“ไชยา” ห่วงอากาศร้อนทำสุขภาพประชาชนทรุด สั่งกรมควบคุมโรค-อนามัย-วิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมป้องกันโรคที่มากับอากาศร้อน พร้อมออกประกาศเตือนภัย 6 โรคฤดูร้อน ให้คุมเข้มความสะอาดอาหาร น้ำประปา น้ำดื่ม เขียง เป็นพิเศษ เน้นกินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือและดื่มน้ำสะอาด โดยกำหนดรณรงค์ส้วมสะอาดทั่วไทย 1-7 เม.ย.นี้
บ่ายวันนี้ (24 มีนาคม 2551) ที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร กระทรวงสาธารณสุข นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์กิตติ กิตติอำพน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ รองอธิบดีกรมอนามัย และนายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกันแถลงข่าว การเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบสุขภาพจากปัญหาภัยแล้งในปีนี้
นายไชยา กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน หลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง ล่าสุดถึง 13 มีนาคม 2551 มีรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง 44 จังหวัด โดยกรมทรัพยากรน้ำคาดว่า ในปีนี้จะมีพื้นที่ประสบภัยแล้งถึง 71 จังหวัด ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับภัยแล้งคือ การระบาดของโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โดยเฉพาะอหิวาตกโรค ที่ส่งผลกระทบกับชื่อเสียงของประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเตือนประชาชนให้ระวังโรคที่เกิดในฤดูร้อน 6 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค และพิษสุนัขบ้า ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศรู้วิธีการป้องกันโรค และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วออกควบคุมโรคทันทีที่มีผู้ป่วย ดูแลความสะอาดอาหาร น้ำดื่ม น้ำประปา ตลาดสด รวมทั้งส้วม อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีประชาชนเดินทางจำนวนมาก ต้องระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่มอย่างเข้มงวด
นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า อากาศที่ร้อนและแห้งแล้งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรียอย่างมาก ยิ่งขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคติดต่อต่างๆ ง่ายขึ้น ขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในเรื่องความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม ให้ยึดหลักปลอดภัยได้แก่ กินร้อน คือกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หากยังไม่กินต้องเก็บในตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนก่อนกิน ใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม และดื่มน้ำที่สะอาด ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังโรคติดต่อจากอาหารและน้ำตั้งแต่มกราคม-15 มีนาคม 2551 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยรวม 271,676 ราย เสียชีวิต 37 ราย มากที่สุด คือ อุจจาระร่วง ป่วย 246,476 ราย เสียชีวิต 35 ราย รองลงมาคือ อาหารเป็นพิษ 21,341ราย ส่วนอหิวาตกโรค พบผู้ป่วย 41 ราย เสียชีวิต 2 ราย
ด้านนายแพทย์กิตติ กิตติอำพน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้ออกประกาศเตือนประชาชน ให้ป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน ประกอบด้วย 1.โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ มี 5 โรค ได้แก่ อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์ ซึ่งทุกโรคติดต่อโดยกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ โดยไม่ได้แช่เย็นและไม่ได้อุ่นให้ร้อนก่อนกิน อาการส่วนใหญ่มักถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือมีมูกเลือดปน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ในระยะแรกควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมากๆ อาทิ น้ำข้าว น้ำแกงจืด และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ.อาร์.เอส.) โดยใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซองผสมน้ำต้มสุกเย็น 1 แก้ว หากไม่มีให้ใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลมแทนก็ได้ ที่สำคัญต้องดื่มให้หมดภายใน 1 วัน และหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
2.โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2550 พบผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย จาก 12 จังหวัด เสียชีวิตทุกราย ส่วนปีนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วย โรคนี้ติดต่อโดยถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผลรอยข่วน หรือน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อเข้าตา ปาก จมูก สัตว์นำโรคนอกจากสุนัขและแมว อาจพบในสัตว์เลี้ยงอื่น เช่น หมู ม้า วัว ควาย และสัตว์ป่า เช่น ลิง ชะนี กระรอก กระแต เป็นต้น สัตว์ที่เป็นโรคดังกล่าวสังเกตได้จากจะมีนิสัยผิดไปจากเดิม ตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า กินอาหารน้อยลง ไวต่อแสงและเสียง ต่อมาเป็นอัมพาต หลังแข็ง หางตก ลิ้นห้อย กลืนไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง ชักและตายภายใน 10 วันนับจากแสดงอาการ เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย จึงต้องป้องกันโดยนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง ระวังบุตรหลานไม่ให้เล่นกับสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หากถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เช็ดให้แห้งแล้วใส่ยารักษาแผลสด เช่น โพรวิโดนไอโอดีน พร้อมทั้งตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของสัตว์ และรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของน้ำดื่มน้ำใช้ ได้ประสานหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปา ทั้งการประปานครหลวง การประปาภูมิภาคและ อบต.ที่ดูแลน้ำประปา ให้เฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปา โดยให้เติมคลอรีนคงเหลือในน้ำอยู่ระหว่าง 0.2-0.5 พี.พี.เอ็ม ซึ่งเป็นระดับคลอรีนที่สามารถฆ่าโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ศูนย์อนามัย 12 แห่งทั่วประเทศ จะดำเนินการสุ่มตรวจเป็นระยะๆ รวมทั้งได้สำรองคลอรีนชนิดผง สารส้ม โซดาไฟ ปูนขาวและถุงดำ ไว้ที่ศูนย์อนามัย 2,4,6,12 เพื่อเตรียมรับสถานการณ์หากมีการระบาดของอหิวาตกโรค สิ่งสำคัญอีกประการ คือ เน้นการดูแลความสะอาดของส้วม ซึ่งเป็นแหล่งรวมสิ่งปฏิกูลที่ขับออกจากร่างกายคน หากไม่สะอาดจะเป็นแห่งแพร่โรคสำคัญ โดยจะรณรงค์ล้างส้วมครั้งใหญ่พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1-7 เมษายน พ.ศ. 2551 โดยเฉพาะจุดที่มีผู้ใช้บริการมาก เช่น สถานีขนส่ง สถานีบริการน้ำมัน ร้านอาหาร วัด สำหรับร้านอาหาร เน้นให้ล้างทำความสะอาดเขียงที่ใช้เตรียมอาหารด้วย เนื่องจากพบว่าเขียงที่แม่ค้าใช้กว่าร้อยละ 50 มีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการไม่ล้างทำความสะอาดเขียง ทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่ตามร่องเขียงได้
ในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์แพทย์ นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดี กล่าวว่า ได้ให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ ทำการตรวจสอบการปนเปื้อน เพื่อสร้างความปลอดภัยอาหารและน้ำ และจัดรถห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ 2 คัน ออกให้บริการในพื้นที่ประสบปัญหา นอกจากนี้ ยังเตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันโรค เช่น เจลล้างมือ เจลเช็ดเท้า โลชั่นกันยุง พร้อมให้การสนับสนุนด้วย
บ่ายวันนี้ (24 มีนาคม 2551) ที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร กระทรวงสาธารณสุข นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์กิตติ กิตติอำพน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ รองอธิบดีกรมอนามัย และนายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกันแถลงข่าว การเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบสุขภาพจากปัญหาภัยแล้งในปีนี้
นายไชยา กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน หลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง ล่าสุดถึง 13 มีนาคม 2551 มีรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง 44 จังหวัด โดยกรมทรัพยากรน้ำคาดว่า ในปีนี้จะมีพื้นที่ประสบภัยแล้งถึง 71 จังหวัด ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับภัยแล้งคือ การระบาดของโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โดยเฉพาะอหิวาตกโรค ที่ส่งผลกระทบกับชื่อเสียงของประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเตือนประชาชนให้ระวังโรคที่เกิดในฤดูร้อน 6 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค และพิษสุนัขบ้า ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศรู้วิธีการป้องกันโรค และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วออกควบคุมโรคทันทีที่มีผู้ป่วย ดูแลความสะอาดอาหาร น้ำดื่ม น้ำประปา ตลาดสด รวมทั้งส้วม อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีประชาชนเดินทางจำนวนมาก ต้องระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่มอย่างเข้มงวด
นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า อากาศที่ร้อนและแห้งแล้งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรียอย่างมาก ยิ่งขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคติดต่อต่างๆ ง่ายขึ้น ขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในเรื่องความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม ให้ยึดหลักปลอดภัยได้แก่ กินร้อน คือกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หากยังไม่กินต้องเก็บในตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนก่อนกิน ใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม และดื่มน้ำที่สะอาด ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังโรคติดต่อจากอาหารและน้ำตั้งแต่มกราคม-15 มีนาคม 2551 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยรวม 271,676 ราย เสียชีวิต 37 ราย มากที่สุด คือ อุจจาระร่วง ป่วย 246,476 ราย เสียชีวิต 35 ราย รองลงมาคือ อาหารเป็นพิษ 21,341ราย ส่วนอหิวาตกโรค พบผู้ป่วย 41 ราย เสียชีวิต 2 ราย
ด้านนายแพทย์กิตติ กิตติอำพน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้ออกประกาศเตือนประชาชน ให้ป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน ประกอบด้วย 1.โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ มี 5 โรค ได้แก่ อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์ ซึ่งทุกโรคติดต่อโดยกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ โดยไม่ได้แช่เย็นและไม่ได้อุ่นให้ร้อนก่อนกิน อาการส่วนใหญ่มักถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือมีมูกเลือดปน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ในระยะแรกควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมากๆ อาทิ น้ำข้าว น้ำแกงจืด และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ.อาร์.เอส.) โดยใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซองผสมน้ำต้มสุกเย็น 1 แก้ว หากไม่มีให้ใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลมแทนก็ได้ ที่สำคัญต้องดื่มให้หมดภายใน 1 วัน และหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
2.โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2550 พบผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย จาก 12 จังหวัด เสียชีวิตทุกราย ส่วนปีนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วย โรคนี้ติดต่อโดยถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผลรอยข่วน หรือน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อเข้าตา ปาก จมูก สัตว์นำโรคนอกจากสุนัขและแมว อาจพบในสัตว์เลี้ยงอื่น เช่น หมู ม้า วัว ควาย และสัตว์ป่า เช่น ลิง ชะนี กระรอก กระแต เป็นต้น สัตว์ที่เป็นโรคดังกล่าวสังเกตได้จากจะมีนิสัยผิดไปจากเดิม ตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า กินอาหารน้อยลง ไวต่อแสงและเสียง ต่อมาเป็นอัมพาต หลังแข็ง หางตก ลิ้นห้อย กลืนไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง ชักและตายภายใน 10 วันนับจากแสดงอาการ เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย จึงต้องป้องกันโดยนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง ระวังบุตรหลานไม่ให้เล่นกับสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หากถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เช็ดให้แห้งแล้วใส่ยารักษาแผลสด เช่น โพรวิโดนไอโอดีน พร้อมทั้งตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของสัตว์ และรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของน้ำดื่มน้ำใช้ ได้ประสานหน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปา ทั้งการประปานครหลวง การประปาภูมิภาคและ อบต.ที่ดูแลน้ำประปา ให้เฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปา โดยให้เติมคลอรีนคงเหลือในน้ำอยู่ระหว่าง 0.2-0.5 พี.พี.เอ็ม ซึ่งเป็นระดับคลอรีนที่สามารถฆ่าโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ศูนย์อนามัย 12 แห่งทั่วประเทศ จะดำเนินการสุ่มตรวจเป็นระยะๆ รวมทั้งได้สำรองคลอรีนชนิดผง สารส้ม โซดาไฟ ปูนขาวและถุงดำ ไว้ที่ศูนย์อนามัย 2,4,6,12 เพื่อเตรียมรับสถานการณ์หากมีการระบาดของอหิวาตกโรค สิ่งสำคัญอีกประการ คือ เน้นการดูแลความสะอาดของส้วม ซึ่งเป็นแหล่งรวมสิ่งปฏิกูลที่ขับออกจากร่างกายคน หากไม่สะอาดจะเป็นแห่งแพร่โรคสำคัญ โดยจะรณรงค์ล้างส้วมครั้งใหญ่พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1-7 เมษายน พ.ศ. 2551 โดยเฉพาะจุดที่มีผู้ใช้บริการมาก เช่น สถานีขนส่ง สถานีบริการน้ำมัน ร้านอาหาร วัด สำหรับร้านอาหาร เน้นให้ล้างทำความสะอาดเขียงที่ใช้เตรียมอาหารด้วย เนื่องจากพบว่าเขียงที่แม่ค้าใช้กว่าร้อยละ 50 มีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการไม่ล้างทำความสะอาดเขียง ทำให้เชื้อโรคสะสมอยู่ตามร่องเขียงได้
ในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์แพทย์ นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดี กล่าวว่า ได้ให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ ทำการตรวจสอบการปนเปื้อน เพื่อสร้างความปลอดภัยอาหารและน้ำ และจัดรถห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ 2 คัน ออกให้บริการในพื้นที่ประสบปัญหา นอกจากนี้ ยังเตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันโรค เช่น เจลล้างมือ เจลเช็ดเท้า โลชั่นกันยุง พร้อมให้การสนับสนุนด้วย