เผยวงถก 3 หน่วยงาน ล้มซีแอลไม่ได้ เพราะรัฐบาลชุดก่อนทำไว้ถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน โดยรัฐบาลชุดนี้จะใช้วิธีนิ่งเฉยไม่ดำเนินการใดๆ แทน เอ็นจีโอ ย้ำ หากผู้ป่วยไม่ได้รับยาฟ้องศาลปกครองแน่นอน
แหล่งข่าวระดับสูงจากการเข้าร่วมประชุมหารือระหว่าง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงต่างประเทศ เกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) กล่าวว่า ในการหารือกันระดับปลัดกระทรวงระหว่าง 3 หน่วย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ได้มีข้อสรุปว่าไม่สามารถดำเนินการยกเลิกซีแอลยารักษาโรคมะเร็งได้ เนื่องจากการดำเนินการทุกอย่างถูกกฎหมายทั้งสิ้น แต่ภาครัฐจะใช้วิธีการนิ่งเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ ต่อไป ซึ่งในกลุ่มขององค์กรพัฒนเอกชนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้หารือกัน ว่า หากรัฐใช้มาตรการนิ่งเฉยจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งหนทางหนึ่ง คือ การฟ้องร้องต่อศาลปกครองในฐานะที่ภาครัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะยาดังกล่าวอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติที่ไม่สามารถปฏิเสธได้
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในวันที่ 22 ก.พ.เวลา 10.00 น.องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ และเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังจะหารือกันเกี่ยวกับการดำเนินการต่อไปกับเรื่องซีแอล ทั้งนี้ จะเตรียมทำหนังสือ เพื่อทวงถามกำหนดระยะเวลาของ สธ.ในการเดินหน้าเรื่องซีแอล เนื่องจากได้ข้อสรุปว่าการทำซีแอลเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และไม่สามารถยกเลิกได้ โดยต้องอาศัยระยะเวลา แต่ก็ไม่ควรนานนัก เนื่องจากผู้ป่วยทุกข์ทรมานมากขึ้น ขณะนี้ ยังหวังว่า สธ.จะคงเดินหน้าเรื่องซีแอลต่อไป คงไม่ถึงขั้นต้องฟ้องร้องศาลปกครอง แต่หากถึงกำหนดระยะเวลาแล้วแต่ยังไม่ดำเนินการก็คงเป็นมาตรการที่โดนบังคับ
“พวกเราก็ไม่สามารถรับได้ และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หากรัฐบาลขอยืดระยะเวลาการทำซีแอลหรือจะมีความชัดเจนหลังจากเดือนเมษายนที่สมาคมผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา ประกาศรายชื่อประเทศที่อยู่ในบัญชีการจับตาในเรื่องการละเมิดสิทธิบัตร เพราะเรื่องดังกล่าวถือว่าไม่มีเหตุผล อีกทั้งกระทรวงพาณิชย์ก็ออกมายอมรับว่า การตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี)เกี่ยวข้องกับเรื่องซีแอลน้อยมาก แต่เกี่ยวข้องกับการที่เราละเมิดสิทธิบัตรด้านอื่นๆ มากกว่า และไม่ควรเอาสิ่งที่มีความหมายไปแลกกับสิ่งที่ไม่มีความหมาย” น.ส.สารี กล่าว
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษก สธ.กล่าวว่า จากการหารือกับเครือข่ายผู้ป่วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ อาจารย์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ได้ตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สธ.และเครือข่ายผู้ป่วย ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับฐานข้อมูลผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายการรักษา ตลอดจนผลกระทบต่อผู้ป่วยให้สอดคล้องตรงกัน และนำเสนอ รมว.สาธารณสุข ประกอบการตัดสินใจในการหารือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่อไป
“ในระหว่างรอการศึกษาข้อมูลของคณะทำงานชุดดังกล่าว คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาที่มี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธานจะเดินหน้าต่อรองราคายากับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรต่อไป เพื่อไม่ให้การดำเนินงานหยุดชะงัก ทั้งนี้ ขอให้ความมั่นใจว่า รมว.สธ.มีนโยบายให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้าถึงยารักษาที่ดีและมีคุณภาพทุกรายแน่นอน”นพ.สุพรรณ กล่าว
แหล่งข่าวระดับสูงจากการเข้าร่วมประชุมหารือระหว่าง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงต่างประเทศ เกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) กล่าวว่า ในการหารือกันระดับปลัดกระทรวงระหว่าง 3 หน่วย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ได้มีข้อสรุปว่าไม่สามารถดำเนินการยกเลิกซีแอลยารักษาโรคมะเร็งได้ เนื่องจากการดำเนินการทุกอย่างถูกกฎหมายทั้งสิ้น แต่ภาครัฐจะใช้วิธีการนิ่งเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ ต่อไป ซึ่งในกลุ่มขององค์กรพัฒนเอกชนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้หารือกัน ว่า หากรัฐใช้มาตรการนิ่งเฉยจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งหนทางหนึ่ง คือ การฟ้องร้องต่อศาลปกครองในฐานะที่ภาครัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะยาดังกล่าวอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติที่ไม่สามารถปฏิเสธได้
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในวันที่ 22 ก.พ.เวลา 10.00 น.องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ และเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังจะหารือกันเกี่ยวกับการดำเนินการต่อไปกับเรื่องซีแอล ทั้งนี้ จะเตรียมทำหนังสือ เพื่อทวงถามกำหนดระยะเวลาของ สธ.ในการเดินหน้าเรื่องซีแอล เนื่องจากได้ข้อสรุปว่าการทำซีแอลเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และไม่สามารถยกเลิกได้ โดยต้องอาศัยระยะเวลา แต่ก็ไม่ควรนานนัก เนื่องจากผู้ป่วยทุกข์ทรมานมากขึ้น ขณะนี้ ยังหวังว่า สธ.จะคงเดินหน้าเรื่องซีแอลต่อไป คงไม่ถึงขั้นต้องฟ้องร้องศาลปกครอง แต่หากถึงกำหนดระยะเวลาแล้วแต่ยังไม่ดำเนินการก็คงเป็นมาตรการที่โดนบังคับ
“พวกเราก็ไม่สามารถรับได้ และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง หากรัฐบาลขอยืดระยะเวลาการทำซีแอลหรือจะมีความชัดเจนหลังจากเดือนเมษายนที่สมาคมผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา ประกาศรายชื่อประเทศที่อยู่ในบัญชีการจับตาในเรื่องการละเมิดสิทธิบัตร เพราะเรื่องดังกล่าวถือว่าไม่มีเหตุผล อีกทั้งกระทรวงพาณิชย์ก็ออกมายอมรับว่า การตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี)เกี่ยวข้องกับเรื่องซีแอลน้อยมาก แต่เกี่ยวข้องกับการที่เราละเมิดสิทธิบัตรด้านอื่นๆ มากกว่า และไม่ควรเอาสิ่งที่มีความหมายไปแลกกับสิ่งที่ไม่มีความหมาย” น.ส.สารี กล่าว
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษก สธ.กล่าวว่า จากการหารือกับเครือข่ายผู้ป่วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ อาจารย์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ได้ตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สธ.และเครือข่ายผู้ป่วย ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับฐานข้อมูลผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายการรักษา ตลอดจนผลกระทบต่อผู้ป่วยให้สอดคล้องตรงกัน และนำเสนอ รมว.สาธารณสุข ประกอบการตัดสินใจในการหารือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่อไป
“ในระหว่างรอการศึกษาข้อมูลของคณะทำงานชุดดังกล่าว คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาที่มี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธานจะเดินหน้าต่อรองราคายากับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรต่อไป เพื่อไม่ให้การดำเนินงานหยุดชะงัก ทั้งนี้ ขอให้ความมั่นใจว่า รมว.สธ.มีนโยบายให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้าถึงยารักษาที่ดีและมีคุณภาพทุกรายแน่นอน”นพ.สุพรรณ กล่าว