คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันปัญหาเด็กและเยาวชนได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งภายในโรงเรียนและสังคมภายนอก รัฐบาลมีนโยบายในการยกระดับคุณภาพของเด็กและเยาวชน และร่วมในการรณรงค์แก้ไขปัญหายาเสพติด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ให้ความสำคัญ และดำเนินการร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาสำรวจสภาพปัญหาเยาวชนให้รู้เท่าทันสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยทำการสำรวจ ทั้งในโรงเรียน ในชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียน และประสานงานกับหน่วยงานที่อาจมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ สาธารณสุข คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก เป็นต้น ขออย่าให้มีการแพร่ระบาดของสารเสพติดในโรงเรียน ให้ทำบัญชีรายชื่อเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือต้องช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษ เช่น ขาดเรียน มาสาย หนีเรียน ผลการเรียนเริ่มตกต่ำ และมีพฤติกรรมที่มีปัญหาในลักษณะต่างๆ เช่น มีความก้าวร้าว ความรุนแรง เกี่ยวข้องกับการเสพหรือค้ายาเสพติด หรือมีปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการศึกษา และดูแลสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เป็นแหล่งอบายมุข
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ให้ความสำคัญ และดำเนินการร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาสำรวจสภาพปัญหาเยาวชนให้รู้เท่าทันสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยทำการสำรวจ ทั้งในโรงเรียน ในชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียน และประสานงานกับหน่วยงานที่อาจมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ สาธารณสุข คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก เป็นต้น ขออย่าให้มีการแพร่ระบาดของสารเสพติดในโรงเรียน ให้ทำบัญชีรายชื่อเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือต้องช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษ เช่น ขาดเรียน มาสาย หนีเรียน ผลการเรียนเริ่มตกต่ำ และมีพฤติกรรมที่มีปัญหาในลักษณะต่างๆ เช่น มีความก้าวร้าว ความรุนแรง เกี่ยวข้องกับการเสพหรือค้ายาเสพติด หรือมีปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการศึกษา และดูแลสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เป็นแหล่งอบายมุข