่ถนนข้าวสาร แต่ควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้ครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวไทยอ่อนแอลง คือการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ ทำให้ไม่มีนโยบายภาคสังคม ที่จะดูแลเรื่องบุหรี่ เหล้า การพนันอย่างจริงจัง” นายสมพงษ์ กล่าว
พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า การใช้ชีวิตของครอบครัวปัจจุบันยากขึ้น เพราะวิถีชีวิตและโครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป ปัจจัยภายนอกทำให้ครอบครัวอ่อนแอลง ทั้งสถานะเศรษฐกิจ ภาระที่ต้องรับผิดชอบ สื่อต่างๆ ที่ดึงคนในครอบครัวออกจากกัน ทำให้การสื่อสารภายในครอบครัวน้อยลง แต่ปัญหาใด ก็ไม่น่าห่วงเท่ากับการพึ่งพา เหล้า บุหรี่ การพนันของคนในครอบครัว ที่จะกระตุ้นให้ทุกปัญหาร้ายแรงมากขึ้น การใช้เหตุผลจะน้อยลง การใช้อารมณ์เพิ่มขึ้น
“สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่รายได้น้อย ทุกคนอยู่ด้วยความคาดหวัง อยากมีอยากได้วัตถุ จะผลักให้คนเข้าไปสู่วงจรของเหล้า บุหรี่ การพนันมากขึ้น เพื่อระบายความเครียด แต่มันช่วยแค่ชั่วคราว สิ่งที่ตามมา คือ การเสพติด แม้จะไม่ใช่ทุกคนที่ติดก็ตาม เมื่อมีเรื่องเหล่านี้มากเกี่ยวข้อง ทุกคนในบ้านจะเครียด กดดัน ยิ่งถ้าคนที่เป็นแกนนำของครอบครัวมีพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะกระทบต่อจิตใจคนที่เหลือ ซึ่งเหล้า บุหรี่ การพนัน คือตัวการสำคัญที่จะทำลายครอบครัว” พญ.พรรณพิมล กล่าว
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีการแถลงข่าวเรื่อง “สายใยรัก ยังมีหรือไม่ เนื่องในวันครอบครัว 14 เม.ย.” โดย นายวันชัย บุญประชา ผจก.มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ร่วมกับ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ สำรวจ “สุขภาวะครอบครัวปี 51” ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 12-60 ปี 1,332 คน เขตกทม. และปริมณฑล พบ ส่วนใหญ่ 45.5% เป็นครอบครัวเล็กมีสมาชิก 4-5 คน เกินครึ่งบอกว่าในครอบครัวมีคนดื่มเหล้า และเกือบครึ่งบอกมีคนสูบบุหรี่ อีก 12.7% ระบุว่าคนในบ้านเล่นการพนัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างอยากให้เลิกมากที่สุด รองลงมา 20.6% คือรับฟังความคิดเห็นคนอื่นบ้าง
“ในรอบ 1 ปี 30% บอกในครอบครัวเคยขัดแย้งถึงขั้นทะเลาะกัน 21.4% เคยรู้สึกถูกทอดทิ้ง 42% บอกว่าเคยเครียดกดดันเพราะคนในบ้าน 21% เคยอยากหนีออกจากบ้าน ที่น่าห่วง 7 ใน 100 คน เคยคิดอยากฆ่าตัวตาย เพราะปัญหาครอบครัว 17.2% ไม่เคยได้กำลังใจจากคนในบ้าน เกือบครึ่งอยากได้ ความรัก เข้าใจ อบอุ่น กำลังใจ มากที่สุด ส่วนลูกเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทุกอย่าง ทำให้สบายใจ เป็นแรงจูงใจให้ทำเพื่อครอบครัวมากที่สุด แต่เป็นบุคคลที่ห่วงที่สุดเช่นกัน ขณะที่สามีและภรรยาเป็นแรงจูงใจได้น้อยมากเพียง 5% วิธีแสดงความรักกับลูกมากที่สุดคือกอด หอมแก้ม ส่วนลูกแสดงด้วยการดูแล ปรนนิบัติพ่อแม่เมื่อมีเวลา และในวันครอบครัวนี้ 40.5% จะทำกิจกรรมพิเศษร่วมกัน” นายวันชัย กล่าว
ผจก.มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวอีกว่า กลุ่มตัวอย่าง 30% เห็นว่าคนอื่นในบ้านอุทิศตัวเพื่อครอบครัวไม่เต็มที่ และถึงมีปัญหาแต่ 79.2% มั่นใจว่าครอบครัวรักกันแน่นแฟ้น สิ่งที่อยากทำเพื่อครอบครัวมากที่สุด 26% มีเงินให้ครอบครัว ตามด้วย 15.3% ให้ความรักความอบอุ่น ซึ่งสิ่งที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข 53.2% ยืนยันว่าคือความรักสามัคคี ขณะที่การขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่มีความสุขสูงสุด 42.1% โดย เกิน 1 ใน 4 มีรายได้ไม่เกิน 5 พันบาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ 42.1% มีรายได้ 5 พัน- 1 หมื่นบาท ไม่ถึง 10% ที่ได้เกิน 2 หมื่นบาท 55.5% มีรายได้พอๆกับรายจ่าย เกือบ 20% มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย คนไทย 51.2% ยังหวังว่าอีก 1 ปี สถานการณ์เศรษฐกิจจะดีขึ้น 36.2% คิดว่าเหมือนเดิม 12.6% เชื่อว่าจะแย่ลงไปอีก
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลการวิจัยนี้สะท้อนข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิด ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีลักษณะครอบครัวขนาดเล็ก รายได้ไม่พอใช้ แต่กลับมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของเหล้า บุหรี่ การพนัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความตึงเครียดขัดแย้ง ทำให้คนในครอบครัวไม่มีความสุข สภาพสังคมที่มีรายได้น้อย ปัญหาเยอะ ทำให้ปัญหาอาชญากรรมตามมา สังคมจึงกลายเป็นสังคมอมทุกข์ อมปัญหา
“ในวันครอบครัว ผมไม่อยากให้พูดแค่ว่ามีอัตราการหย่าร้างเท่าไหร่ อยากเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข็มแข็งให้ครอบครัว ไม่ใช่แค่การรดน้ำดำหัว การหารายได้เทศกาลสงกรานต์ที่ถนนข้าวสาร แต่ควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้ครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวไทยอ่อนแอลง คือการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ ทำให้ไม่มีนโยบายภาคสังคม ที่จะดูแลเรื่องบุหรี่ เหล้า การพนันอย่างจริงจัง” นายสมพงษ์ กล่าว
พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า การใช้ชีวิตของครอบครัวปัจจุบันยากขึ้น เพราะวิถีชีวิตและโครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป ปัจจัยภายนอกทำให้ครอบครัวอ่อนแอลง ทั้งสถานะเศรษฐกิจ ภาระที่ต้องรับผิดชอบ สื่อต่างๆ ที่ดึงคนในครอบครัวออกจากกัน ทำให้การสื่อสารภายในครอบครัวน้อยลง แต่ปัญหาใด ก็ไม่น่าห่วงเท่ากับการพึ่งพา เหล้า บุหรี่ การพนันของคนในครอบครัว ที่จะกระตุ้นให้ทุกปัญหาร้ายแรงมากขึ้น การใช้เหตุผลจะน้อยลง การใช้อารมณ์เพิ่มขึ้น
“สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่รายได้น้อย ทุกคนอยู่ด้วยความคาดหวัง อยากมีอยากได้วัตถุ จะผลักให้คนเข้าไปสู่วงจรของเหล้า บุหรี่ การพนันมากขึ้น เพื่อระบายความเครียด แต่มันช่วยแค่ชั่วคราว สิ่งที่ตามมา คือ การเสพติด แม้จะไม่ใช่ทุกคนที่ติดก็ตาม เมื่อมีเรื่องเหล่านี้มากเกี่ยวข้อง ทุกคนในบ้านจะเครียด กดดัน ยิ่งถ้าคนที่เป็นแกนนำของครอบครัวมีพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะกระทบต่อจิตใจคนที่เหลือ ซึ่งเหล้า บุหรี่ การพนัน คือตัวการสำคัญที่จะทำลายครอบครัว” พญ.พรรณพิมล กล่าว