“พงศกร” เผยถึงเวลาต้องมาพิจารณา พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติว่า ทำให้การศึกษาไทยดีขึ้น หรือต่ำลงก่อนหน้าจะประกาศใช้ แขวะรัฐบาลรัฐประหารคิดว่าจะเข้ามาแก้ปัญหา แต่รัฐบาลชุดนี้ต้องเข้ามาแก้ปัญหาแทน แทนที่จะได้ดำเนินนโยบายได้ทันที ชิ่ง! บอกพรรคไทยรักไทยยังไม่เกิดขณะร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯ ที่ผ่านมาเข้ามาเพื่อซ่อมและสร้าง
นายพงศกร อรรณพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้มีหลายฝ่ายได้ขอปรับโครงสร้างทั้งสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) ที่ขอให้แยกมัธยมศึกษากับประถมศึกษาออกจากกัน ขณะที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็ขอให้แยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มาตั้งเป็นกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย ตนเห็นว่า ถึงเวลาที่เราจะมาพิจารณาว่าสิ่งที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดไว้นั้น ได้ทำให้การศึกษาของไทยบรรลุจุดประสงค์ในการปฏิรูปการศึกษาตามที่ต้องการกันหรือไม่ มีสิ่งใดที่ทำให้การศึกษาดีขึ้นหรือต่ำลงก่อนหน้าที่เราจะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว เพราะหากว่าการปรับโครงสร้าง ศธ.ตามที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกำหนดไว้ดีจริง ทำไมขณะนี้จึงมีเสียงเรียกร้องให้ปรับโครงสร้างเพื่อที่จะกลับไปใช้โครงสร้างเดิม
“ปัญหาการศึกษาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น หมักหมมมาเป็นเวลายาวนาน ผมคาดหวังว่ารัฐบาลที่มาจากรัฐประหารจะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วง เพราะเขาสามารถออกกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ทุกอย่างอยู่ในมือทั้งหมด แต่กลับกลายเป็นว่า เมื่อพวกเราเข้ามาต้องมานั่งต้องตามแก้ปัญหาต่างๆ แทนที่จะได้เดินหน้าดำเนินนโยบายตามที่ได้วางไว้” นายพงศกร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคไทยรักไทยเข้ามาบริหาร ศธ.ตลอด แต่รัฐบาลรัฐประหารเข้ามาเพียงแค่ปีกว่าๆ เท่านั้น รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติประกาศใช้ จนกระทั่งกลายมาเป็นปัญหาหนักๆ ในช่วงปลายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เช่น เรื่องการผลักดันมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ การถ่ายโอนสถานศึกษาไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่ทันได้แก้ปัญหา รัฐบาลรัฐประหารก็เข้ามา แต่เข้ามาแล้วก็ไม่ได้แก้ปัญหาเหล่านี้แต่อย่างใด ซึ่งขณะที่มีการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกันนั้น พรรคไทยรักไทยยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ เราเข้ามาก็ประกาศแล้วว่า 4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง
นายพงศกร กล่าวอีกว่า ส่วนการแต่งตั้ง นายสมบัติ รัตโน อดีต ส.ส.อุบลราชธานี เป็นที่ปรึกษา นั้น เนื่องจาก นายสมบัติ เป็นอดีต ส.ส.ซึ่ง ส.ส.ทุกคน จะต้องมีความเข้าใจเรื่องการศึกษา และการปกครอง ดังนั้น นายสมบัติจะช่วยนำเอานโยบายจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคได้
อนึ่ง นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา รมว.ศึกษาธิการ ล้วนมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น โดยเริ่มจาก นพ.เกษม วัฒนชัย ซึ่งต่อมาได้ยื่นใบลาออกจากพรรคไทยรักไทย จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ.ควบนายกรัฐมนตรี ตามด้วย นายสุวิทย์ คุณกิตติ, นายอดิศัย โพธารามิก และ นายจาตุรนต์ ฉายแสง จากนั้น ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ.ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
นายพงศกร อรรณพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้มีหลายฝ่ายได้ขอปรับโครงสร้างทั้งสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) ที่ขอให้แยกมัธยมศึกษากับประถมศึกษาออกจากกัน ขณะที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็ขอให้แยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มาตั้งเป็นกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย ตนเห็นว่า ถึงเวลาที่เราจะมาพิจารณาว่าสิ่งที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดไว้นั้น ได้ทำให้การศึกษาของไทยบรรลุจุดประสงค์ในการปฏิรูปการศึกษาตามที่ต้องการกันหรือไม่ มีสิ่งใดที่ทำให้การศึกษาดีขึ้นหรือต่ำลงก่อนหน้าที่เราจะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว เพราะหากว่าการปรับโครงสร้าง ศธ.ตามที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกำหนดไว้ดีจริง ทำไมขณะนี้จึงมีเสียงเรียกร้องให้ปรับโครงสร้างเพื่อที่จะกลับไปใช้โครงสร้างเดิม
“ปัญหาการศึกษาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น หมักหมมมาเป็นเวลายาวนาน ผมคาดหวังว่ารัฐบาลที่มาจากรัฐประหารจะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วง เพราะเขาสามารถออกกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ทุกอย่างอยู่ในมือทั้งหมด แต่กลับกลายเป็นว่า เมื่อพวกเราเข้ามาต้องมานั่งต้องตามแก้ปัญหาต่างๆ แทนที่จะได้เดินหน้าดำเนินนโยบายตามที่ได้วางไว้” นายพงศกร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคไทยรักไทยเข้ามาบริหาร ศธ.ตลอด แต่รัฐบาลรัฐประหารเข้ามาเพียงแค่ปีกว่าๆ เท่านั้น รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติประกาศใช้ จนกระทั่งกลายมาเป็นปัญหาหนักๆ ในช่วงปลายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เช่น เรื่องการผลักดันมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ การถ่ายโอนสถานศึกษาไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่ทันได้แก้ปัญหา รัฐบาลรัฐประหารก็เข้ามา แต่เข้ามาแล้วก็ไม่ได้แก้ปัญหาเหล่านี้แต่อย่างใด ซึ่งขณะที่มีการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกันนั้น พรรคไทยรักไทยยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ เราเข้ามาก็ประกาศแล้วว่า 4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง
นายพงศกร กล่าวอีกว่า ส่วนการแต่งตั้ง นายสมบัติ รัตโน อดีต ส.ส.อุบลราชธานี เป็นที่ปรึกษา นั้น เนื่องจาก นายสมบัติ เป็นอดีต ส.ส.ซึ่ง ส.ส.ทุกคน จะต้องมีความเข้าใจเรื่องการศึกษา และการปกครอง ดังนั้น นายสมบัติจะช่วยนำเอานโยบายจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคได้
อนึ่ง นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา รมว.ศึกษาธิการ ล้วนมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น โดยเริ่มจาก นพ.เกษม วัฒนชัย ซึ่งต่อมาได้ยื่นใบลาออกจากพรรคไทยรักไทย จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ.ควบนายกรัฐมนตรี ตามด้วย นายสุวิทย์ คุณกิตติ, นายอดิศัย โพธารามิก และ นายจาตุรนต์ ฉายแสง จากนั้น ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ.ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549