ผอ.ร.ร.ดังวอน บิ๊ก ศธ.แก้ประกาศรับนักเรียนของ “วิจิตร” ห้าม ร.ร.เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผปค.ระบุ ประกาศนี้ทำให้โรงเรียนดังไม่สามารถจัดการศึกษาให้มีคุณภาพต่อได้ เคราะห์ซ้ำโดนประกาศรับนักเรียนห้ามรับบริจาคช่วงเทศกาลรับเด็กด้วย ด้าน นายก สบมท.จี้ สพฐ.เร่งเสนอ รมว.ศธ.ลงนามประกาศระดมทรัพยากรก่อนเปิดเทอม เพื่อเปิดช่องให้ ร.ร.ระดมเงินจากผู้ปกครองมาวางแผนจัดการศึกษาในรอบปี
นายอมรรัตน์ ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการ ร.ร.บดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กล่าวว่า กลุ่ม ร.ร.มัธยมได้สะท้อนปัญหาให้ผู้ใหญ่ใน ศธ.รับทราบไปว่า ร.ร.มัธยมได้รับผลกระทบจากประกาศ ศธ.เรื่องการเก็บเงินบำรุงการศึกษา ที่ นายวิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมว.ศธ.ได้ลงนามไว้ ซึ่งประกาศฉบับห้าม ร.ร.เก็บค่าใช่จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของการบำรุงการศึกษาจากผู้ปกครอง แต่สามารถเก็บได้เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ ร.ร.จัดการศึกษานอกเหนือหลักสูตร
ซึ่ง ร.ร.ได้รับผลกระทบจากนโยบายห้าม ร.ร.สมาคมผู้ปกครอง รับเงินบริจาค ในช่วงรับนักเรียน ปีการศึกษา 2551 ที่โดยก่อนหน้าที่จะมีประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ออกมา เมื่อรับนักเรียนไปแล้ว ร.ร.สามารถขอรับบริจาคจากผู้ปกครองได้ โดยความสมัครใจตามศรัทธา และตามความสามารถที่ผู้ปกครองจะช่วยได้ ขณะเดียวกัน ร.ร.มีการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมนอกเหนือหลักสูตร เช่น จ้างครูจากต่างประเทศสอนภาษาอังกฤษทุกระดับชั้น ซึ่งเงินเดือนของครูต่างประเทศตกเดือนละ 40,000 บาทต่อคน ซึ่งสามารถที่จะขอเก็บเพิ่มเติมจากผู้ปกครองได้
“ถ้ามีประกาศห้ามเก็บเงินเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง ต่อไป ร.ร.อาจจะต้องงดกิจกรรมนอกเหนือหลักสูตรลง เช่น ไม่จ้างครูต่างประเทศมาสอนอังกฤษแล้ว ตรงนี้ทำให้คุณภาพลดลง ทำให้เด็กไม่ได้รับในสิ่งที่ผู้ปกครองคาดหวัง เพราะฉะนั้น อยากให้ผู้ใหญ่ใน ศธ.ช่วยดูแลเรื่องนี้ โดยอนุญาตให้ ร.ร.รบกวนผู้ปกครองได้บางรายการ ซึ่งสามารถทำได้ โดยไม่ต้องยกเลิกประกาศสมัย ศ.ดร.วิจิตร เพียงแค่ออกประกาศเพิ่มเติม”นายอมรรัตน์ เสนอ
นายประกาศิต ยังคง ผู้อำนวยการ ร.ร.เทพศิรินทร์ กล่าวว่า ถึงแม้จะมีการปรับค่าใช้จ่ายรายหัวใหม่ในระดับ ม.ต้น เพิ่มจาก 2,649 บาทต่อคนต่อปี เป็น 3,500 บาทต่อคนต่อปี และ ม.ปลาย เพิ่มจาก 3,249 บาทต่อคนต่อปี เป็น 3,800 บาทต่อคนต่อปี ภายในปีการศึกษา 2551 ก็ยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจริงของโรงเรียน โดยเฉพาะ ร.ร.ขนาดใหญ่จะต้องแบกรับค่าสาธารณูปโภคหลายล้านบาท เพราะ ร.ร.ใหญ่ หรือ ร.ร.ยอดนิยมต้องรับนักเรียนจำนวนมาก เช่น ร.ร.เทพศิรินทร์ ได้ค่าใช้จ่ายรายหัวประมาณ 8 ล้านบาท แต่ค่าสาธารณูปโภคต้องจ่ายถึงปีละ 5 ล้านบาท ค่าน้ำมันและยานพาหนะ อีกกว่า 1 ล้านบาท นอกจากนั้น การเรียนรู้สมัยใหม่จะต้องใช้เครื่องมือเครื่องไม้ที่ทันสมัย เน้นการนำนักเรียนไปทำกิจกรรมตามแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งตรงนี้ใช้เงินมหาศาล เพราะฉะนั้นเพียงค่าใช้จ่ายรายหัวที่ให้ไม่พอ และหากไม่เปิดโอกาสให้ ร.ร.ระดมทรัพยากร หรือเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครองได้ ร.ร.ก็คงไม่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพพิเศษอย่างที่ผ่านมา อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายรายหัวที่ปรับใหม่นั้นเพียงพอสำหรับการจัดการศึกษา ให้ได้มาตรฐานขั้นต้นเท่านั้น
ด้าน นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) กล่าวว่า สบมท.เป็นห่วง ร.ร.มัธยมมากในปัญหาข้างต้นและอยากให้ ศธ.เร่งแก้ปัญหานี้ ทั้งนี้ ตนได้เป็นหนึ่งในกรรมการร่างระเบียบระดมทรัพยากร ซึ่งมี นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน อยากจะให้ สพฐ.และ ศธ.เร่งตัดสินใจ และประกาศใช้ร่าง ภายในต้นเดือน มี.ค.ก่อนจะเปิดภาคเรียน เพื่อให้ ร.ร.สามารถที่จะระดมทรัพยากรได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้ ร.ร.จะทำแผนพัฒนา ร.ร.ได้นั้นต้องรู้ว่าตนเองมีเงินเท่าใด อยากให้ออกโดยเร็ว
นอกจากนั้น ในการประชุมสามัญใหญ่ของ สมบท.ระหว่างวันที่ 26-27 ก.พ.ที่ จ.ตรัง ร.ร.มัธยมที่มาร่วมจะหารือเรื่องนี้กัน รวมทั้งหารือเรื่องการจัดการศึกษาฟรี 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามมาตร 49 ของรัฐธรรมนูญ ด้วย ที่สำคัญจะมีการหารือเรื่องการแยกการจัดการศึกษาระดับมัธยมออกมาจาก สพฐ.แล้วจัดตั้งหน่วยงานรองรับการจัดการศึกษาระดับมัธยมโดยเฉพาะ ซึ่งตนยืนยันว่า ผอ.ร.ร.มัธยมเกือบ 100% เห็นด้วยกับการให้แยกจัดตั้งสำนักมัธยมเพราะต้องการให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับมัธยม ส่วนการศึกษาระดับประถม มีหน่วยงานดูแลต่างหาก ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการดีกว่ามาอยู่รวมกันและสะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาด้วย
นายอมรรัตน์ ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการ ร.ร.บดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กล่าวว่า กลุ่ม ร.ร.มัธยมได้สะท้อนปัญหาให้ผู้ใหญ่ใน ศธ.รับทราบไปว่า ร.ร.มัธยมได้รับผลกระทบจากประกาศ ศธ.เรื่องการเก็บเงินบำรุงการศึกษา ที่ นายวิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมว.ศธ.ได้ลงนามไว้ ซึ่งประกาศฉบับห้าม ร.ร.เก็บค่าใช่จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของการบำรุงการศึกษาจากผู้ปกครอง แต่สามารถเก็บได้เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ ร.ร.จัดการศึกษานอกเหนือหลักสูตร
ซึ่ง ร.ร.ได้รับผลกระทบจากนโยบายห้าม ร.ร.สมาคมผู้ปกครอง รับเงินบริจาค ในช่วงรับนักเรียน ปีการศึกษา 2551 ที่โดยก่อนหน้าที่จะมีประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ออกมา เมื่อรับนักเรียนไปแล้ว ร.ร.สามารถขอรับบริจาคจากผู้ปกครองได้ โดยความสมัครใจตามศรัทธา และตามความสามารถที่ผู้ปกครองจะช่วยได้ ขณะเดียวกัน ร.ร.มีการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมนอกเหนือหลักสูตร เช่น จ้างครูจากต่างประเทศสอนภาษาอังกฤษทุกระดับชั้น ซึ่งเงินเดือนของครูต่างประเทศตกเดือนละ 40,000 บาทต่อคน ซึ่งสามารถที่จะขอเก็บเพิ่มเติมจากผู้ปกครองได้
“ถ้ามีประกาศห้ามเก็บเงินเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง ต่อไป ร.ร.อาจจะต้องงดกิจกรรมนอกเหนือหลักสูตรลง เช่น ไม่จ้างครูต่างประเทศมาสอนอังกฤษแล้ว ตรงนี้ทำให้คุณภาพลดลง ทำให้เด็กไม่ได้รับในสิ่งที่ผู้ปกครองคาดหวัง เพราะฉะนั้น อยากให้ผู้ใหญ่ใน ศธ.ช่วยดูแลเรื่องนี้ โดยอนุญาตให้ ร.ร.รบกวนผู้ปกครองได้บางรายการ ซึ่งสามารถทำได้ โดยไม่ต้องยกเลิกประกาศสมัย ศ.ดร.วิจิตร เพียงแค่ออกประกาศเพิ่มเติม”นายอมรรัตน์ เสนอ
นายประกาศิต ยังคง ผู้อำนวยการ ร.ร.เทพศิรินทร์ กล่าวว่า ถึงแม้จะมีการปรับค่าใช้จ่ายรายหัวใหม่ในระดับ ม.ต้น เพิ่มจาก 2,649 บาทต่อคนต่อปี เป็น 3,500 บาทต่อคนต่อปี และ ม.ปลาย เพิ่มจาก 3,249 บาทต่อคนต่อปี เป็น 3,800 บาทต่อคนต่อปี ภายในปีการศึกษา 2551 ก็ยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายจริงของโรงเรียน โดยเฉพาะ ร.ร.ขนาดใหญ่จะต้องแบกรับค่าสาธารณูปโภคหลายล้านบาท เพราะ ร.ร.ใหญ่ หรือ ร.ร.ยอดนิยมต้องรับนักเรียนจำนวนมาก เช่น ร.ร.เทพศิรินทร์ ได้ค่าใช้จ่ายรายหัวประมาณ 8 ล้านบาท แต่ค่าสาธารณูปโภคต้องจ่ายถึงปีละ 5 ล้านบาท ค่าน้ำมันและยานพาหนะ อีกกว่า 1 ล้านบาท นอกจากนั้น การเรียนรู้สมัยใหม่จะต้องใช้เครื่องมือเครื่องไม้ที่ทันสมัย เน้นการนำนักเรียนไปทำกิจกรรมตามแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งตรงนี้ใช้เงินมหาศาล เพราะฉะนั้นเพียงค่าใช้จ่ายรายหัวที่ให้ไม่พอ และหากไม่เปิดโอกาสให้ ร.ร.ระดมทรัพยากร หรือเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครองได้ ร.ร.ก็คงไม่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพพิเศษอย่างที่ผ่านมา อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายรายหัวที่ปรับใหม่นั้นเพียงพอสำหรับการจัดการศึกษา ให้ได้มาตรฐานขั้นต้นเท่านั้น
ด้าน นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) กล่าวว่า สบมท.เป็นห่วง ร.ร.มัธยมมากในปัญหาข้างต้นและอยากให้ ศธ.เร่งแก้ปัญหานี้ ทั้งนี้ ตนได้เป็นหนึ่งในกรรมการร่างระเบียบระดมทรัพยากร ซึ่งมี นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน อยากจะให้ สพฐ.และ ศธ.เร่งตัดสินใจ และประกาศใช้ร่าง ภายในต้นเดือน มี.ค.ก่อนจะเปิดภาคเรียน เพื่อให้ ร.ร.สามารถที่จะระดมทรัพยากรได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้ ร.ร.จะทำแผนพัฒนา ร.ร.ได้นั้นต้องรู้ว่าตนเองมีเงินเท่าใด อยากให้ออกโดยเร็ว
นอกจากนั้น ในการประชุมสามัญใหญ่ของ สมบท.ระหว่างวันที่ 26-27 ก.พ.ที่ จ.ตรัง ร.ร.มัธยมที่มาร่วมจะหารือเรื่องนี้กัน รวมทั้งหารือเรื่องการจัดการศึกษาฟรี 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามมาตร 49 ของรัฐธรรมนูญ ด้วย ที่สำคัญจะมีการหารือเรื่องการแยกการจัดการศึกษาระดับมัธยมออกมาจาก สพฐ.แล้วจัดตั้งหน่วยงานรองรับการจัดการศึกษาระดับมัธยมโดยเฉพาะ ซึ่งตนยืนยันว่า ผอ.ร.ร.มัธยมเกือบ 100% เห็นด้วยกับการให้แยกจัดตั้งสำนักมัธยมเพราะต้องการให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับมัธยม ส่วนการศึกษาระดับประถม มีหน่วยงานดูแลต่างหาก ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการดีกว่ามาอยู่รวมกันและสะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาด้วย