3 ตัวเก็ง “พลเดช-พินิจ-อำนวย” ชิงเก้าอี้เลขาสปสช.คุณสมบัติไม่ชัด สปสช.ส่งกฤษฎีกาตีความเข้าข่ายเป็นคู่สัญญากับ สปสช.หรือไม่ พร้อมเตรียมเรียกแสดงวิสัยทัศน์ 29 ก.พ.และ 4 มี.ค.นี้ ส่วน 10 มี.ค.รู้ผลใครได้ตำแหน่ง
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสรรหาตำแหน่งเลขาธิการ สปสช.คนใหม่ แทน นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเยื้อหุ้มปอด ว่า จากการเปิดรับสมัครสรรหาตำแหน่งเลขาธิการ สปสช.มีผู้ลงสมัครทั้งสิ้น 21 ราย ในจำนวนนี้เมื่อพิจารณาด้านคุณสมบัติ พบว่า มี 3 รายที่ยังไม่มีความชัดเจน ประกอบด้วย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป อายุ 52 ปี เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และอดีต รมช.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นพ.พินิจ หิรัญโชติ อายุ 59 ปี ผู้อำนวยการ รพ.นครปฐม และกรรมการแพทยสภา และ นพ.อำนวย กาจีนะ อายุ 51 ปี ที่ปรึกษาระดับกระทรวงด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อดีตรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ.ซึ่งทั้ง 3 รายอาจเข้าข่ายผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(12) แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการของ สปสช.ต้องไม่เป็นคู่สัญญากับ สปสช.ภายในเวลา 1 ปี ดังนั้น สปสช.จึงได้ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ตีความกรณีผู้สมัครทั้ง 3 รายเพื่อความชัดเจนเรียบร้อยแล้ว คาดว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสรรหาได้กำหนดวันในการเชิญผู้สมัครทั้ง 21 รายแสดงวิสัยทัศน์แล้ว คือ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ และ วันที่ 4 มีนาคม หลังจากนั้นคณะกรรมการสรรหาจะนำผลการพิจารณาและการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา นำเข้าที่ประชุมผู้บริหาร สปสช. ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ เพื่อสรุปผลการสรรหาตำแหน่งเลขาธิการ สปสช. ซึ่งในการแสดงวิสัยทัศน์นอกจากผู้สมัครจะได้แสดงความรู้ ความสามารถ ความชำนาญเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย และจะต้องแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ เป็นกลางด้วย
รายงานข่าวจากคณะกรรมการสรรหา กล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 3 ราย พบว่า เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(12) ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นพ.พลเดช ได้ทำสัญญาจ้างกับสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ซึ่งมี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน จ้างดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล สัญญาจ้างเลขที่ 109/2549 ทำสัญญาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549 นพ.พินิจ ในฐานะกรรมการแพทยสภา ได้ลงนามเป็นคู่สัญญากับสปสช.วันที่ 28 กันยายน 2550 เรื่องโครงการสร้างความปลอดภัยของผู้ป่วยจากการใช้ยา สัญญาเลขที่ 228/2550 ส่วน นพ.อำนวย เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานดังกล่าวถือว่ามีลักษณะเป็นนิติบุคคล และเป็นคู่สัญญาจ้างกับสปสช.ด้วย
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสรรหาตำแหน่งเลขาธิการ สปสช.คนใหม่ แทน นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเยื้อหุ้มปอด ว่า จากการเปิดรับสมัครสรรหาตำแหน่งเลขาธิการ สปสช.มีผู้ลงสมัครทั้งสิ้น 21 ราย ในจำนวนนี้เมื่อพิจารณาด้านคุณสมบัติ พบว่า มี 3 รายที่ยังไม่มีความชัดเจน ประกอบด้วย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป อายุ 52 ปี เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และอดีต รมช.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นพ.พินิจ หิรัญโชติ อายุ 59 ปี ผู้อำนวยการ รพ.นครปฐม และกรรมการแพทยสภา และ นพ.อำนวย กาจีนะ อายุ 51 ปี ที่ปรึกษาระดับกระทรวงด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อดีตรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ.ซึ่งทั้ง 3 รายอาจเข้าข่ายผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(12) แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการของ สปสช.ต้องไม่เป็นคู่สัญญากับ สปสช.ภายในเวลา 1 ปี ดังนั้น สปสช.จึงได้ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ตีความกรณีผู้สมัครทั้ง 3 รายเพื่อความชัดเจนเรียบร้อยแล้ว คาดว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสรรหาได้กำหนดวันในการเชิญผู้สมัครทั้ง 21 รายแสดงวิสัยทัศน์แล้ว คือ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ และ วันที่ 4 มีนาคม หลังจากนั้นคณะกรรมการสรรหาจะนำผลการพิจารณาและการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา นำเข้าที่ประชุมผู้บริหาร สปสช. ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ เพื่อสรุปผลการสรรหาตำแหน่งเลขาธิการ สปสช. ซึ่งในการแสดงวิสัยทัศน์นอกจากผู้สมัครจะได้แสดงความรู้ ความสามารถ ความชำนาญเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย และจะต้องแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ เป็นกลางด้วย
รายงานข่าวจากคณะกรรมการสรรหา กล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 3 ราย พบว่า เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32(12) ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นพ.พลเดช ได้ทำสัญญาจ้างกับสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ซึ่งมี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน จ้างดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล สัญญาจ้างเลขที่ 109/2549 ทำสัญญาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549 นพ.พินิจ ในฐานะกรรมการแพทยสภา ได้ลงนามเป็นคู่สัญญากับสปสช.วันที่ 28 กันยายน 2550 เรื่องโครงการสร้างความปลอดภัยของผู้ป่วยจากการใช้ยา สัญญาเลขที่ 228/2550 ส่วน นพ.อำนวย เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานดังกล่าวถือว่ามีลักษณะเป็นนิติบุคคล และเป็นคู่สัญญาจ้างกับสปสช.ด้วย