หมอตาชี้คนไทยเป็นตาบอดสีกว่า 4.5 ล้านคน แต่ส่วนใหญ่ขับรถได้อาการไม่รุนแรง ขณะที่โรคต้อหิน ลานสายตาแคบ น่าห่วงยังไม่มีระเบียบบังคับต้องตรวจ เผยราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ เตรียมระดมให้ความเห็น 28 มี.ค.นี้ ด้านแพทยสภา คาดยกร่างแก้ไขข้อบังคับใบรับรองแพทย์ใหม่ไม่มีปัญหา
รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ ประธานฝ่ายวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และรองประธานสมาคมต้อหินแห่งเอเชียตะวันออกและใต้ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เป็นโรคตาบอดสี 7% ของประชากรโดยรวม หรือประมาณ 4.5 ล้านคน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยเฉพาะพบในเด็กผู้ชายจะเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิง เนื่องจากมีความผิดปกติในโครโมโซมเพศชายอีกส่วนหนึ่งพบเป็นโรคตาบอดสีเนื่องจากโรคทางตาเกือบทุกชนิด เช่น ความผิดปกติที่ขั้วประสาทตา การเป็นโรคต้อหิน ส่วนความรุนแรงของโรคมี 3 ระดับ คือ ระดับอ่อน ปานกลาง และรุนแรง โดยผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถขับรถได้ เนื่องมาจากโรคตาบอดสีนั้น อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ซึ่งในผู้ที่ตาบอดสีระดับกลางจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเป็นรายๆ ไปว่าสามารถขับขี่ได้หรือไม่
ทั้งนี้ ในวันที่ 28 มี.ค.จะเป็นการแสดงข้อคิดเห็นของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับร่างแก้ไขข้อบังคับใบรับรองมาตรฐานสุขภาพ
“จริงๆ เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เป็นโรคตาบอดสีอยู่ในระดับอ่อน แต่ไม่เชื่อว่าจะทำให้มีผลต่อการขับรถมากนัก อย่างกรณีไฟสัญญาณจราจรเรียงลำดับสีเป็นแบบสากล โดยในแนวตั้ง ด้านบนสุดสีแดง กลางสีเหลืองและด้านล่างสีเขียว ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะผู้ที่ตาบอดสีไม่ใช่ไม่เห็นสีเพียงอาจเห็นสีเพี้ยนบ้าง แต่ก็รู้ว่าเป็นสีอะไร ทั้งนี้ คนที่จะมีปัญหาในเรื่องตาบอดสีอย่างมาก น่าจะเป็นเภสัชกร หรือศิลปิน จิตรกร”รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าว
รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่พบว่าน่าจะมีปัญหาในการขับขี่ จะเป็นสัญญาณไฟที่เป็นแนวนอน ซึ่งมีการเรียงลำดับสี จากด้านซ้ายมือเป็นสีเขียว เหลือง และแดงซึ่งขัดกันกับพฤติกรรมของคนไทย ที่ถนัดใช้สายตาจากซ้ายไปขวา เมื่อสัญญาณจราจรเป็นแนวตั้งมีการเรียงแบบหนึ่ง ในแนวนอนก็ควรเรียงลำดับสีในลักษณะเดียวกัน มิฉะนั้น ผู้ที่มีโรค ตาบอดสี อาจประสบปัญหาในส่วนนี้ได้
รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากโรคตาบอดสี โรคทางตาที่มีความสำคัญในการขับขี่ มี 2 ประเภท คือ 1.การสูญเสียความคมชัดในการมอง มีอาการตามั่ว ก็มีปัญหา 2.โรคทางตาที่ทำให้ความกว้างของการมองมีองศาแคบ หรือเรียกว่า ลานสายตาแคบ ซึ่งเกิดจากการเป็นต้อหิน ทำให้เวลาขับรถอาจมองไม่เห็นรถที่แซงขึ้นมา ก็มีอันตราเช่นกัน โดยเฉพาะข้อนี้ยังไม่มีบัญญัติเป็นข้อบังคับในการตรวจวัดสายตา ซึ่งหลายรัฐในสหรัฐอเมริกามีการนำข้อบังคับนี้ไปใช้ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องสายตาพบในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งประสาทตาเสื่อมตามวัย และกลุ่มที่มีปัญหาวัยทอง นอกจากนี้ในกรณีที่ตาบอดข้างเดียวแม้จะสามารถขับรถได้ ก็อาจมีปัญหาการกะระยะผิดพลาดได้
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา ในฐานะกรรมการคณะทำงานยกร่างแก้ไขข้อบังคับใบรับรองมาตรฐานสุขภาพ กล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรค และการออกใบรับรองแพทย์แบบใหม่ เพื่อนำไปประกอบการยื่นขอทดสอบใบอนุญาตขับรถกับกรมการขนส่งทางบก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของราชวิทยาลัยแพทย์ทั้งหมด เพื่อกำหนดโรคที่เป็นอันตรายต่อการขับขี่รถยนต์ให้เหมาะสมที่สุด จากนั้นนำไปเสนอต่อกรมการขนส่งฯ เพื่อพิจารณาออกเป็นระเบียบ หรือกฎกระทรวง เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
นพ.อำนาจ กล่าวว่า ในอนาคตแพทย์จะต้องมีการวินิจฉัยโรคเพื่อออกใบรับรองแพทย์เพื่อประกอบการขอทดสอบในอนุญาตขับรถให้มีความละเอียดมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อการขับขี่รถยนต์ ซึ่งในปัจจุบันใบรับรองแพทย์ จะระบุโรคต้องห้าม 5 โรค คือ ไม่เป็นโรคติดต่อน่ารังเกียจ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่ติดสุรา ยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่เป็นผู้พิการ หรือทุพลภาพ ซึ่งเป็นแบบฟอร์มเดียวกับการตรวจสอบร่างกายเพื่อสมัครงาน หากคนไข้มีอาการเข้าข่ายทั้ง 5 โรค แพทย์จะทำเครื่องหมายที่หน้าโรคนั้น แต่ต่อไปแพทย์จะต้องวินิจฉัยโรคให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ซึ่งแพทย์สภาจะออกแบบใบรับรองแพทย์ใหม่ จากนั้นจะส่งแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ดังกล่าวส่งให้กรมการขนส่งฯ เพื่อกำหนดเป็นระเบียบในการยื่นขอทดสอบใบอนุญาตขับรถต่อไป
“ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีโรคอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถและไม่สามารถจะมีใบขับขี่รถได้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่ในเบื้องต้นมีโรคที่เข้าข่ายต้องห้ามคือ โรคทางระบบประสาท เช่น ลมชัก โรคเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตาบอดสี มองเห็นเฉพาะมุมกว้าง เป็นต้น ซึ่งการวินิจฉัยโรคของแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่ดำเนินการไปตามหน้าที่และตามกฎหมายที่จะต้องตรวจสอบสมรรถภาพร่างกายของประชาชน” นพ.อำนาจ กล่าว
รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ ประธานฝ่ายวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และรองประธานสมาคมต้อหินแห่งเอเชียตะวันออกและใต้ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เป็นโรคตาบอดสี 7% ของประชากรโดยรวม หรือประมาณ 4.5 ล้านคน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยเฉพาะพบในเด็กผู้ชายจะเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิง เนื่องจากมีความผิดปกติในโครโมโซมเพศชายอีกส่วนหนึ่งพบเป็นโรคตาบอดสีเนื่องจากโรคทางตาเกือบทุกชนิด เช่น ความผิดปกติที่ขั้วประสาทตา การเป็นโรคต้อหิน ส่วนความรุนแรงของโรคมี 3 ระดับ คือ ระดับอ่อน ปานกลาง และรุนแรง โดยผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถขับรถได้ เนื่องมาจากโรคตาบอดสีนั้น อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ซึ่งในผู้ที่ตาบอดสีระดับกลางจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเป็นรายๆ ไปว่าสามารถขับขี่ได้หรือไม่
ทั้งนี้ ในวันที่ 28 มี.ค.จะเป็นการแสดงข้อคิดเห็นของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับร่างแก้ไขข้อบังคับใบรับรองมาตรฐานสุขภาพ
“จริงๆ เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เป็นโรคตาบอดสีอยู่ในระดับอ่อน แต่ไม่เชื่อว่าจะทำให้มีผลต่อการขับรถมากนัก อย่างกรณีไฟสัญญาณจราจรเรียงลำดับสีเป็นแบบสากล โดยในแนวตั้ง ด้านบนสุดสีแดง กลางสีเหลืองและด้านล่างสีเขียว ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะผู้ที่ตาบอดสีไม่ใช่ไม่เห็นสีเพียงอาจเห็นสีเพี้ยนบ้าง แต่ก็รู้ว่าเป็นสีอะไร ทั้งนี้ คนที่จะมีปัญหาในเรื่องตาบอดสีอย่างมาก น่าจะเป็นเภสัชกร หรือศิลปิน จิตรกร”รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าว
รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่พบว่าน่าจะมีปัญหาในการขับขี่ จะเป็นสัญญาณไฟที่เป็นแนวนอน ซึ่งมีการเรียงลำดับสี จากด้านซ้ายมือเป็นสีเขียว เหลือง และแดงซึ่งขัดกันกับพฤติกรรมของคนไทย ที่ถนัดใช้สายตาจากซ้ายไปขวา เมื่อสัญญาณจราจรเป็นแนวตั้งมีการเรียงแบบหนึ่ง ในแนวนอนก็ควรเรียงลำดับสีในลักษณะเดียวกัน มิฉะนั้น ผู้ที่มีโรค ตาบอดสี อาจประสบปัญหาในส่วนนี้ได้
รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากโรคตาบอดสี โรคทางตาที่มีความสำคัญในการขับขี่ มี 2 ประเภท คือ 1.การสูญเสียความคมชัดในการมอง มีอาการตามั่ว ก็มีปัญหา 2.โรคทางตาที่ทำให้ความกว้างของการมองมีองศาแคบ หรือเรียกว่า ลานสายตาแคบ ซึ่งเกิดจากการเป็นต้อหิน ทำให้เวลาขับรถอาจมองไม่เห็นรถที่แซงขึ้นมา ก็มีอันตราเช่นกัน โดยเฉพาะข้อนี้ยังไม่มีบัญญัติเป็นข้อบังคับในการตรวจวัดสายตา ซึ่งหลายรัฐในสหรัฐอเมริกามีการนำข้อบังคับนี้ไปใช้ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องสายตาพบในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งประสาทตาเสื่อมตามวัย และกลุ่มที่มีปัญหาวัยทอง นอกจากนี้ในกรณีที่ตาบอดข้างเดียวแม้จะสามารถขับรถได้ ก็อาจมีปัญหาการกะระยะผิดพลาดได้
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา ในฐานะกรรมการคณะทำงานยกร่างแก้ไขข้อบังคับใบรับรองมาตรฐานสุขภาพ กล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรค และการออกใบรับรองแพทย์แบบใหม่ เพื่อนำไปประกอบการยื่นขอทดสอบใบอนุญาตขับรถกับกรมการขนส่งทางบก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของราชวิทยาลัยแพทย์ทั้งหมด เพื่อกำหนดโรคที่เป็นอันตรายต่อการขับขี่รถยนต์ให้เหมาะสมที่สุด จากนั้นนำไปเสนอต่อกรมการขนส่งฯ เพื่อพิจารณาออกเป็นระเบียบ หรือกฎกระทรวง เพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
นพ.อำนาจ กล่าวว่า ในอนาคตแพทย์จะต้องมีการวินิจฉัยโรคเพื่อออกใบรับรองแพทย์เพื่อประกอบการขอทดสอบในอนุญาตขับรถให้มีความละเอียดมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อการขับขี่รถยนต์ ซึ่งในปัจจุบันใบรับรองแพทย์ จะระบุโรคต้องห้าม 5 โรค คือ ไม่เป็นโรคติดต่อน่ารังเกียจ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่ติดสุรา ยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่เป็นผู้พิการ หรือทุพลภาพ ซึ่งเป็นแบบฟอร์มเดียวกับการตรวจสอบร่างกายเพื่อสมัครงาน หากคนไข้มีอาการเข้าข่ายทั้ง 5 โรค แพทย์จะทำเครื่องหมายที่หน้าโรคนั้น แต่ต่อไปแพทย์จะต้องวินิจฉัยโรคให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ซึ่งแพทย์สภาจะออกแบบใบรับรองแพทย์ใหม่ จากนั้นจะส่งแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ดังกล่าวส่งให้กรมการขนส่งฯ เพื่อกำหนดเป็นระเบียบในการยื่นขอทดสอบใบอนุญาตขับรถต่อไป
“ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีโรคอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถและไม่สามารถจะมีใบขับขี่รถได้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่ในเบื้องต้นมีโรคที่เข้าข่ายต้องห้ามคือ โรคทางระบบประสาท เช่น ลมชัก โรคเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตาบอดสี มองเห็นเฉพาะมุมกว้าง เป็นต้น ซึ่งการวินิจฉัยโรคของแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่ดำเนินการไปตามหน้าที่และตามกฎหมายที่จะต้องตรวจสอบสมรรถภาพร่างกายของประชาชน” นพ.อำนาจ กล่าว