“กษมา” ผุดนโยบายเรียนฟรีจริง! ประกาศโรงเรียนปลอดเก็บเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยจะประกาศชื่อโรงเรียนให้ผู้ปกครองรับทราบ เล็งเริ่มจาก ร.ร.ประถมก่อน ส่วนโรงเรียนดี-เด่น-ดัง ซึ่งมีประมาณร้อยละ 20 ยังเปิดให้ระดมทรัพยากรได้ ที่เหลืออีก ร้อยละ 80 ต้องปลอดการเก็บเงินเพิ่มเติมเพื่อลดภาระผู้ปกครอง
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.ได้มีนโยบายรณรงค์สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ ว่า เมื่อ สพฐ.มีการปรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นแล้ว โรงเรียนจะต้องลดค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนักเรียนลงในสัดส่วนเท่ากับที่ได้รับการอุดหนุนด้วย เช่น ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่ม 200 บาทต่อหัว ก็ต้องลดภาระผู้ปกครองลงให้ได้ 200 บาทด้วย ซึ่งในที่สุด สพฐ.จะเริ่มประกาศออกมาว่ามีโรงเรียนไหนบ้าง ที่นักเรียนเข้ามาเรียนแล้วจะไม่มีการเก็บเงิน หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเลยโดยเฉพาะโรงเรียนระดับประถมศึกษาในสังกัด สพฐ.ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ที่จะต้องประกาศรายชื่อโรงเรียนออกมาให้ได้ก่อน
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในเบื้องต้นจะต้องสำรวจข้อมูลโรงเรียนทั่วประเทศ ว่ามีแห่งไหนจะประกาศยืนยันไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งตนเคยหารือกับผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่ง ทราบว่า ทุกวันนี้ก็ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อมีการสำรวจและตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจนแล้วในปีการศึกษา2551นี้ อาจจะเริ่มประกาศรายชื่อโรงเรียนในระดับประถมศึกษาที่จะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มได้จำนวนหนึ่งก่อน
“นโยบายนี้เด็กที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนที่มีรายชื่ออยู่ในประกาศยืนยันจาก สพฐ.จะไม่เสียเงินเพิ่มเติมเลย แต่โรงเรียนเหล่านี้จะต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอ เพื่อพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพ และผ่านการประเมินมาตรฐานจากสำนักงานรับมองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะไม่เก็บเพิ่มเติมครอบคลุมทั้งหมด ทั้งค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนลูกเสือยุวนารี ค่าสอนคอมพิวเตอร์ เป็นต้นยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเด็กต้องเสียเองเช่น ค่าขนม ค่าชุดนักเรียน ของเด็กทั่วไปส่วนเด็กยากจนปกติ สพฐ.จะมีงบจัดซื้อให้อยู่แล้ว”
รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพฐ.) ทั่วประเทศระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคมนี้ จะมีการหารือ และแจ้ง ผอ.สพท.ให้ทราบนโยบายเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นนโยบายที่ดี เพราะจะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความสบายใจ และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้เพราะเป็นความคาดหวังของสังคม ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะต้องดำเนินการ และศึกษากันในระยะยาว ว่า โรงเรียนที่ประกาศไม่เก็บค่าใช้จ่ายเลยใน 5-10 ปี หากมาตรฐานขยับลง อย่างน้อยสังคมต้องช่วยดูแล แต่หากโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้ระดมทรัพยากรได้อย่างโปร่งใส เพื่อนำเงินมาพัฒนาการเรียนการสอน เด็กได้รับการดูแลที่ดีก็สนับสนุนให้โรงเรียนทำต่อไป
“สำหรับโรงเรียนดีเด่นดังแล้ว ยังต้องเปิดโอกาสให้ระดมทรัพยากรได้ ซึ่งน่าจะมีโรงเรียนส่วนนี้อยู่ 20% ส่วนอีก 80% ควรจะต้องประกาศเป็นโรงเรียนปลอดการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร”นายสมเกียรติ กล่าว
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.ได้มีนโยบายรณรงค์สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ ว่า เมื่อ สพฐ.มีการปรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นแล้ว โรงเรียนจะต้องลดค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากนักเรียนลงในสัดส่วนเท่ากับที่ได้รับการอุดหนุนด้วย เช่น ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่ม 200 บาทต่อหัว ก็ต้องลดภาระผู้ปกครองลงให้ได้ 200 บาทด้วย ซึ่งในที่สุด สพฐ.จะเริ่มประกาศออกมาว่ามีโรงเรียนไหนบ้าง ที่นักเรียนเข้ามาเรียนแล้วจะไม่มีการเก็บเงิน หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเลยโดยเฉพาะโรงเรียนระดับประถมศึกษาในสังกัด สพฐ.ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ที่จะต้องประกาศรายชื่อโรงเรียนออกมาให้ได้ก่อน
นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในเบื้องต้นจะต้องสำรวจข้อมูลโรงเรียนทั่วประเทศ ว่ามีแห่งไหนจะประกาศยืนยันไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งตนเคยหารือกับผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่ง ทราบว่า ทุกวันนี้ก็ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อมีการสำรวจและตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจนแล้วในปีการศึกษา2551นี้ อาจจะเริ่มประกาศรายชื่อโรงเรียนในระดับประถมศึกษาที่จะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มได้จำนวนหนึ่งก่อน
“นโยบายนี้เด็กที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนที่มีรายชื่ออยู่ในประกาศยืนยันจาก สพฐ.จะไม่เสียเงินเพิ่มเติมเลย แต่โรงเรียนเหล่านี้จะต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอ เพื่อพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพ และผ่านการประเมินมาตรฐานจากสำนักงานรับมองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะไม่เก็บเพิ่มเติมครอบคลุมทั้งหมด ทั้งค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนลูกเสือยุวนารี ค่าสอนคอมพิวเตอร์ เป็นต้นยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเด็กต้องเสียเองเช่น ค่าขนม ค่าชุดนักเรียน ของเด็กทั่วไปส่วนเด็กยากจนปกติ สพฐ.จะมีงบจัดซื้อให้อยู่แล้ว”
รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพฐ.) ทั่วประเทศระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคมนี้ จะมีการหารือ และแจ้ง ผอ.สพท.ให้ทราบนโยบายเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นนโยบายที่ดี เพราะจะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความสบายใจ และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้เพราะเป็นความคาดหวังของสังคม ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะต้องดำเนินการ และศึกษากันในระยะยาว ว่า โรงเรียนที่ประกาศไม่เก็บค่าใช้จ่ายเลยใน 5-10 ปี หากมาตรฐานขยับลง อย่างน้อยสังคมต้องช่วยดูแล แต่หากโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้ระดมทรัพยากรได้อย่างโปร่งใส เพื่อนำเงินมาพัฒนาการเรียนการสอน เด็กได้รับการดูแลที่ดีก็สนับสนุนให้โรงเรียนทำต่อไป
“สำหรับโรงเรียนดีเด่นดังแล้ว ยังต้องเปิดโอกาสให้ระดมทรัพยากรได้ ซึ่งน่าจะมีโรงเรียนส่วนนี้อยู่ 20% ส่วนอีก 80% ควรจะต้องประกาศเป็นโรงเรียนปลอดการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร”นายสมเกียรติ กล่าว