“สมพงษ์” เผยรัฐบาลไฟเขียวปราบยาเสพติดขั้นเด็ดขาด ระบุเหตุระบาดหนักเพราะรัฐบาลขิงแก่เกียร์ว่างไม่สนใจปัญหายาเสพติด ขณะเดียวกัน ครม.นอมินี ขจัดเสี้ยน คมช. ปลด “ไพบูลย์-สพรั่ง-ประกิจ-วัลลภ” พ้นเก้าอี้ กก.ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ป.ป.ส. อ้างเพื่อความเหมาะสม พร้อมตั้ง “อนุพงษ์-สวัสดิ์-วุฒิ-โกสินทร์” นั่งแทน
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติด อย่างจริงจังของรัฐบาลว่า การปราบปรามยาเสพติดเป็นแนวทางที่รัฐบาล มีความเข้มงวดอยู่แล้ว แต่ต่อจากนี้ต้องเข้มงวดกว่าเดิม อย่างไรก็ตามแนวทางปฏิบัติขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียด แต่ในวันศุกร์ที่ 21 มี.ค.นี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเป็นประธานในการประชุม ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้จะเป็นวาระแห่งชาติเพราะเป็นการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน ส่วนเรื่องของเงินรางวัลนำจับนั้นมีอยู่แล้ว แต่ในเรื่องของตัวเลขยังไม่ได้มีการกำหนด ทั้งนี้ยังคงมองผู้เสพเป็นผู้ป่วยเหมือนเดิม ซึ่งการคุยกันว่าบางทีผู้เสพหายป่วยแล้วกลับมาเสพใหม่กำลังคิดว่าจะแก้ไขอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า นโยบายเป็นแนวทางเดียวกับพรรคไทยรักไทยเคยดำเนินการ ใช่หรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า อันนี้ตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้มีการประชุม เพราะตนไม่ทราบแนวทางของแต่ละหน่วยงานเป็นอย่างไร แต่ในส่วนของกระทรวงยุติธรรม จะใช้เอาแนวทางของสรรพากร ,ป.ป.ง. ที่จะมีการตรวจสอบในทางลับกับญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงที่อยู่ใกล้เคียงกับผู้ค้ายาเสพติดด้วย
ส่วนพื้นที่ทีมีปัญหายาเสพติดรุนแรงนั้น นายสมพงษ์ กล่าวว่า ความจริงมีทั่วไปหมดทั้งกทม.และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเพราะมีปัญหาเยอะ สิ่งที่เป็นห่วงคือช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมาไม่มีการทำอะไรเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้นเมื่อมาจัดใหม่อาจจะเดือดร้อนและอึดอัดหน่อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า สถานการณ์ใต้รุนแรงขึ้นมีกรณียาเสพติดเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า เป็นมานานปีกว่าแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งมาเกิด ฉะนั้นนำมาเกี่ยวข้องกันดูจะไม่ค่อยเหมาะสม ซึ่ง 3 จังหวัดภาคใต้ตนจะลงไปในพื้นที่แต่ต้องรอให้ผ่าน การประชุมในวันที่ 21 มี.ค.นี้เสียก่อนจะพิจารณาอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะทำอย่างไรไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการฆ่าตัดตอนหรือเจ้าหน้าที่ ทำรุนแรง รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ความจริงคำว่าฆ่าตัดตอนมันไม่ใช่รัฐบาลฆ่า แต่เขาฆ่าตัดตอนกันเอง พอเขารู้ว่าคนคนนี้จะโดนสอบสวนก็กลัวจะซัดทอดจึงจัดการเสียก่อน แต่บางกรณีก็ไม่มีเรื่องอะไรหมั่นไส้กันก็ฆ่ากันตายก็กลายเป็นเรื่องฆ่าตัดตอน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงและกำลังดูแลกันอยู่ อย่างไรก็ตามแนวทางต่างๆ อยู่ในแผนที่เราจะพิจารณากันเพราะเรารับฟัง
ด้าน น.ส.วีรินทิรา นาทองบ่อจรัส รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม.อนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) เสนอให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ขณะนั้น) 2.นายประกิจ ประจนปัจจนึก เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 3.พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม 4.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
และอนุมัติแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ดังต่อไปนี้ 1.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก 2.พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ 3. พล.ต.ท.วุฒิ วิทิตานนท์ จเรตำรวจ (สบ 8 ) 4.นายโกสินทร์ เกษทอง ทั้งนี้ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งเพิ่ม จะครบวาระการดำรงตำแหน่งพร้อมกรรมการชุดเดิมในวันที่ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551
นางสาววีรินทิรา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งก่อนวาระดังกล่าวเนื่องจาก เป็นการเปลี่ยนตำแหน่งจากที่ระบุไว้ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 22 ธ.ค. 2549 และเพื่อความเหมาะสมในการดำเนินงานของคณะกรรมการ อาศัยอำนาจมาตรา 7 (3) แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 จึงขอเสนอให้กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระจำนวน 4 ท่านดังกล่าว
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติด อย่างจริงจังของรัฐบาลว่า การปราบปรามยาเสพติดเป็นแนวทางที่รัฐบาล มีความเข้มงวดอยู่แล้ว แต่ต่อจากนี้ต้องเข้มงวดกว่าเดิม อย่างไรก็ตามแนวทางปฏิบัติขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียด แต่ในวันศุกร์ที่ 21 มี.ค.นี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเป็นประธานในการประชุม ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้จะเป็นวาระแห่งชาติเพราะเป็นการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน ส่วนเรื่องของเงินรางวัลนำจับนั้นมีอยู่แล้ว แต่ในเรื่องของตัวเลขยังไม่ได้มีการกำหนด ทั้งนี้ยังคงมองผู้เสพเป็นผู้ป่วยเหมือนเดิม ซึ่งการคุยกันว่าบางทีผู้เสพหายป่วยแล้วกลับมาเสพใหม่กำลังคิดว่าจะแก้ไขอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า นโยบายเป็นแนวทางเดียวกับพรรคไทยรักไทยเคยดำเนินการ ใช่หรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า อันนี้ตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้มีการประชุม เพราะตนไม่ทราบแนวทางของแต่ละหน่วยงานเป็นอย่างไร แต่ในส่วนของกระทรวงยุติธรรม จะใช้เอาแนวทางของสรรพากร ,ป.ป.ง. ที่จะมีการตรวจสอบในทางลับกับญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงที่อยู่ใกล้เคียงกับผู้ค้ายาเสพติดด้วย
ส่วนพื้นที่ทีมีปัญหายาเสพติดรุนแรงนั้น นายสมพงษ์ กล่าวว่า ความจริงมีทั่วไปหมดทั้งกทม.และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเพราะมีปัญหาเยอะ สิ่งที่เป็นห่วงคือช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมาไม่มีการทำอะไรเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้นเมื่อมาจัดใหม่อาจจะเดือดร้อนและอึดอัดหน่อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า สถานการณ์ใต้รุนแรงขึ้นมีกรณียาเสพติดเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า เป็นมานานปีกว่าแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งมาเกิด ฉะนั้นนำมาเกี่ยวข้องกันดูจะไม่ค่อยเหมาะสม ซึ่ง 3 จังหวัดภาคใต้ตนจะลงไปในพื้นที่แต่ต้องรอให้ผ่าน การประชุมในวันที่ 21 มี.ค.นี้เสียก่อนจะพิจารณาอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะทำอย่างไรไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการฆ่าตัดตอนหรือเจ้าหน้าที่ ทำรุนแรง รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ความจริงคำว่าฆ่าตัดตอนมันไม่ใช่รัฐบาลฆ่า แต่เขาฆ่าตัดตอนกันเอง พอเขารู้ว่าคนคนนี้จะโดนสอบสวนก็กลัวจะซัดทอดจึงจัดการเสียก่อน แต่บางกรณีก็ไม่มีเรื่องอะไรหมั่นไส้กันก็ฆ่ากันตายก็กลายเป็นเรื่องฆ่าตัดตอน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงและกำลังดูแลกันอยู่ อย่างไรก็ตามแนวทางต่างๆ อยู่ในแผนที่เราจะพิจารณากันเพราะเรารับฟัง
ด้าน น.ส.วีรินทิรา นาทองบ่อจรัส รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม.อนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) เสนอให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ขณะนั้น) 2.นายประกิจ ประจนปัจจนึก เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 3.พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม 4.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
และอนุมัติแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ดังต่อไปนี้ 1.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก 2.พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ 3. พล.ต.ท.วุฒิ วิทิตานนท์ จเรตำรวจ (สบ 8 ) 4.นายโกสินทร์ เกษทอง ทั้งนี้ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งเพิ่ม จะครบวาระการดำรงตำแหน่งพร้อมกรรมการชุดเดิมในวันที่ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551
นางสาววีรินทิรา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งก่อนวาระดังกล่าวเนื่องจาก เป็นการเปลี่ยนตำแหน่งจากที่ระบุไว้ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 22 ธ.ค. 2549 และเพื่อความเหมาะสมในการดำเนินงานของคณะกรรมการ อาศัยอำนาจมาตรา 7 (3) แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 จึงขอเสนอให้กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระจำนวน 4 ท่านดังกล่าว