ศธ.เตรียมเสนอขอ ครม.ขออนุโลมให้ครูโรงเรียนเอกชนใช้สิทธิประกันสังคมจนถึงวันที่ 1 ต.ค. รอการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน ใช้สิทธิรักษาพยาบาล ตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน 2550 กำหนด
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาของบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ว่า ตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ ทำให้ต้องตั้งกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน โดยบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนจะต้องเข้ามาอยู่ในระบบกองทุนนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่เนื่องจากที่ผ่านมาบุคลากรโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ อยู่ในระบบประกันสังคมก่อนแล้ว ดังนั้น เมื่อกองทุนยังไม่ได้จัดตั้งบุคลากรโรงเรียนเอกชนก็ยังต้องอยู่ในระบบประกันสังคมไปก่อน โดยมีการชำระเงินเข้าระบบประกันสังคมไปตามปกติ แต่ปรากฏว่าทางสำนักงานประกันสังคมไม่ยอมรับชำระเงินจากครูเอกชนมาตั้งแต่เมื่อมีนาคม 2551 ทำให้ครูรู้สึกเป็นกังวล ว่าจะได้รับผลกระทบจากการขาดส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม
ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จึงได้ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อขออนุโลมให้บุคลากรโรงเรียนเอกชนสามารถอยู่ในระบบประกันสังคมไปก่อนจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่สำนักงานประกันสังคมชี้แจงว่าไม่มีอำนาจต้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งการ ดังนั้น สช.จะทำเรื่องเสนอ ครม.2 ประเด็น คือ 1.เสนอให้บุคลากรทางการศึกษาเดิมที่อยู่ในระบบประกันสังคม ได้ใช้ประกันสังคมต่อไปก่อน เพื่อรอเข้ากองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชนในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนที่ไม่เคยเข้าระบบประกันสังคมมาก่อนก็จะมีสิทธิ์เข้ากองทุนสงเคราะห์ฯ ได้เช่นกัน โดยบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 1.ผู้จัดการโรงเรียน 2.บรรณารักษ์ 3.ครูแนะแนว 4.พยาบาลหรือโภชนากร 5.เทคโนโลยีหรือเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ 6.นายทะเบียนวัดผล 7.เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล และ 8.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ซึ่งรวมถึงพนักงานการเงิน พิมพ์ดีด ธุรการและประชาสัมพันธ์ด้วย
สำหรับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอื่นที่ไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ากองทุนสงเคราะห์ฯ แต่จะให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งได้แก่ พนักงานขับรถ นักการภารโรง คนงาน คนสวน คนครัว เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้รับใบอนุญาต และพี่เลี้ยงเด็ก
ดร.จรวยพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาซึ่งวาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน 2550 โดยจะไปกำหนดจำนวนโครงสร้างของตำแหน่งและวิธีการบริหารต่อไป โดย กช.ได้ให้หลักการกว้างๆ ไว้ว่ากรรมการไม่ควรเกิน 21 คน และมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีการจ้างที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การธนาคารเพื่อเข้ามาบริหารกองทุนให้งอกเงยมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกผลเพียงอย่างเดียว ส่วนการนำกำไรจากดอกผลร้อยละ 3 มาใช้ ซึ่งในปี 2551 มีจำนวน 12 ล้านบาทนั้น ร้อยละ 15 ให้เป็นอัตราเงินเดือนพนักงาน อีกร้อยละ 15 เป็นค่าสาธาณูปโภค ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 เป็นงบพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีมติให้ สช.ของบกลาง จำนวน 900 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายให้กับกองทุนสงเคราะห์ในส่วนที่รัฐบาลยังค้างชำระเงินสมทบร้อยละ 6 ด้วย
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาของบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ว่า ตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ ทำให้ต้องตั้งกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน โดยบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนจะต้องเข้ามาอยู่ในระบบกองทุนนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่เนื่องจากที่ผ่านมาบุคลากรโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ อยู่ในระบบประกันสังคมก่อนแล้ว ดังนั้น เมื่อกองทุนยังไม่ได้จัดตั้งบุคลากรโรงเรียนเอกชนก็ยังต้องอยู่ในระบบประกันสังคมไปก่อน โดยมีการชำระเงินเข้าระบบประกันสังคมไปตามปกติ แต่ปรากฏว่าทางสำนักงานประกันสังคมไม่ยอมรับชำระเงินจากครูเอกชนมาตั้งแต่เมื่อมีนาคม 2551 ทำให้ครูรู้สึกเป็นกังวล ว่าจะได้รับผลกระทบจากการขาดส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม
ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จึงได้ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อขออนุโลมให้บุคลากรโรงเรียนเอกชนสามารถอยู่ในระบบประกันสังคมไปก่อนจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่สำนักงานประกันสังคมชี้แจงว่าไม่มีอำนาจต้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งการ ดังนั้น สช.จะทำเรื่องเสนอ ครม.2 ประเด็น คือ 1.เสนอให้บุคลากรทางการศึกษาเดิมที่อยู่ในระบบประกันสังคม ได้ใช้ประกันสังคมต่อไปก่อน เพื่อรอเข้ากองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชนในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนที่ไม่เคยเข้าระบบประกันสังคมมาก่อนก็จะมีสิทธิ์เข้ากองทุนสงเคราะห์ฯ ได้เช่นกัน โดยบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 1.ผู้จัดการโรงเรียน 2.บรรณารักษ์ 3.ครูแนะแนว 4.พยาบาลหรือโภชนากร 5.เทคโนโลยีหรือเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ 6.นายทะเบียนวัดผล 7.เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล และ 8.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ซึ่งรวมถึงพนักงานการเงิน พิมพ์ดีด ธุรการและประชาสัมพันธ์ด้วย
สำหรับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอื่นที่ไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ากองทุนสงเคราะห์ฯ แต่จะให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งได้แก่ พนักงานขับรถ นักการภารโรง คนงาน คนสวน คนครัว เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้รับใบอนุญาต และพี่เลี้ยงเด็ก
ดร.จรวยพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาซึ่งวาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน 2550 โดยจะไปกำหนดจำนวนโครงสร้างของตำแหน่งและวิธีการบริหารต่อไป โดย กช.ได้ให้หลักการกว้างๆ ไว้ว่ากรรมการไม่ควรเกิน 21 คน และมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีการจ้างที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การธนาคารเพื่อเข้ามาบริหารกองทุนให้งอกเงยมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกผลเพียงอย่างเดียว ส่วนการนำกำไรจากดอกผลร้อยละ 3 มาใช้ ซึ่งในปี 2551 มีจำนวน 12 ล้านบาทนั้น ร้อยละ 15 ให้เป็นอัตราเงินเดือนพนักงาน อีกร้อยละ 15 เป็นค่าสาธาณูปโภค ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 เป็นงบพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีมติให้ สช.ของบกลาง จำนวน 900 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายให้กับกองทุนสงเคราะห์ในส่วนที่รัฐบาลยังค้างชำระเงินสมทบร้อยละ 6 ด้วย