นักวิชาการ ชี้ ไม่จำเป็นต้องฟื้น กรอ.เพราะรวมอยู่ใน กยศ.อยู่แล้ว เพื่อลดความซ้ำซ้อน แค่จัดเงินกู้ให้นักเรียน นักศึกษาได้อย่างพอเพียง และครอบคลุมก็ถือว่าประสบความสำเร็จ โดยไม่จำเป็นต้องฟื้นกองทุนขึ้นมาใหม่ ขณะที่ขอให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ดีกว่าการแจกคอมพ์ล้านเครื่อง พร้อมฝากงานการศึกษา รมว.ศึกษาฯ ใหม่ 3 เรื่อง
นายอมรวิชช์ นาครทรรพ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบายด้านการศึกษาที่ นายสมชาย วงสวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ แถลงเป็นนโยบายกว้างๆ ที่พูดถึงการพัฒนาครู และการยกระดับคุณภาพผู้เรียน แต่ที่ รมว.ศึกษาธิการ พูดชัดเจน คือ จะมีการหารือกับข้าราชการประจำก่อน ซึ่งเข้าใจว่า เพราะเคยเป็นปลัดกระทรวงมาก่อน จึงเข้าใจการทำงานของข้าราชการประจำ คิดว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีการวางพื้นฐานงานหลายเรื่องมาดี จนแทบไม่ต้องมาแก้ปัญหาใหม่ เพียงสานต่อเรื่องที่ทำสำเร็จไว้อยู่แล้ว ก็น่าจะเพียงพอ
“ส่วนการฟื้น กรอ.นั้น มองว่า เป็นเจตนาดี แต่ความจริงกองทุนนี้ไม่ได้หายไปไหน แต่รวมอยู่ใน กยศ.ซึ่งรัฐบาลที่แล้วรวมไว้เพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อน อยากให้ รมว.ศธ.ศึกษาข้อมูลก่อน หากสามารถให้เด็กกู้ได้อย่างเพียงพอ และครอบคลุมตามเป้าหมาย ก็ถือว่าเป็นการทำตามที่ได้หาเสียงกับประชาชนไว้โดยไม่ต้องทำขึ้นมาใหม่ รวมถึงโครงการคอมพิวเตอร์ 1 ล้านเครื่อง ก็เป็นการต่อยอดโครงการที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่โครงการใหม่ แต่ขอให้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ ไม่เช่นนั้นโรงเรียนบางแห่งอาจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าบริหารได้ดี ก็จะได้คะแนนนิยมจากประชาชนมาก โดยไม่ต้องเปลืองเงิน”
นายอมรวิชช์ กล่าวต่อไปว่า ขอฝากรัฐมนตรีใหม่เร่งดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 1. การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งเป็นปัญหามาตลอดและใช้งบประมาณมหาศาล โดยควรสานต่อการลดจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กด้วยการรวมเป็นเครือข่าย และค่อยๆ ยุบรวม ซึ่งจะทำให้สามารถทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้เต็มที่
2.การพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเดิมมียุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่แล้ว ทั้งสายสามัญ โรงเรียนสอนศาสนา ปอเนาะ และการส่งเสริมการมีงานทำของเยาวชน ที่สามารถสานต่อได้เลย ซึ่งจะไม่ส่งผลดีเฉพาะคุณภาพการศึกษาเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อความมั่นคงในพื้นที่ด้วย
3.การพัฒนาการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเป็นปัญหามากเช่นกัน เพราะหากเด็กเล็กขาดความพร้อม เมื่อเข้าสู่การศึกษาระดับพื้นฐานก็จะเป็นปัญหาด้วย ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้ มีฐานงานเดิมอยู่แล้ว เพียงหารือกับฝ่ายข้าราชการประจำ และทุ่มฝีมือในการบริหารสานต่องานเดิม ก็จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐมนตรีเอง และรัฐบาล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนักการศึกษา แต่ขอให้มองประโยชน์ต่อเด็ก และประชาชน ก็อาจจะได้เห็นผลงานที่ดีจากรัฐบาลนี้ได้
นายอมรวิชช์ นาครทรรพ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบายด้านการศึกษาที่ นายสมชาย วงสวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ แถลงเป็นนโยบายกว้างๆ ที่พูดถึงการพัฒนาครู และการยกระดับคุณภาพผู้เรียน แต่ที่ รมว.ศึกษาธิการ พูดชัดเจน คือ จะมีการหารือกับข้าราชการประจำก่อน ซึ่งเข้าใจว่า เพราะเคยเป็นปลัดกระทรวงมาก่อน จึงเข้าใจการทำงานของข้าราชการประจำ คิดว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีการวางพื้นฐานงานหลายเรื่องมาดี จนแทบไม่ต้องมาแก้ปัญหาใหม่ เพียงสานต่อเรื่องที่ทำสำเร็จไว้อยู่แล้ว ก็น่าจะเพียงพอ
“ส่วนการฟื้น กรอ.นั้น มองว่า เป็นเจตนาดี แต่ความจริงกองทุนนี้ไม่ได้หายไปไหน แต่รวมอยู่ใน กยศ.ซึ่งรัฐบาลที่แล้วรวมไว้เพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อน อยากให้ รมว.ศธ.ศึกษาข้อมูลก่อน หากสามารถให้เด็กกู้ได้อย่างเพียงพอ และครอบคลุมตามเป้าหมาย ก็ถือว่าเป็นการทำตามที่ได้หาเสียงกับประชาชนไว้โดยไม่ต้องทำขึ้นมาใหม่ รวมถึงโครงการคอมพิวเตอร์ 1 ล้านเครื่อง ก็เป็นการต่อยอดโครงการที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่โครงการใหม่ แต่ขอให้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ ไม่เช่นนั้นโรงเรียนบางแห่งอาจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าบริหารได้ดี ก็จะได้คะแนนนิยมจากประชาชนมาก โดยไม่ต้องเปลืองเงิน”
นายอมรวิชช์ กล่าวต่อไปว่า ขอฝากรัฐมนตรีใหม่เร่งดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 1. การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งเป็นปัญหามาตลอดและใช้งบประมาณมหาศาล โดยควรสานต่อการลดจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กด้วยการรวมเป็นเครือข่าย และค่อยๆ ยุบรวม ซึ่งจะทำให้สามารถทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้เต็มที่
2.การพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเดิมมียุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่แล้ว ทั้งสายสามัญ โรงเรียนสอนศาสนา ปอเนาะ และการส่งเสริมการมีงานทำของเยาวชน ที่สามารถสานต่อได้เลย ซึ่งจะไม่ส่งผลดีเฉพาะคุณภาพการศึกษาเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อความมั่นคงในพื้นที่ด้วย
3.การพัฒนาการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเป็นปัญหามากเช่นกัน เพราะหากเด็กเล็กขาดความพร้อม เมื่อเข้าสู่การศึกษาระดับพื้นฐานก็จะเป็นปัญหาด้วย ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้ มีฐานงานเดิมอยู่แล้ว เพียงหารือกับฝ่ายข้าราชการประจำ และทุ่มฝีมือในการบริหารสานต่องานเดิม ก็จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐมนตรีเอง และรัฐบาล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนักการศึกษา แต่ขอให้มองประโยชน์ต่อเด็ก และประชาชน ก็อาจจะได้เห็นผลงานที่ดีจากรัฐบาลนี้ได้