สพฐ.สั่งการ สพท.ทั่วประเทศ ระวังป้องกันยาเสพติด ย้ำ ครู-เครือข่ายผู้ปกครอง ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหา พร้อมสั่งจับตานักเรียนกลุ่มเสี่ยง มาสาย หนีเรียน ก้าวร้าว หากพบรีบแก้ไข บำบัด
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาเด็กและเยาวชนได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งภายในโรงเรียนและสังคมภายนอกเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพของเด็กและเยาวชน และร่วมรณรงค์แก้ไขปัญหายาเสพติดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศให้ความสำคัญ โดยร่วมกับทุกสถานศึกษาดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาเยาวชนให้รู้เท่าทันสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในโรงเรียน ชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียน
รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่อาจมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ตำรวจ สาธารณสุข และคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก อันจะส่งผลไม่ให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในโรงเรียนใด พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพในโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่สี่ และขยายผลไปสู่โรงเรียนขยายโอกาสให้ทั่วถึง โดยสุ่มตรวจสอบ ระบบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน ระบบครูที่ปรึกษา ความสามารถในการให้คำปรึกษา การจัดโฮมรูม เครือข่ายผู้ปกครองการพัฒนานักเรียนแกนนำ และการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่หลากหลาย รวมทั้งผลักดันการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนอย่างจริงจัง เช่นการสอนทักษะชีวิต การสอนเพศศึกษา การแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยสันติวิธี อุบัติภัยศึกษา ซึ่งมีรูปแบบที่ได้ผลและได้นำร่องในหลายพื้นที่อยู่แล้ว และยังรวมถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สะอาด เป็นระเบียบ มีความปลอดภัย ไม่มีบริเวณใดรกรุงรังหรือเป็นที่ลับตาอันจะเอื้อต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือการถูกละเมิดได้
การสำรวจเพื่อจัดทำระบบข้อมูลและวางแนวทางดูแลแก้ปัญหานั้น สพฐ.ได้ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนสามกลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนที่มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ขาดผู้ดูแลที่เหมาะสม ทำให้มีปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและความปลอดภัย โดยให้ทำบัญชีรายชื่อเพื่อจะได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือต้องช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษ เช่น ขาดเรียน มาสาย หนีเรียน ผลการเรียนตกต่ำ และมีพฤติกรรมที่มีปัญหาในลักษณะต่างๆ และกลุ่มเยาวชนที่มีปัญหาด้านความก้าวร้าว ความรุนแรง เกี่ยวข้องกับการเสพหรือค้าสารเสพติด หรือมีปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการแก้ไข บำบัด รักษาอย่างจริงจัง
“ถึงแม้ สพฐ.ได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอดแล้วก็ตาม เมื่อยังมีปัญหาเกิดขึ้นสถานศึกษาซึ่งเป็นสถานที่ใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชน และชุมชน จึงต้องหันมาให้ความสำคัญ และร่วมกันป้องกัน ดูแล และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยการ ลด “พื้นที่เสี่ยง” และเพิ่ม “พื้นที่ดี” เพื่อให้บุตรหลานของเรา ซี่งเป็นอนาคตของชาติปลอดภัยจากภัยทั้งจากอุบัติเหตุ ความรุนแรง การละเมิดในลักษณะต่างๆ และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยและห่างไกลจากปัญหายาเสพติดทั้งปวง” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาเด็กและเยาวชนได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งภายในโรงเรียนและสังคมภายนอกเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพของเด็กและเยาวชน และร่วมรณรงค์แก้ไขปัญหายาเสพติดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศให้ความสำคัญ โดยร่วมกับทุกสถานศึกษาดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาเยาวชนให้รู้เท่าทันสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในโรงเรียน ชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียน
รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่อาจมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ตำรวจ สาธารณสุข และคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก อันจะส่งผลไม่ให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในโรงเรียนใด พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพในโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่สี่ และขยายผลไปสู่โรงเรียนขยายโอกาสให้ทั่วถึง โดยสุ่มตรวจสอบ ระบบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน ระบบครูที่ปรึกษา ความสามารถในการให้คำปรึกษา การจัดโฮมรูม เครือข่ายผู้ปกครองการพัฒนานักเรียนแกนนำ และการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่หลากหลาย รวมทั้งผลักดันการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนอย่างจริงจัง เช่นการสอนทักษะชีวิต การสอนเพศศึกษา การแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยสันติวิธี อุบัติภัยศึกษา ซึ่งมีรูปแบบที่ได้ผลและได้นำร่องในหลายพื้นที่อยู่แล้ว และยังรวมถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สะอาด เป็นระเบียบ มีความปลอดภัย ไม่มีบริเวณใดรกรุงรังหรือเป็นที่ลับตาอันจะเอื้อต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือการถูกละเมิดได้
การสำรวจเพื่อจัดทำระบบข้อมูลและวางแนวทางดูแลแก้ปัญหานั้น สพฐ.ได้ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนสามกลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนที่มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ขาดผู้ดูแลที่เหมาะสม ทำให้มีปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและความปลอดภัย โดยให้ทำบัญชีรายชื่อเพื่อจะได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือต้องช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษ เช่น ขาดเรียน มาสาย หนีเรียน ผลการเรียนตกต่ำ และมีพฤติกรรมที่มีปัญหาในลักษณะต่างๆ และกลุ่มเยาวชนที่มีปัญหาด้านความก้าวร้าว ความรุนแรง เกี่ยวข้องกับการเสพหรือค้าสารเสพติด หรือมีปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการแก้ไข บำบัด รักษาอย่างจริงจัง
“ถึงแม้ สพฐ.ได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอดแล้วก็ตาม เมื่อยังมีปัญหาเกิดขึ้นสถานศึกษาซึ่งเป็นสถานที่ใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชน และชุมชน จึงต้องหันมาให้ความสำคัญ และร่วมกันป้องกัน ดูแล และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยการ ลด “พื้นที่เสี่ยง” และเพิ่ม “พื้นที่ดี” เพื่อให้บุตรหลานของเรา ซี่งเป็นอนาคตของชาติปลอดภัยจากภัยทั้งจากอุบัติเหตุ ความรุนแรง การละเมิดในลักษณะต่างๆ และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยและห่างไกลจากปัญหายาเสพติดทั้งปวง” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว