“คุณหญิงกษมา” เผยเตรียมสร้างโรงเรียนรองรับนักเรียนในเขตธนบุรี หลังพบมียอดรับนักเรียนสูงขึ้น เหตุมีหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นมาก พร้อมมอบเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ ผลการรับนักเรียนปีการศึกษา 2551
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงการรับนักเรียนชั้น ม.1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีการศึกษา 2551 ว่า ตนได้มอบให้เจ้าหน้าที่ไปวิเคราะห์ข้อมูล 3 ประเด็น คือ 1.การเกลี่ยเด็กไปยังพื้นที่อื่น อย่างโรงเรียนคู่พัฒนาที่รองรับเด็กได้ดีขึ้น และที่จังหวัดอยุธยาได้รับแจ้งจากผู้บริหารโรงเรียน ว่า ยอดสมัครเข้าเรียนของโรงเรียนประจำจังหวัดลดลง แต่โรงเรียนในฝันระดับอำเภอมียอดสมัครเพิ่มขึ้นหลายร้อยคนแต่ละอำเภอจึงสะท้อนให้เห็นว่าเด็กในพื้นที่นอกเมืองจะไม่เข้ามาเรียนในเมือง และไปเรียนโรงเรียนรอบนอกแทน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความมั่นใจในคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี 2.โรงเรียนใหญ่มีห้องพิเศษสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษมากขึ้น เพราะทุกปีจะให้เปิดได้แค่ 2 ห้องเรียนแต่ปีนี้เปิดได้ 4 ห้องเรียน ดังนั้น ทำให้มีการกลั่นกรองเด็กในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น และ 3.กรณีโรงเรียนดังรับเด็กในพื้นที่ด้วยวิธีการสอบในสัดส่วนที่สูงขึ้นจะมีผลให้ยอดสมัครเข้าเรียนลดลงหรือไม่
ส่วนปัญหาเด็กล้นในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร (สพท.กทม.) เขต 2 ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น คิดว่าปัญหาจะลดลงเพราะโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครเปิดรับนักเรียน 3 พันห้องเรียน และเพิ่มสิทธิเรียนฟรีจริงกว่า 20 รายการจะทำให้ผู้ปกครองสบายใจมากขึ้นที่จะส่งลูกหลานเข้าเรียน ทั้งนี้ การรับนักเรียนในปีนี้เริ่มเห็นแนวโน้มของโรงเรียนในเขตธนบุรีจากเดิมยอดนักเรียนจะไม่เต็มแต่ปีนี้ยอดสมัครเข้าเรียนมากขึ้นจนทำให้ห้องเรียนเต็ม ซึ่งน่าจะเป็นเพราะมีการสร้างหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ สพฐ.จะต้องจับตามอง เพราะจะต้องพิจารณาสร้างโรงเรียนเพิ่มรองรับในอนาคต
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงการรับนักเรียนชั้น ม.1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีการศึกษา 2551 ว่า ตนได้มอบให้เจ้าหน้าที่ไปวิเคราะห์ข้อมูล 3 ประเด็น คือ 1.การเกลี่ยเด็กไปยังพื้นที่อื่น อย่างโรงเรียนคู่พัฒนาที่รองรับเด็กได้ดีขึ้น และที่จังหวัดอยุธยาได้รับแจ้งจากผู้บริหารโรงเรียน ว่า ยอดสมัครเข้าเรียนของโรงเรียนประจำจังหวัดลดลง แต่โรงเรียนในฝันระดับอำเภอมียอดสมัครเพิ่มขึ้นหลายร้อยคนแต่ละอำเภอจึงสะท้อนให้เห็นว่าเด็กในพื้นที่นอกเมืองจะไม่เข้ามาเรียนในเมือง และไปเรียนโรงเรียนรอบนอกแทน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความมั่นใจในคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี 2.โรงเรียนใหญ่มีห้องพิเศษสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษมากขึ้น เพราะทุกปีจะให้เปิดได้แค่ 2 ห้องเรียนแต่ปีนี้เปิดได้ 4 ห้องเรียน ดังนั้น ทำให้มีการกลั่นกรองเด็กในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น และ 3.กรณีโรงเรียนดังรับเด็กในพื้นที่ด้วยวิธีการสอบในสัดส่วนที่สูงขึ้นจะมีผลให้ยอดสมัครเข้าเรียนลดลงหรือไม่
ส่วนปัญหาเด็กล้นในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร (สพท.กทม.) เขต 2 ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น คิดว่าปัญหาจะลดลงเพราะโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครเปิดรับนักเรียน 3 พันห้องเรียน และเพิ่มสิทธิเรียนฟรีจริงกว่า 20 รายการจะทำให้ผู้ปกครองสบายใจมากขึ้นที่จะส่งลูกหลานเข้าเรียน ทั้งนี้ การรับนักเรียนในปีนี้เริ่มเห็นแนวโน้มของโรงเรียนในเขตธนบุรีจากเดิมยอดนักเรียนจะไม่เต็มแต่ปีนี้ยอดสมัครเข้าเรียนมากขึ้นจนทำให้ห้องเรียนเต็ม ซึ่งน่าจะเป็นเพราะมีการสร้างหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ สพฐ.จะต้องจับตามอง เพราะจะต้องพิจารณาสร้างโรงเรียนเพิ่มรองรับในอนาคต