กทม.เตรียมเรียกเก็บภาษีป้ายจากฮัลโหล บางกอกโดยดูตามน้ำหนักของรถที่นำมาดัดแปลง เผยหากเกิน 1,600 กิโลกรัม โดนแน่ ขณะที่ เขตจตุจักร เรียกฮัลโหลฯ ให้ข้อมูลป้ายเพื่อคำนวณภาษีแล้ว คาดไม่มีปัญหา ส่วนประเด็นบดบังทัศนียภาพหากอันตรายตำรวจต้องจัดการไม่ใช่ กทม.
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงกรณีป้ายโฆษณาของบริษัท ฮัลโหล บางกอก ว่า กทม.เตรียมดำเนินการเรียกเก็บภาษีป้ายจากบริษัทดังกล่าวตามกฎหมาย ซึ่งทางกองรายได้ สำนักการคลังได้พิจารณาแล้วเห็นว่าป้ายโฆษณาสินค้าของบริษัท ฮัลโหล บางกอก ดังกล่าวเป็นป้ายที่จะต้องเสียภาษีป้ายตามความหมายของมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย แต่เนื่องจากเป็นป้ายที่ติดตั้งไว้บนรถยนต์ดัดแปลงติดตั้งป้ายโฆษณาของบริษัท จึงต้องพิจารณาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ซึ่งบัญญัติยกเว้นภาษีป้ายให้แก่ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล ฯลฯ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ทั้งนี้ คำว่า รถยนต์ส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 หมายถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ซึ่งมิได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และคำว่าการขนส่งส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 นั้น หมายถึงการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม ดังนั้น รถยนต์ส่วนบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีป้ายฯตามกฎกระทรวงจะต้องมิใช่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่ใช้ ประกอบการขนส่งเพื่อการค้าของตนและมีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม ซึ่งไม่รวมน้ำหนักบรรทุก หากรถยนต์ดังกล่าวมีน้ำหนักเกิน 1,600 กิโลกรัม ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นภาษีป้ายแต่อย่างใด
นายพนิช กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม สำนักการคลังได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตไปตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาโดยขอให้ทุกสำนักงานเขตตรวจสอบว่ามีรถติดตั้งป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ของบริษัท ฮัลโหล บางกอก จอดอยู่ในพื้นที่ของตนหรือไม่ ซึ่งหากพบเห็นขอให้ดำเนินการถ่ายภาพป้ายโฆษณาพร้อมป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้เป็นหลักฐานและประสานไปยังสำนักงานเขตจตุจักร ซึ่งเป็นเขตท้องที่ที่กรมการขนส่งทางบกอันเป็นสถานที่ในการจดทะเบียนรถยนต์ตั้งอยู่พิจารณาดำเนินการประเมินและเรียกเก็บภาษีป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ของบริษัท ฮัลโหล บางกอก ดังกล่าวตามกฎหมายภายใน 15 วันนับแต่ที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ด้านนายพรเลิศ พันธุ์วัฒนา ผู้อำนวยการเขตจตุจักร กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีสำนักงานเขตต่างๆ ทยอยแจ้งข้อมูลเข้ามาที่ฝ่ายรายได้ของเขตแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทางเขตจตุจักรได้ทำหนังสือถึงบริษัท ฮัลโหล บางกอก ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อให้บริษัทดังกล่าวแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับป้ายโฆษณาที่ติดตั้งไว้บนรถยนต์ดัดแปลง ว่า มีทั้งหมดกี่ป้ายเพื่อที่จะได้คำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ตนเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการเรียกเก็บภาษีในครั้งนี้
ขณะที่นายธีระชัย เธียรสรรชัย ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กล่าวว่า หากรถโฆษณาดังกล่าวจอดบนทางเท้าของพื้นที่ไหนเทศกิจท้องที่นั้นจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเอาผิดฐานที่ทำให้กีดขวางการจราจรของประชาชน หรือหากจอดบนถนนก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะดำเนินการ
ส่วนกรณีที่ พ.ต.อ.จีระเดช พรหโมบล รอง ผบก.จร.ระบุว่า กทม.เป็นเจ้าของพื้นที่น่าจะมีวิธีการจัดการกับป้ายที่บดบังทัศนียภาพนั้นตนอยากให้บอกให้ตรงจุดไปเลยไม่อยากให้บอกคลุมอย่างนี้ ซึ่งหากบดบังในจุดที่เป็นอันตรายตำรวจจะต้องจัดการ อย่างไรก็ตาม ต้องดูเป็นกรณีๆ ไป
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงกรณีป้ายโฆษณาของบริษัท ฮัลโหล บางกอก ว่า กทม.เตรียมดำเนินการเรียกเก็บภาษีป้ายจากบริษัทดังกล่าวตามกฎหมาย ซึ่งทางกองรายได้ สำนักการคลังได้พิจารณาแล้วเห็นว่าป้ายโฆษณาสินค้าของบริษัท ฮัลโหล บางกอก ดังกล่าวเป็นป้ายที่จะต้องเสียภาษีป้ายตามความหมายของมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย แต่เนื่องจากเป็นป้ายที่ติดตั้งไว้บนรถยนต์ดัดแปลงติดตั้งป้ายโฆษณาของบริษัท จึงต้องพิจารณาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ซึ่งบัญญัติยกเว้นภาษีป้ายให้แก่ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล ฯลฯ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ทั้งนี้ คำว่า รถยนต์ส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 หมายถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ซึ่งมิได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และคำว่าการขนส่งส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 นั้น หมายถึงการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม ดังนั้น รถยนต์ส่วนบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีป้ายฯตามกฎกระทรวงจะต้องมิใช่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่ใช้ ประกอบการขนส่งเพื่อการค้าของตนและมีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม ซึ่งไม่รวมน้ำหนักบรรทุก หากรถยนต์ดังกล่าวมีน้ำหนักเกิน 1,600 กิโลกรัม ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นภาษีป้ายแต่อย่างใด
นายพนิช กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม สำนักการคลังได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตไปตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาโดยขอให้ทุกสำนักงานเขตตรวจสอบว่ามีรถติดตั้งป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ของบริษัท ฮัลโหล บางกอก จอดอยู่ในพื้นที่ของตนหรือไม่ ซึ่งหากพบเห็นขอให้ดำเนินการถ่ายภาพป้ายโฆษณาพร้อมป้ายทะเบียนรถยนต์ไว้เป็นหลักฐานและประสานไปยังสำนักงานเขตจตุจักร ซึ่งเป็นเขตท้องที่ที่กรมการขนส่งทางบกอันเป็นสถานที่ในการจดทะเบียนรถยนต์ตั้งอยู่พิจารณาดำเนินการประเมินและเรียกเก็บภาษีป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ของบริษัท ฮัลโหล บางกอก ดังกล่าวตามกฎหมายภายใน 15 วันนับแต่ที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ด้านนายพรเลิศ พันธุ์วัฒนา ผู้อำนวยการเขตจตุจักร กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีสำนักงานเขตต่างๆ ทยอยแจ้งข้อมูลเข้ามาที่ฝ่ายรายได้ของเขตแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทางเขตจตุจักรได้ทำหนังสือถึงบริษัท ฮัลโหล บางกอก ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อให้บริษัทดังกล่าวแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับป้ายโฆษณาที่ติดตั้งไว้บนรถยนต์ดัดแปลง ว่า มีทั้งหมดกี่ป้ายเพื่อที่จะได้คำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ตนเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการเรียกเก็บภาษีในครั้งนี้
ขณะที่นายธีระชัย เธียรสรรชัย ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กล่าวว่า หากรถโฆษณาดังกล่าวจอดบนทางเท้าของพื้นที่ไหนเทศกิจท้องที่นั้นจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเอาผิดฐานที่ทำให้กีดขวางการจราจรของประชาชน หรือหากจอดบนถนนก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะดำเนินการ
ส่วนกรณีที่ พ.ต.อ.จีระเดช พรหโมบล รอง ผบก.จร.ระบุว่า กทม.เป็นเจ้าของพื้นที่น่าจะมีวิธีการจัดการกับป้ายที่บดบังทัศนียภาพนั้นตนอยากให้บอกให้ตรงจุดไปเลยไม่อยากให้บอกคลุมอย่างนี้ ซึ่งหากบดบังในจุดที่เป็นอันตรายตำรวจจะต้องจัดการ อย่างไรก็ตาม ต้องดูเป็นกรณีๆ ไป