ผู้จัดการรายวัน – กทม.เอาจริง ตั้งงบประมาณล็อตแรก 60 ล้านบาท เร่งรื้อถอนป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย ภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ “ฮัลโล บางกอก” โดนไป 14 ป้าย จาก 70 ป้าย เชื่อผู้ประกอบการส่วนใหญ่คัดค้าน เหตุเหมือนทุบหม้อข้าวตัวเอง โวยมีคนดิสเครดิต สื่อ “ฮัลโล โมบาย แอด” ที่กลัวว่าจะแทนที่สื่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ได้ สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าเบื้องต้น 11 ล้านบาท ลูกค้าหาย 4 ราย
นายกิติชัย ศรีจำเริญ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร บริษัท ฮัลโล บางกอก ไตรวิชั่น จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่ทางกรุงเทพมหานคร มีการเข้มงวดกับสื่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หรือบิลบอร์ด ที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่จะต้องทำการรื้อถอนลงให้หมดภายในสิ้นปีนี้ ล่าสุดทางกรุงเทพมหานครได้ส่งหนังสือถึงผู้ประกอบการป้ายโฆษณาให้ทำการรื้อถอนป้ายที่ผิดกฎหมายลงแล้วจำนวนหนึ่ง จากทั้งหมด 1,700 ป้าย ภายใต้งบประมาณรื้อถอนล็อตแรก 60 ล้านบาท โดยจะต้องรื้อถอนให้ครบภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ โดยในส่วนของบริษัทฯได้รับหนังสือแจ้งให้รื้อถอนป้ายลงด้วยเช่นกัน จำนวน 14 ป้าย จากทั้งหมด 70 ป้าย
“เรื่องของป้ายโฆษณาล้มพังลงมา ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ทั้งชีวิตและทรัพย์สินมาโดยตลอด ทำให้ทางกรุงเทพมหานครต้องมีนโยบายให้มีการรื้อถอนป้ายโฆษณาที่ผิดกฏหมายลงให้หมด ซึ่งคิดเป็น 99% ของ 1,700 ป้ายในปัจจุบัน เชื่อว่าจะทำให้ตลาดรวมรายได้สื่อป้ายโฆษณาเอาท์ดอร์ขนาดใหญ่มูลค่า 4,000 ล้านบาท จะหายไปกว่า 2,000 ล้านบาท ในปีนี้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้รื้อถอน แต่ขอให้ปรับปรุงแก้ไขแทน เนื่องจากหากมีการรื้อถอนแล้ว จะไม่สามารถสร้างป้ายโฆษณาขึ้นมาใหม่ให้มีขนาดเท่าเดิมได้ เพราะจะผิดต่อ พรบ.ควบคุมอาคาร 2548 ที่กำหนดให้ป้ายโฆษณามีพื้นที่มากสุดได้เพียง 5 ตารางเมตรเท่านั้น”
สำหรับฮัลโล บางกอก พร้อมที่จะรื้อถอนป้ายโฆษณาอยู่แล้ว เพราะมองเห็นว่าอนาคตสื่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่จะหายไป ดังนั้นจึงได้มีการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท ในปีก่อนที่นำเสนอ “ฮัลโล โมบาย แอด” สื่อป้ายโฆษณารูปแบบรถเคลื่อนที่ จำนวน 700 คัน เปิดตัวครั้งแรกกับการร่วมกับทางกรุงเทพมหานคร รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา จนถึงงานซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระพี่นางเธอฯจำนวน 15 วัน โดยทางบริษัทฯไม่ได้คิดค่าดำเนินการใดๆ เพียงหวังเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ลูกค้ารู้จัก และเลือกใช้สื่อโมบาย แอด นี้แทนสื่อป้ายโฆษณา เนื่องจากเมื่อเทียบค่าใช้จ่าย เฉลี่ยแล้ว โมบาย แอด จะถูกว่า 70-75%
นายกิติชัย กล่าวต่อว่า การที่ลูกค้าให้ความสนใจโมบาย แอด อย่างมากครั้งนี้ เชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการป้ายโฆษณาด้วยกันบางราย ทำการดิสเครดิต ให้เกิดแก่บริษัทฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค. 2551 ที่มีผู้เข้าไปตั้งกระทู้เกี่ยวกับ ฮัลโล โมบาย แอด ในเว็บไซต์พันธุ์ทิพย์ ดอทคอม และกลายมาเป็นข่าวบนหนังสือพิมพ์ที่ได้มีการพูดถึงหลายครั้ง กับการกล่าวหาถึงความไม่ถูกต้องในที่มาหลายๆด้านของสื่อฮัลโล โมบาย แอด
โดยบริษัทฯขอชี้แจงถึงข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นดังนี้ กรณีจอดรถในที่ห้ามจอดกีดขวางการจราจร ยอมรับว่ามีความผิดจริง ต่อไปจะไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก หากจะต้องจอด จะจอดในที่เช่าจอดของเอกชนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า หรือสถานีขนส่ง ส่วนกรณีการทำลายทัศนียภาพ ขอให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เพราะเดิมป้ายโฆษณาส่วนใหญ่ก็ทำลายทัศนียภาพอยู่แล้ว และกรณีการดัดแปลงสภาพรถ ขอชี้แจงว่ารถทุกคัน เป็นรถที่ได้ทำการขอใบอนุญาตจัดอยู่ในประเภทเพื่อการพาณิชย์แบบเฉพาะกิจมีที่ไปที่มาถูกต้องตามกฎหมาย
ล่าสุดได้มีนายอภิพัฒน์ อภิพัฒน์กังวาน ได้ร้องเรียนกับทางไทย พีบีเอส ว่าได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน โดยเกิดจากสื่อ ฮัลโล โมบาย แอด จากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ไม่พบหลักฐานเรียกประกัน หรือแจ้งความ แต่อย่างไร ซึ่งดูผิดไปจากการเกิดอุบัติเหตุทั่วไป ดังนั้นจึงเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการกลั่นแกล้งกันมากกว่า
ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ มีลูกค้าขอยกเลิกใช้สื่อระหว่างเดือนก.พ.-เม.ย. ประมาณ 3-4 ราย คือ โตโยต้า กู้ดเยียร์ และ แสนสิริ และโครงการบ้านจัดสรรที่พัทยา คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 11 ล้านบาท หรือตลอดไตรมาสหนึ่งนี้ รายได้หายไปกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯจะดำเนินคดีกับคนที่ออกมาให้ข่าวที่ไม่ถูกต้อง และทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหายทั้งหมด
อย่างไรก็ตามบริษัทฯจะดำเนินตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยครึ่งปีหลังจะนำฮัลโล โมบาย แอด เข้ามาอีก 75 คัน คาดว่าตั้งแต่เดือนมี.ค.ถึงสิ้นปี จะมีรายได้ 780 ล้านบาท โดยไม่มีการสร้างรายได้จากป้ายโฆษณาอีกต่อไป จากกรณีการรื้อถอน และลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ของสื่อป้ายโฆษณามากขึ้น ขณะที่ปีก่อนมีรายได้ที่ 430 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดมาจากสื่อป้ายโฆษณา
นายกิติชัย ศรีจำเริญ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร บริษัท ฮัลโล บางกอก ไตรวิชั่น จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่ทางกรุงเทพมหานคร มีการเข้มงวดกับสื่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หรือบิลบอร์ด ที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่จะต้องทำการรื้อถอนลงให้หมดภายในสิ้นปีนี้ ล่าสุดทางกรุงเทพมหานครได้ส่งหนังสือถึงผู้ประกอบการป้ายโฆษณาให้ทำการรื้อถอนป้ายที่ผิดกฎหมายลงแล้วจำนวนหนึ่ง จากทั้งหมด 1,700 ป้าย ภายใต้งบประมาณรื้อถอนล็อตแรก 60 ล้านบาท โดยจะต้องรื้อถอนให้ครบภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ โดยในส่วนของบริษัทฯได้รับหนังสือแจ้งให้รื้อถอนป้ายลงด้วยเช่นกัน จำนวน 14 ป้าย จากทั้งหมด 70 ป้าย
“เรื่องของป้ายโฆษณาล้มพังลงมา ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ทั้งชีวิตและทรัพย์สินมาโดยตลอด ทำให้ทางกรุงเทพมหานครต้องมีนโยบายให้มีการรื้อถอนป้ายโฆษณาที่ผิดกฏหมายลงให้หมด ซึ่งคิดเป็น 99% ของ 1,700 ป้ายในปัจจุบัน เชื่อว่าจะทำให้ตลาดรวมรายได้สื่อป้ายโฆษณาเอาท์ดอร์ขนาดใหญ่มูลค่า 4,000 ล้านบาท จะหายไปกว่า 2,000 ล้านบาท ในปีนี้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้รื้อถอน แต่ขอให้ปรับปรุงแก้ไขแทน เนื่องจากหากมีการรื้อถอนแล้ว จะไม่สามารถสร้างป้ายโฆษณาขึ้นมาใหม่ให้มีขนาดเท่าเดิมได้ เพราะจะผิดต่อ พรบ.ควบคุมอาคาร 2548 ที่กำหนดให้ป้ายโฆษณามีพื้นที่มากสุดได้เพียง 5 ตารางเมตรเท่านั้น”
สำหรับฮัลโล บางกอก พร้อมที่จะรื้อถอนป้ายโฆษณาอยู่แล้ว เพราะมองเห็นว่าอนาคตสื่อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่จะหายไป ดังนั้นจึงได้มีการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท ในปีก่อนที่นำเสนอ “ฮัลโล โมบาย แอด” สื่อป้ายโฆษณารูปแบบรถเคลื่อนที่ จำนวน 700 คัน เปิดตัวครั้งแรกกับการร่วมกับทางกรุงเทพมหานคร รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา จนถึงงานซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระพี่นางเธอฯจำนวน 15 วัน โดยทางบริษัทฯไม่ได้คิดค่าดำเนินการใดๆ เพียงหวังเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ลูกค้ารู้จัก และเลือกใช้สื่อโมบาย แอด นี้แทนสื่อป้ายโฆษณา เนื่องจากเมื่อเทียบค่าใช้จ่าย เฉลี่ยแล้ว โมบาย แอด จะถูกว่า 70-75%
นายกิติชัย กล่าวต่อว่า การที่ลูกค้าให้ความสนใจโมบาย แอด อย่างมากครั้งนี้ เชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการป้ายโฆษณาด้วยกันบางราย ทำการดิสเครดิต ให้เกิดแก่บริษัทฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค. 2551 ที่มีผู้เข้าไปตั้งกระทู้เกี่ยวกับ ฮัลโล โมบาย แอด ในเว็บไซต์พันธุ์ทิพย์ ดอทคอม และกลายมาเป็นข่าวบนหนังสือพิมพ์ที่ได้มีการพูดถึงหลายครั้ง กับการกล่าวหาถึงความไม่ถูกต้องในที่มาหลายๆด้านของสื่อฮัลโล โมบาย แอด
โดยบริษัทฯขอชี้แจงถึงข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นดังนี้ กรณีจอดรถในที่ห้ามจอดกีดขวางการจราจร ยอมรับว่ามีความผิดจริง ต่อไปจะไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก หากจะต้องจอด จะจอดในที่เช่าจอดของเอกชนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า หรือสถานีขนส่ง ส่วนกรณีการทำลายทัศนียภาพ ขอให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เพราะเดิมป้ายโฆษณาส่วนใหญ่ก็ทำลายทัศนียภาพอยู่แล้ว และกรณีการดัดแปลงสภาพรถ ขอชี้แจงว่ารถทุกคัน เป็นรถที่ได้ทำการขอใบอนุญาตจัดอยู่ในประเภทเพื่อการพาณิชย์แบบเฉพาะกิจมีที่ไปที่มาถูกต้องตามกฎหมาย
ล่าสุดได้มีนายอภิพัฒน์ อภิพัฒน์กังวาน ได้ร้องเรียนกับทางไทย พีบีเอส ว่าได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน โดยเกิดจากสื่อ ฮัลโล โมบาย แอด จากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ไม่พบหลักฐานเรียกประกัน หรือแจ้งความ แต่อย่างไร ซึ่งดูผิดไปจากการเกิดอุบัติเหตุทั่วไป ดังนั้นจึงเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการกลั่นแกล้งกันมากกว่า
ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ มีลูกค้าขอยกเลิกใช้สื่อระหว่างเดือนก.พ.-เม.ย. ประมาณ 3-4 ราย คือ โตโยต้า กู้ดเยียร์ และ แสนสิริ และโครงการบ้านจัดสรรที่พัทยา คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 11 ล้านบาท หรือตลอดไตรมาสหนึ่งนี้ รายได้หายไปกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯจะดำเนินคดีกับคนที่ออกมาให้ข่าวที่ไม่ถูกต้อง และทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหายทั้งหมด
อย่างไรก็ตามบริษัทฯจะดำเนินตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยครึ่งปีหลังจะนำฮัลโล โมบาย แอด เข้ามาอีก 75 คัน คาดว่าตั้งแต่เดือนมี.ค.ถึงสิ้นปี จะมีรายได้ 780 ล้านบาท โดยไม่มีการสร้างรายได้จากป้ายโฆษณาอีกต่อไป จากกรณีการรื้อถอน และลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ของสื่อป้ายโฆษณามากขึ้น ขณะที่ปีก่อนมีรายได้ที่ 430 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดมาจากสื่อป้ายโฆษณา