กทม.เอาจริงติดประกาศแจ้งเตือนบริษัท เจซี เดอโกฯ ที่ได้รับสัมปทานติดป้ายโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารให้รีบดำเนินการรื้อถอนป้ายโฆษณาออกภายใน 15 วัน ส่วนที่เป็นป้ายโฆษณาอย่างเดียวจะรื้อถอนทั้งหมดเพื่อคืนผิวจราจรให้กับประชาชน ขณะที่ยังมีเอกชนหลายรายละเมิดสัญญาติดป้ายโฆษณากับ กทม.ติดในที่ห้ามติด รวมถึงติดตั้งเกินกว่าที่ตกลงไว้ รองผู้ว่าฯ “พนิช” ชี้ชัดหากตรวจสอบว่าผิดจริงรื้อทิ้งทันที
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบป้ายโฆษณาภายในศาลาที่พักผู้โดยสาร บริเวณถนนพระราม 4 เขตบางรัก พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า ป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นของบริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับสิทธิจาก กทม.ให้ดำเนินการและดูแลบำรุงรักษาแบ่งเป็นป้ายที่ติดภายในศาลาที่พักผู้โดยสารจำนวน 350 ป้าย และป้ายที่ติดตั้งเพื่อการโฆษณาโดยเฉพาะจำนวน 66 ป้าย โดยกทมให้สิทธิ บ.เจซี เดอโกฯ เป็นเวลา 9 ปีเริ่มตั้งแต่ 19 ต.ค.2541 และได้หมดสัญญาลงเมื่อ 19 ต.ค.2550 ซึ่งหลังจากที่หมดสัญญาแล้วทางผู้ว่าฯ กทม.ได้ส่งหนังสือไปยังเอกชนรายดังกล่าวเพื่อแจ้งให้ดำเนินการรื้อถอนเนื่องจากหมดสัญญาแล้ว
นอกจากนี้ ทางปลัด กทม.ก็ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตที่มีป้ายโฆษณาของบริษัทดังกล่าวติดตั้งอยู่เพื่อเข้าดำเนินการตรวจสอบตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดเป็นเวลากว่า 1 เดือน แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงมีป้ายที่หมดอายุติดตั้งอยู่เช่นเดิม ซึ่งในเขตปทุมวันมีการติดตั้งป้ายดังกล่าวจำนวน 91 ป้าย บางรัก 25 ป้าย และในบางป้ายติดตั้งไม่เหมาะสม ไม่ถูกจุดโดยเฉพาะป้ายที่ติดตั้งเพื่อการโฆษณาโดยเฉพาะ ดังนั้น ในวันนี้จึงได้นำประกาศของกทม.โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) มาติดประกาศเพื่อแจ้งให้ทราบทุกป้ายโฆษณาที่หมดสัญญาโดยมีใจความว่า กทม.โดย สจส.ขอประกาศว่าการติดตั้งป้ายโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณจุดนี้ได้หมดสัญญาแล้ว ซึ่ง สจส.ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทหยุดการโฆษณาแล้วแต่ บริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด ยังมิได้ดำเนินการ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด
“กทม.จะติดประกาศดังกล่าวเป็นเวลา 15 วันนับแต่วันนี้เพื่อให้เวลากับบริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด เข้าดำเนินการรื้อถอนป้ายโฆษณาเพื่อที่ กทม.จะได้จัดระเบียบป้ายใหม่เพราะนี้ก็หมดสัญญามานานแล้ว หากยังไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน กทม.จะรื้อถอนป้ายที่หมดสัญญาออกเองโดยส่วนที่เป็นป้ายติดตั้งเพื่อการโฆษณาเพียงอย่างเดียว กทม.จะให้ทางเขตพื้นที่เข้ารื้อถอนโครงสร้างออกไปด้วยเพื่อคืนพื้นผิวจราจรให้แก่ประชาชนตามนโยบายของผู้ว่าฯ กทม.จากนั้น กทม.จะไปเรียกเก็บค่ารื้อถอนกับบริษัทภายหลัง
อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเรียกเป็นค่าปรับจากทางบริษัทที่ผิดสัญญาได้ทำได้แต่การขอความร่วมมือเท่านั้นเพราะเกือบทุกสัญญาที่เกี่ยวของกับป้ายโฆษณาไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ ดังนั้นเมื่อจะมีการให้สิทธิกับเอกชนรายใหม่ ทาง กทม.จะเขียน TOR ใหม่เพื่อให้ กทม.ได้ประโยชน์สูงสุด อย่างเช่นในเรื่องของส่วนแบ่งรายได้ การเพิ่มป้ายโฆษณาให้กับกทม.และหน่วยงานรัฐอื่นๆเพื่อประชาสัมพันธ์งานต่างๆ ให้ประชาชนทราบมากยิ่งขึ้น รวมถึงจะมีการลดจำนวนป้ายโฆษณาลงอีกด้วย”
นายพนิช กล่าวอีกว่า ส่วนอีกสัญญาที่ให้สิทธิเอกชนติดตั้งโฆษณาภายในศาลาที่พักผู้โดยสารอีก 691 ป้าย ซึ่งขณะนี้ยังไม่หมดสัญญาแต่บางจุดได้ติดตั้งผิด เช่น บางเขตได้รับสิทธิให้ติดตั้ง 20 ป้ายแต่กลับติดตั้งถึง 50 ป้าย ขณะที่สัญญาของเอกชนอีกรายที่ได้สิทธิติดตั้งป้ายโฆษณาจำนวน 1,382 ป้าย มีการติดจริง 1,150 ป้าย แต่สร้างได้ถูกจุดเพียง 324 ป้าย ที่เหลือสร้างผิดจุดที่ติดตั้งถึง 826 ป้าย ทั้งนี้ถ้ากทม.ตรวจสอบแล้วพบว่าป้ายมีการติดตั้งผิดจริงจะดำเนินการรื้อถอนทันทีโดยไม่มีการผิดสัญญา เช่น ที่เขตคลองเตย เป็นเขตที่ไม่ได้รับสิทธิให้ติด แต่เอกชนรายนั้นกลับติดตั้งถึง 61 ป้าย เขตปทุมวันได้สิทธิติดตั้ง 6 ป้าย แต่ติดตั้งถึง 104 ป้าย
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบป้ายโฆษณาภายในศาลาที่พักผู้โดยสาร บริเวณถนนพระราม 4 เขตบางรัก พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า ป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นของบริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับสิทธิจาก กทม.ให้ดำเนินการและดูแลบำรุงรักษาแบ่งเป็นป้ายที่ติดภายในศาลาที่พักผู้โดยสารจำนวน 350 ป้าย และป้ายที่ติดตั้งเพื่อการโฆษณาโดยเฉพาะจำนวน 66 ป้าย โดยกทมให้สิทธิ บ.เจซี เดอโกฯ เป็นเวลา 9 ปีเริ่มตั้งแต่ 19 ต.ค.2541 และได้หมดสัญญาลงเมื่อ 19 ต.ค.2550 ซึ่งหลังจากที่หมดสัญญาแล้วทางผู้ว่าฯ กทม.ได้ส่งหนังสือไปยังเอกชนรายดังกล่าวเพื่อแจ้งให้ดำเนินการรื้อถอนเนื่องจากหมดสัญญาแล้ว
นอกจากนี้ ทางปลัด กทม.ก็ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตที่มีป้ายโฆษณาของบริษัทดังกล่าวติดตั้งอยู่เพื่อเข้าดำเนินการตรวจสอบตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดเป็นเวลากว่า 1 เดือน แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงมีป้ายที่หมดอายุติดตั้งอยู่เช่นเดิม ซึ่งในเขตปทุมวันมีการติดตั้งป้ายดังกล่าวจำนวน 91 ป้าย บางรัก 25 ป้าย และในบางป้ายติดตั้งไม่เหมาะสม ไม่ถูกจุดโดยเฉพาะป้ายที่ติดตั้งเพื่อการโฆษณาโดยเฉพาะ ดังนั้น ในวันนี้จึงได้นำประกาศของกทม.โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) มาติดประกาศเพื่อแจ้งให้ทราบทุกป้ายโฆษณาที่หมดสัญญาโดยมีใจความว่า กทม.โดย สจส.ขอประกาศว่าการติดตั้งป้ายโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณจุดนี้ได้หมดสัญญาแล้ว ซึ่ง สจส.ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทหยุดการโฆษณาแล้วแต่ บริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด ยังมิได้ดำเนินการ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด
“กทม.จะติดประกาศดังกล่าวเป็นเวลา 15 วันนับแต่วันนี้เพื่อให้เวลากับบริษัท เจซี เดอโก (ประเทศไทย) จำกัด เข้าดำเนินการรื้อถอนป้ายโฆษณาเพื่อที่ กทม.จะได้จัดระเบียบป้ายใหม่เพราะนี้ก็หมดสัญญามานานแล้ว หากยังไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน กทม.จะรื้อถอนป้ายที่หมดสัญญาออกเองโดยส่วนที่เป็นป้ายติดตั้งเพื่อการโฆษณาเพียงอย่างเดียว กทม.จะให้ทางเขตพื้นที่เข้ารื้อถอนโครงสร้างออกไปด้วยเพื่อคืนพื้นผิวจราจรให้แก่ประชาชนตามนโยบายของผู้ว่าฯ กทม.จากนั้น กทม.จะไปเรียกเก็บค่ารื้อถอนกับบริษัทภายหลัง
อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเรียกเป็นค่าปรับจากทางบริษัทที่ผิดสัญญาได้ทำได้แต่การขอความร่วมมือเท่านั้นเพราะเกือบทุกสัญญาที่เกี่ยวของกับป้ายโฆษณาไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ ดังนั้นเมื่อจะมีการให้สิทธิกับเอกชนรายใหม่ ทาง กทม.จะเขียน TOR ใหม่เพื่อให้ กทม.ได้ประโยชน์สูงสุด อย่างเช่นในเรื่องของส่วนแบ่งรายได้ การเพิ่มป้ายโฆษณาให้กับกทม.และหน่วยงานรัฐอื่นๆเพื่อประชาสัมพันธ์งานต่างๆ ให้ประชาชนทราบมากยิ่งขึ้น รวมถึงจะมีการลดจำนวนป้ายโฆษณาลงอีกด้วย”
นายพนิช กล่าวอีกว่า ส่วนอีกสัญญาที่ให้สิทธิเอกชนติดตั้งโฆษณาภายในศาลาที่พักผู้โดยสารอีก 691 ป้าย ซึ่งขณะนี้ยังไม่หมดสัญญาแต่บางจุดได้ติดตั้งผิด เช่น บางเขตได้รับสิทธิให้ติดตั้ง 20 ป้ายแต่กลับติดตั้งถึง 50 ป้าย ขณะที่สัญญาของเอกชนอีกรายที่ได้สิทธิติดตั้งป้ายโฆษณาจำนวน 1,382 ป้าย มีการติดจริง 1,150 ป้าย แต่สร้างได้ถูกจุดเพียง 324 ป้าย ที่เหลือสร้างผิดจุดที่ติดตั้งถึง 826 ป้าย ทั้งนี้ถ้ากทม.ตรวจสอบแล้วพบว่าป้ายมีการติดตั้งผิดจริงจะดำเนินการรื้อถอนทันทีโดยไม่มีการผิดสัญญา เช่น ที่เขตคลองเตย เป็นเขตที่ไม่ได้รับสิทธิให้ติด แต่เอกชนรายนั้นกลับติดตั้งถึง 61 ป้าย เขตปทุมวันได้สิทธิติดตั้ง 6 ป้าย แต่ติดตั้งถึง 104 ป้าย