ปลัด ศธ.วอนโรงเรียนเอกชนตรึงเล่าเรียนในปี 2551 หลังสำนักงบประมาณเห็นชอบในหลักการตามที่ สพฐ.เสนอของบเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มตามผลวิจัยสำหรับสถานศึกษาทุกสังกัด ซึ่งสถานศึกษาสังกัด สช.จะได้รับงบเพิ่ม 153 ล้านบาท กำชับโรงเรียนห้ามเก็บแปะเจี๊ยะ
จากที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวเต็มตามงานวิจัย แต่เสนอขอภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ในทุกสังกัดก่อน ซึ่งจะใช้งบจำนวน 2,623 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นด้วยในหลักการ แต่จะดูรายละเอียดภาระงบประมาณอีกครั้งนั้น
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัด ศธ.กล่าวว่า หากสำนักงบประมาณเห็นชอบให้เพิ่มเงินอุดหนุนตามเพดานที่ สพฐ.เสนอขอ ในส่วนของสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 2 ล้านคน จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มขึ้นในภาคเรียนที่ 1/2511 จำนวน 153 ล้านบาท ส่วนสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ซึ่งมีนักเรียนที่เรียนการศึกษานอกระบบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1.3 ล้านคน จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มขึ้นจำนวน 203 ล้านบาท
นอกจากนี้ ตนยังได้เสนอขอปรับในส่วนค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างบุคลากรทดแทน และการซ่อมแซมอาคารเรียน ในส่วนของโรงเรียนประเภทการกุศล และศึกษาสงเคราะห์ในสังกัด สช.และศูนย์การเรียนในส่วนของ กศน.ตามหลักการเช่นเดียวกับที่โรงเรียนของรัฐในสังกัด สพฐ.ได้เสนอ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ได้ขอให้สำนักงบประมาณรับไปพิจารณาเพื่อสนับสนุน โดยอาจจัดเป็นเมกกะโปรเจ็กต์รวมกับ สพฐ.ไว้ในงบประมาณปี 2552
“ขอทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่า พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ให้อำนาจโรงเรียนเอกชนกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น โดยให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผย แต่จะเรียกเก็บเงินกินเปล่า หรือเงินแปะเจี๊ยะจากผู้ปกครอง หรือนักเรียนนอกเหนือจากที่ประกาศไว้ไม่ได้ และสำหรับค่าธรรมเนียมการเรียนภาคเรียนที่ 1/2551 นี้ ถ้าสำนักงบประมาณอนุมัติอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามที่ ศธ.เสนอขอ ทางโรงเรียนเอกชนก็ไม่ควรปรับเพิ่มจากปี 2550 แล้ว อย่างไรก็ตาม หากโรงเรียนกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น สูงเกินควร หรือแสวงหากำไรเกินควร คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เป็นประธาน ก็มีอำนาจสั่งลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ สำหรับโรงเรียนที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมเพราะเป็นโรงเรียนการกุศลหรือผู้ยากไร้ จะให้การอุดหนุนช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ ซึ่งโรงเรียนอาจจะขอการสนับสนุนงบประมาณปี 2552 ในด้านค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมแซมอาคารและค่าจ้างบุคลากรทดแทนได้” ปลัด ศธ.กล่าว
จากที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวเต็มตามงานวิจัย แต่เสนอขอภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ในทุกสังกัดก่อน ซึ่งจะใช้งบจำนวน 2,623 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นด้วยในหลักการ แต่จะดูรายละเอียดภาระงบประมาณอีกครั้งนั้น
นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัด ศธ.กล่าวว่า หากสำนักงบประมาณเห็นชอบให้เพิ่มเงินอุดหนุนตามเพดานที่ สพฐ.เสนอขอ ในส่วนของสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 2 ล้านคน จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มขึ้นในภาคเรียนที่ 1/2511 จำนวน 153 ล้านบาท ส่วนสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ซึ่งมีนักเรียนที่เรียนการศึกษานอกระบบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1.3 ล้านคน จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มขึ้นจำนวน 203 ล้านบาท
นอกจากนี้ ตนยังได้เสนอขอปรับในส่วนค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างบุคลากรทดแทน และการซ่อมแซมอาคารเรียน ในส่วนของโรงเรียนประเภทการกุศล และศึกษาสงเคราะห์ในสังกัด สช.และศูนย์การเรียนในส่วนของ กศน.ตามหลักการเช่นเดียวกับที่โรงเรียนของรัฐในสังกัด สพฐ.ได้เสนอ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ได้ขอให้สำนักงบประมาณรับไปพิจารณาเพื่อสนับสนุน โดยอาจจัดเป็นเมกกะโปรเจ็กต์รวมกับ สพฐ.ไว้ในงบประมาณปี 2552
“ขอทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่า พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ให้อำนาจโรงเรียนเอกชนกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมอื่น โดยให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผย แต่จะเรียกเก็บเงินกินเปล่า หรือเงินแปะเจี๊ยะจากผู้ปกครอง หรือนักเรียนนอกเหนือจากที่ประกาศไว้ไม่ได้ และสำหรับค่าธรรมเนียมการเรียนภาคเรียนที่ 1/2551 นี้ ถ้าสำนักงบประมาณอนุมัติอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามที่ ศธ.เสนอขอ ทางโรงเรียนเอกชนก็ไม่ควรปรับเพิ่มจากปี 2550 แล้ว อย่างไรก็ตาม หากโรงเรียนกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น สูงเกินควร หรือแสวงหากำไรเกินควร คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เป็นประธาน ก็มีอำนาจสั่งลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ สำหรับโรงเรียนที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมเพราะเป็นโรงเรียนการกุศลหรือผู้ยากไร้ จะให้การอุดหนุนช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ ซึ่งโรงเรียนอาจจะขอการสนับสนุนงบประมาณปี 2552 ในด้านค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมแซมอาคารและค่าจ้างบุคลากรทดแทนได้” ปลัด ศธ.กล่าว