นายบุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการเสนอขอทบทวนหลักการถ่ายโอนบุคลากร ว่า ขณะนี้รอ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) กำหนดวันประชุม คาดว่าคงจะมีการประชุมในเร็วๆ นี้ ซึ่งเรื่องสำคัญที่คณะอนุกรรมการด้านการถ่ายโอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะนำเสนอต่อที่ประชุม กกถ.คือ การทบทวนหลักการถ่ายโอนบุคลากรที่ต้องโอนตำแหน่งครูทั้งหมดไปพร้อมกับสถานศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ซึ่งจะขอกลับไปใช้หลักการเดิม ที่การถ่ายโอนบุคลากรให้เป็นไปตามความสมัครใจ และอัตรากำลังตามตัว เพราะที่ผ่านมาเมื่อนำหลักการดังกล่าวไปใช้ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติอย่างมาก
“เมื่อปรับหลักการให้ถ่ายโอนตำแหน่งไปพร้อมกับโรงเรียนที่ถ่ายโอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เดือดร้อนมาก เพราะไม่มีอัตรารองรับ ทำให้ต้องเสนอขออัตราใหม่ ดังนั้น คงต้องเร่งขอทบทวนหลักการถ่ายโอนบุคลากรโดยเร็ว เพื่อให้นำมาใช้ได้ทันในปีการศึกษา 2551 หรือปีงบประมาณ 2552 ซึ่ง รศ.วุฒิสาร ตันไชย ผู้แทน กกถ.ที่เป็นคณะอนุกรรมการด้านการถ่ายโอนข้าราชการครูฯ ไม่ขัดข้อง รอเพียงขอความเห็นชอบจากที่ประชุม กกถ.เท่านั้น”
รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะเสนอขอการสนับสนุนด้านงบประมาณให้กับสถานศึกษาที่ถ่ายโอนไป โดยเฉพาะเรื่องเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ อปท.จัดเตรียมงบประมาณไว้แต่เชื่อว่าไม่เพียงพอ เพราะ ศธ.ได้เสนอขอปรับเงินอุดหนุนรายหัวฯ เต็มตามผลการวิจัย จึงจะเสนอขอต่อ กกถ.เพื่อให้ อปท.ปรับเงินอุดหนุนรายหัว เงินเดือนครู รวมทั้งเงินวิทยฐานะโดยยึดฐานตัวเลขของ ศธ.
นายบุญรัตน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับร่างแผนปฏิบัติการการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ฉบับที่ 2 นั้น ล่าสุด ทราบว่าได้ยกเลิกการกำหนดการถ่ายโอนภารกิจด้านการอาชีวศึกษาในแผนปฏิบัติการฯแล้ว เพราะขณะนี้สถาบันการอาชีวศึกษาสามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี ซึ่งศักยภาพของ อปท.คงไม่เพียงพอในการจัดการศึกษาระดับปริญญา เพราะต้องใช้งบฯ จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทางคณะกรรมการกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจ ยังคงยืนยันที่จะให้ถ่ายโอนห้องสมุดประจำอำเภอ ที่ไม่ใช่สถานที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ
“เมื่อปรับหลักการให้ถ่ายโอนตำแหน่งไปพร้อมกับโรงเรียนที่ถ่ายโอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เดือดร้อนมาก เพราะไม่มีอัตรารองรับ ทำให้ต้องเสนอขออัตราใหม่ ดังนั้น คงต้องเร่งขอทบทวนหลักการถ่ายโอนบุคลากรโดยเร็ว เพื่อให้นำมาใช้ได้ทันในปีการศึกษา 2551 หรือปีงบประมาณ 2552 ซึ่ง รศ.วุฒิสาร ตันไชย ผู้แทน กกถ.ที่เป็นคณะอนุกรรมการด้านการถ่ายโอนข้าราชการครูฯ ไม่ขัดข้อง รอเพียงขอความเห็นชอบจากที่ประชุม กกถ.เท่านั้น”
รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะเสนอขอการสนับสนุนด้านงบประมาณให้กับสถานศึกษาที่ถ่ายโอนไป โดยเฉพาะเรื่องเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ อปท.จัดเตรียมงบประมาณไว้แต่เชื่อว่าไม่เพียงพอ เพราะ ศธ.ได้เสนอขอปรับเงินอุดหนุนรายหัวฯ เต็มตามผลการวิจัย จึงจะเสนอขอต่อ กกถ.เพื่อให้ อปท.ปรับเงินอุดหนุนรายหัว เงินเดือนครู รวมทั้งเงินวิทยฐานะโดยยึดฐานตัวเลขของ ศธ.
นายบุญรัตน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับร่างแผนปฏิบัติการการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ฉบับที่ 2 นั้น ล่าสุด ทราบว่าได้ยกเลิกการกำหนดการถ่ายโอนภารกิจด้านการอาชีวศึกษาในแผนปฏิบัติการฯแล้ว เพราะขณะนี้สถาบันการอาชีวศึกษาสามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี ซึ่งศักยภาพของ อปท.คงไม่เพียงพอในการจัดการศึกษาระดับปริญญา เพราะต้องใช้งบฯ จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทางคณะกรรมการกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจ ยังคงยืนยันที่จะให้ถ่ายโอนห้องสมุดประจำอำเภอ ที่ไม่ใช่สถานที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ