“พงศกร” มอบนโยบาย สอศ.เล็งดึงเด็กมาเรียนอาชีวศึกษามากขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ระบุหลัง พ.ร.บ.อาชีวศึกษา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีได้ เชื่อเป็นแรงจูงใจให้คนมาเรียนมากขึ้น คาดเปิดสอนได้ไม่เกินปีนี้ เผย ป.ตรีอาชีวะจะเน้นเรื่องการปฏิบัติเป็นหลัก
นายพงศกร อรรณนพพร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้กับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า รัฐบาลและสังคมมีความคาดหวังกับ สอศ.สูงมาก เพราะจะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตกำลังคนออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยานยนต์ ปิโตรเคมี เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ทราบว่า สอศ.ได้เปิดวิทยาลัยเฉพาะทาง ดังนั้น หลังจากนี้ จะต้องมีการขยายเพิ่มเติมให้มากขึ้น รวมทั้งขยายโครงการต่างๆ ที่มีความสำคัญกับการผลิตกำลังคน เช่น โรงเรียนในโรงงาน โดยจะใช้โรงงานที่มีความพร้อมในภาคเอกชนและส่งนักเรียนเข้าไปเรียนในโรงงาน ทำให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้และประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะเป็นการแก้ปัญหาที่ขณะนี้ทุกภาคส่วนยังขาดแรงงานสายตรงอยู่
นายพงศกร กล่าวต่อไปว่า ส่วนปัญหาค่านิยมที่เด็กยังนิยมเรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีวศึกษานั้น ในวันนี้ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว ทำให้สถาบันการศึกษาในสังกัด สอศ.สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี ซึ่งตนเชื่อว่าจะเป็นการจูงใจให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดสอนระดับปริญญาตรี โดยหลักสูตรในระดับปริญญาตรีที่สถาบันการศึกษาจะเปิดสอนนั้น จะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยทั่วไป จะเน้นในสายปฏิบัติการเป็นหลัก เมื่อเรียนจบจะได้วุฒิการศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต ส่วนการผลักดันโครงการ 1 อำเภอ 1 อาชีวศึกษานั้น เรื่องนี้ขอศึกษารายละเอียดก่อนว่าจะต้องสานต่อโครงการนี้หรือไม่
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.กำลังจัดทำข้อมูลว่าสถาบันการศึกษาในสังกัด สอศ.แห่งใดบ้างที่มีความพร้อมจะเปิดสอนระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเปิดสอนให้ทันในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ซึ่งตั้งเป้าว่าจะรับนักศึกษารุ่นแรกประมาณ 1,000 คน ในหลักสูตรต่างๆ อาทิ ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ เป็นต้น สำหรับค่าเล่าเรียนนั้นจะถูกกว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยทั่วไป และนักศึกษาสามารถกู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดเด็กที่จบระดับปริญญาตรีดังกล่าวจะมีงานทำแน่นอน 100% เนื่องจากการเปิดสอนในแต่ละหลักสูตรจะเปิดสอนตามความต้องการ และความขาดแคลนของสถานประกอบการ ทั้งนี้จะร่วมกับสถานประกอบการ ภาคเอกชน มาร่วมในการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ด้วย
นายพงศกร อรรณนพพร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้กับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า รัฐบาลและสังคมมีความคาดหวังกับ สอศ.สูงมาก เพราะจะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตกำลังคนออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยานยนต์ ปิโตรเคมี เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ทราบว่า สอศ.ได้เปิดวิทยาลัยเฉพาะทาง ดังนั้น หลังจากนี้ จะต้องมีการขยายเพิ่มเติมให้มากขึ้น รวมทั้งขยายโครงการต่างๆ ที่มีความสำคัญกับการผลิตกำลังคน เช่น โรงเรียนในโรงงาน โดยจะใช้โรงงานที่มีความพร้อมในภาคเอกชนและส่งนักเรียนเข้าไปเรียนในโรงงาน ทำให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้และประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจะเป็นการแก้ปัญหาที่ขณะนี้ทุกภาคส่วนยังขาดแรงงานสายตรงอยู่
นายพงศกร กล่าวต่อไปว่า ส่วนปัญหาค่านิยมที่เด็กยังนิยมเรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีวศึกษานั้น ในวันนี้ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว ทำให้สถาบันการศึกษาในสังกัด สอศ.สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี ซึ่งตนเชื่อว่าจะเป็นการจูงใจให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดสอนระดับปริญญาตรี โดยหลักสูตรในระดับปริญญาตรีที่สถาบันการศึกษาจะเปิดสอนนั้น จะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยทั่วไป จะเน้นในสายปฏิบัติการเป็นหลัก เมื่อเรียนจบจะได้วุฒิการศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต ส่วนการผลักดันโครงการ 1 อำเภอ 1 อาชีวศึกษานั้น เรื่องนี้ขอศึกษารายละเอียดก่อนว่าจะต้องสานต่อโครงการนี้หรือไม่
นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.กำลังจัดทำข้อมูลว่าสถาบันการศึกษาในสังกัด สอศ.แห่งใดบ้างที่มีความพร้อมจะเปิดสอนระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเปิดสอนให้ทันในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ซึ่งตั้งเป้าว่าจะรับนักศึกษารุ่นแรกประมาณ 1,000 คน ในหลักสูตรต่างๆ อาทิ ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ เป็นต้น สำหรับค่าเล่าเรียนนั้นจะถูกกว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยทั่วไป และนักศึกษาสามารถกู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดเด็กที่จบระดับปริญญาตรีดังกล่าวจะมีงานทำแน่นอน 100% เนื่องจากการเปิดสอนในแต่ละหลักสูตรจะเปิดสอนตามความต้องการ และความขาดแคลนของสถานประกอบการ ทั้งนี้จะร่วมกับสถานประกอบการ ภาคเอกชน มาร่วมในการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ด้วย