กูรูการศึกษา ระบุ การปรับหลักสูตรที่ผ่านมา ล้มเหลว เพราะจัดหลักสูตรส่วนกลางไปยังเด็ก เสนอปรับหลักสูตรครั้งนี้ แนะเพิ่มทักษะชีวิต เพื่อไม่ให้เด็กตกเป็นเครื่องมือการตลาด
วานนี้ (3 มี.ค.) ที่โรงแรมปริ๊นส์พาเลซ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมโต๊ะกลมรับฟังความคิดเห็น ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (ฉบับปรับปรุง) โดยมี นายสมชาย วงสวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สมาชิกผู้แทนราษฎร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ สื่อมวลชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนเข้าร่วม
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การปรับหลักสูตร2-3 ครั้งที่ผ่านมาของเราล้มเหลว เพราะการจัดหลักสูตรลงจากส่วนกลางไปยังตัวนักเรียน ซึ่งมองว่าหากจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้วงจรต่างๆ ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ต้องเอาครู นักเรียนและชุมชนเป็นตัวตั้ง ส่วนรัฐบาลมีนโยบายคุณภาพการศึกษาของประเทศ ถ้าหากหลักสูตรของเรายังไม่เข้มแข็งพอก็มองว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้
“ผมคิดว่าในส่วนของเนื้อหาควรมีการปรับให้เข้ากับการเรียนการสอน และในแต่ละดับชั้นไม่ควรจะใช้เนื้อหาทั้ง 8 กลุ่มสาระ เช่นในหลักสูตรควรต้องบอกเลยว่าระดับประถมจะลดหรือเพิ่มกลุ่มสาระใดบ้าง เพื่อให้ครูนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญต้องดูเรื่องการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน หลักสูตรต้องสะท้อนกับสถานการณ์ทางสังคม อย่างปัจจุบันนี้สังคมกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเด็กก้าวร้าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ควรมีการปรับแนวคิดเรื่อง 8 กลุ่มสาระ ที่ต้องเรียน 12 ชั้นปี ตนมองว่าไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก คือ ตามธรรมชาติความคิดของเด็กประถม และมัธยมแตกต่างกัน น่าจะมีสูตรใหม่เกิดขึ้น ยกตัวอย่าง เด็กประถมต้นเรียน 4 กลุ่มสาระ ประถมปลายเรียน 6 กลุ่มสาระ แล้วมัธยมค่อยเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระ ส่วนเนื้อค่อยๆ ลงลึกในรายละเอียด
นายพันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนะนำว่า ควรจะสอดแทรกเรื่องทักษะชีวิตเข้าไปใน 8 กลุ่มสาระด้วย เน้นเรื่องกิจกรรม เช่นสอนโดยวิธีการยกตัวอย่างมากขึ้น เหตุผลที่อยากให้แทรกเรื่องทักษะชีวิตเพราะในปัจจุบันนี้เราตกเป็นเครื่องมือของนักการตลาดโดยไม่รู้ตัว ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถค้นคว้าผ่านเทคโนโลยี ซึ่งวิธีนี้ใกล้ชิดกับเด็ก และจะช่วยส่งเสริมเรื่องการเรียนด้วยทักษะชีวิตได้ดีขึ้น
คุณหญิงกษมา กล่าวว่า ทุกคนเห็นด้วยว่าหลักสูตรจะต้องมีการปรับปรุง เช่น หลักสูตรต้องเชื่อมโยงกับชีวิตจริง มีความสมดุล โดยคำนึงถึงความพร้อมและพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงชั้น ซึ่งวันนี้มีข้อเสนอว่าควรจะลดสาระบางกลุ่มลง และให้เด็กเข้าใจว่าตนเองเรียนเพื่อต้องการอะไร
และหลังจากการประชุมครั้งนี้จะนำข้อสรุปที่ได้ไปประมวลผลรวมกับผลการประชาพิจารณ์ทั้ง 4 ภาคที่ผ่านมาและจะเชิญผู้รู้ เช่น นักการศึกษาแพทย์ ครูและผู้เกี่ยวข้องมาฟันธงว่าในแต่ละกลุ่มสาระควรจะเพิ่มหรือลดในเรื่องใดบ้าง
วานนี้ (3 มี.ค.) ที่โรงแรมปริ๊นส์พาเลซ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมโต๊ะกลมรับฟังความคิดเห็น ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (ฉบับปรับปรุง) โดยมี นายสมชาย วงสวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สมาชิกผู้แทนราษฎร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ สื่อมวลชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนเข้าร่วม
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การปรับหลักสูตร2-3 ครั้งที่ผ่านมาของเราล้มเหลว เพราะการจัดหลักสูตรลงจากส่วนกลางไปยังตัวนักเรียน ซึ่งมองว่าหากจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้วงจรต่างๆ ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ต้องเอาครู นักเรียนและชุมชนเป็นตัวตั้ง ส่วนรัฐบาลมีนโยบายคุณภาพการศึกษาของประเทศ ถ้าหากหลักสูตรของเรายังไม่เข้มแข็งพอก็มองว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้
“ผมคิดว่าในส่วนของเนื้อหาควรมีการปรับให้เข้ากับการเรียนการสอน และในแต่ละดับชั้นไม่ควรจะใช้เนื้อหาทั้ง 8 กลุ่มสาระ เช่นในหลักสูตรควรต้องบอกเลยว่าระดับประถมจะลดหรือเพิ่มกลุ่มสาระใดบ้าง เพื่อให้ครูนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญต้องดูเรื่องการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน หลักสูตรต้องสะท้อนกับสถานการณ์ทางสังคม อย่างปัจจุบันนี้สังคมกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเด็กก้าวร้าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ควรมีการปรับแนวคิดเรื่อง 8 กลุ่มสาระ ที่ต้องเรียน 12 ชั้นปี ตนมองว่าไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก คือ ตามธรรมชาติความคิดของเด็กประถม และมัธยมแตกต่างกัน น่าจะมีสูตรใหม่เกิดขึ้น ยกตัวอย่าง เด็กประถมต้นเรียน 4 กลุ่มสาระ ประถมปลายเรียน 6 กลุ่มสาระ แล้วมัธยมค่อยเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระ ส่วนเนื้อค่อยๆ ลงลึกในรายละเอียด
นายพันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนะนำว่า ควรจะสอดแทรกเรื่องทักษะชีวิตเข้าไปใน 8 กลุ่มสาระด้วย เน้นเรื่องกิจกรรม เช่นสอนโดยวิธีการยกตัวอย่างมากขึ้น เหตุผลที่อยากให้แทรกเรื่องทักษะชีวิตเพราะในปัจจุบันนี้เราตกเป็นเครื่องมือของนักการตลาดโดยไม่รู้ตัว ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถค้นคว้าผ่านเทคโนโลยี ซึ่งวิธีนี้ใกล้ชิดกับเด็ก และจะช่วยส่งเสริมเรื่องการเรียนด้วยทักษะชีวิตได้ดีขึ้น
คุณหญิงกษมา กล่าวว่า ทุกคนเห็นด้วยว่าหลักสูตรจะต้องมีการปรับปรุง เช่น หลักสูตรต้องเชื่อมโยงกับชีวิตจริง มีความสมดุล โดยคำนึงถึงความพร้อมและพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงชั้น ซึ่งวันนี้มีข้อเสนอว่าควรจะลดสาระบางกลุ่มลง และให้เด็กเข้าใจว่าตนเองเรียนเพื่อต้องการอะไร
และหลังจากการประชุมครั้งนี้จะนำข้อสรุปที่ได้ไปประมวลผลรวมกับผลการประชาพิจารณ์ทั้ง 4 ภาคที่ผ่านมาและจะเชิญผู้รู้ เช่น นักการศึกษาแพทย์ ครูและผู้เกี่ยวข้องมาฟันธงว่าในแต่ละกลุ่มสาระควรจะเพิ่มหรือลดในเรื่องใดบ้าง