“จรวยพร” ระบุ ให้ สมศ.ตั้งเกณฑ์เพื่อประเมินโรงเรียนสังกัด กศน.สช.โดยนำร่องสังกัดละ 100 โรง ขณะเดียวกัน ให้ตั้งเกณฑ์ประเมินโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนระดับอนุบาลเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานไหนประเมินและองค์กรนานาชาติ ไม่มีเกณฑ์เฉพาะเด็กเล็ก เผยขณะนี้มีโรงเรียนนานาชาติผ่านเกณฑ์สากลเพียง 37 แห่งจาก 110 แห่ง
วันนี้ (22 ม.ค.) นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เผยผลการประชุมร่วมกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ถึงแนวทางความร่วมมือการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การศึกษานอกระบบ และโรงเรียนนานาชาติว่า ที่ประชุม มีมติให้ประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ กศน.3 ระบบ ประกอบด้วย 1.ระบบประกันคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.ระบบประกันคุณภาพในการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับหลักสูตรระยะสั้นวิชาชีพหรือพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3.ระบบประกันคุณภาพการจัดบริการการศึกษาตามอัธยาศัย
ทั้งนี้ ในปี 2551 กศน.จะเริ่มประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัด อำเภอนำร่อง จำนวน 100 แห่ง จากทั้งหมด 1,000 แห่ง จากนั้นจะให้ สมศ.เข้ามาประกันคุณภาพภายนอก ปี 2552 คาดว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี จะขยายการประกันคุณภาพภายในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนครบจำนวน นอกจากนี้ กศน.และ สช.ยังได้วางระบบร่วมกันในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับหลักสูตรระยะสั้นร่วมกัน ซึ่งจะใช้มาตรฐานตัวชี้วัดชุดเดียวกันในการประกันคุณภาพภายนอกในปี 2551 โดยเริ่มนำร่องในโรงเรียนเอกชนนอกระบบจำนวน 100 แห่ง จากทั้งหมด 4,000 แห่ง และโรงเรียนเอกชนจำนวน 100 แห่ง
นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการประเมินโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนนานาชาติ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษานอกระบบ ที่เปิดหลักสูตรระยะสั้น วิชาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ตามร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มาตรา 20 และ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ที่กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาได้เร่งรัดพัฒนาตนเอง
นางจรวยพร กล่าวด้วยว่า โดยหลักการโรงเรียนนานาชาติทุกแห่ง ต้องผ่านการประเมินและได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรระหว่างประเทศ ภายใน 6 ปี หลังจากวันที่ได้รับใบอนุญาตขอเปิดโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนนานาชาติ 110 แห่ง แบ่งออกเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาล 30 แห่ง และระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลาย 80 แห่ง และในจำนวนดังกล่าว มีโรงเรียนที่ผ่านการประเมินจากองค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลแล้ว 37 แห่ง อยู่ระหว่างการประเมิน 13 แห่ง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับโรงเรียนนานาชาติระดับอนุบาล 30 แห่งนั้น สช. ร่วมกับ สมศ.ทำตัวชี้วัดการประเมินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 เดือน จากนั้นจะผลักดันให้เข้าสู่การประเมินคุณภาพต่อไป ทั้งนี้พบว่าทุกโรงเรียนพร้อมที่จะเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา จะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ปกครอง ว่าจ่ายเงินแพงและเป็นโรงเรียนมีคุณภาพ
“เหตุผลตั้งเกณฑ์ประเมินโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนระดับอนุบาล เนื่องจากองค์กรระหว่างประเทศไม่มีเกณฑ์ประเมินระดับดังกล่าว อีกอย่างต่างประเทศไม่มีแห่งใดเปิดสอนเด็กเล็ก จึงจำเป็นต้องตั้งเกณฑ์ที่เหมาะสมขึ้นมาประเมินโรงเรียนเหล่านี้”
วันนี้ (22 ม.ค.) นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เผยผลการประชุมร่วมกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ถึงแนวทางความร่วมมือการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การศึกษานอกระบบ และโรงเรียนนานาชาติว่า ที่ประชุม มีมติให้ประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ กศน.3 ระบบ ประกอบด้วย 1.ระบบประกันคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.ระบบประกันคุณภาพในการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับหลักสูตรระยะสั้นวิชาชีพหรือพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3.ระบบประกันคุณภาพการจัดบริการการศึกษาตามอัธยาศัย
ทั้งนี้ ในปี 2551 กศน.จะเริ่มประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัด อำเภอนำร่อง จำนวน 100 แห่ง จากทั้งหมด 1,000 แห่ง จากนั้นจะให้ สมศ.เข้ามาประกันคุณภาพภายนอก ปี 2552 คาดว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี จะขยายการประกันคุณภาพภายในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนครบจำนวน นอกจากนี้ กศน.และ สช.ยังได้วางระบบร่วมกันในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับหลักสูตรระยะสั้นร่วมกัน ซึ่งจะใช้มาตรฐานตัวชี้วัดชุดเดียวกันในการประกันคุณภาพภายนอกในปี 2551 โดยเริ่มนำร่องในโรงเรียนเอกชนนอกระบบจำนวน 100 แห่ง จากทั้งหมด 4,000 แห่ง และโรงเรียนเอกชนจำนวน 100 แห่ง
นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการประเมินโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนนานาชาติ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษานอกระบบ ที่เปิดหลักสูตรระยะสั้น วิชาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ตามร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มาตรา 20 และ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ที่กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาได้เร่งรัดพัฒนาตนเอง
นางจรวยพร กล่าวด้วยว่า โดยหลักการโรงเรียนนานาชาติทุกแห่ง ต้องผ่านการประเมินและได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรระหว่างประเทศ ภายใน 6 ปี หลังจากวันที่ได้รับใบอนุญาตขอเปิดโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนนานาชาติ 110 แห่ง แบ่งออกเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาล 30 แห่ง และระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลาย 80 แห่ง และในจำนวนดังกล่าว มีโรงเรียนที่ผ่านการประเมินจากองค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลแล้ว 37 แห่ง อยู่ระหว่างการประเมิน 13 แห่ง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับโรงเรียนนานาชาติระดับอนุบาล 30 แห่งนั้น สช. ร่วมกับ สมศ.ทำตัวชี้วัดการประเมินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 เดือน จากนั้นจะผลักดันให้เข้าสู่การประเมินคุณภาพต่อไป ทั้งนี้พบว่าทุกโรงเรียนพร้อมที่จะเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา จะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ปกครอง ว่าจ่ายเงินแพงและเป็นโรงเรียนมีคุณภาพ
“เหตุผลตั้งเกณฑ์ประเมินโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนระดับอนุบาล เนื่องจากองค์กรระหว่างประเทศไม่มีเกณฑ์ประเมินระดับดังกล่าว อีกอย่างต่างประเทศไม่มีแห่งใดเปิดสอนเด็กเล็ก จึงจำเป็นต้องตั้งเกณฑ์ที่เหมาะสมขึ้นมาประเมินโรงเรียนเหล่านี้”